08 พฤษภาคม 2554

ทวีปแอฟริกา

ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมด[1] ประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน (พ.ศ. 2552) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ 14.72 ของประชากรโลก


ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดง บริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ รวมทั้งมาดากัสการ์ หมู่เกาะต่าง ๆ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกา แต่ยังคงถูกโต้แย้งเรื่องสถานภาพความเป็นอธิปไตยโดยโมร็อกโก
ลักษณะภูมิประเทศ

แอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปทางตอนเหนือ และมีคลองสุเอซเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียทางตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป

เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 แนว
เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
ทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (ซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายซาฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก'
เขตทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบและทะเลทรายคาลาฮารี
แม่น้ำ
แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก

กระแสน้ำในมหาสมุทร

กระแสน้ำเย็นคะเนรี
กระแสน้ำอุ่นกินี
กระแสน้ำเย็นเบงเกลา
กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก

07 พฤษภาคม 2554

ทวีปของเรา

ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีปต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าบางคนเชื่อว่าในโลกมีทวีปอยู่ 4-5 ทวีป แต่ส่วนใหญ่จะนับได้ 6-7 ทวีป


การแบ่งทวีปที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดการขัดแย้งกันอยู่ 2 กรณีใหญ่ๆ คือ ทวีปยุโรปกับเอเชียควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปยูเรเชีย (Eurasia) และทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปอเมริกาใต้ควรแยกกันหรือรวมกันเป็นทวีปอเมริกา

นักภูมิศาสตร์บางท่าน (ส่วนน้อย) คิดว่าควรรวมยุโรป เอเชีย และแอฟริกา เป็นทวีปยูราเฟรเชีย (Eurafrasia) (ดู ทวีปแอฟริกา-ยูเรเชีย)

โรงเรียน ในสหรัฐอเมริกาสอนว่ามี 7 ทวีป ขณะที่อเมริกาเหนือสอนว่ามี 6 ทวีป (รวมยุโรปกับเอเชียเป็นยูเรเชีย) ยุโรป อเมริกาใต้ รวมทั้งสหราชอาณาจักรและเม็กซิโก สอนว่ามี 5 ทวีป (รวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา ไม่มีทวีปแอนตาร์กติกา)

ใน กีฬาโอลิมปิกแยกโลกเป็น 5 ทวีป (ตามสัญลักษณ์ห่วง 5 วง) ตามทวีปที่มีคนอาศัยอยู่ถาวร (ไม่รวมทวีปแอนตาร์กติกาที่มีคนอยู่ชั่วคราว และควบรวมอเมริกาเหนือกับอเมริกาใต้เป็นทวีปอเมริกา)

เราอาจรวมทวีปเป็น มหาทวีป (supercontinent) หรือแบ่งย่อยเป็น อนุทวีป (subcontinent) ก็ได้ แต่ก็ไม่มีนิยามที่แน่นอนชัดเจนเช่นกัน

ส่วน เกาะต่างๆ โดยปกติจะกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทวีปที่อยู่ใกล้เกาะนั้นที่สุด ดังนั้นหมู่เกาะบริติช (British Isles) จึงเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป บางครั้งจะพบว่ามีการใช้คำว่า โอเชียเนีย (Oceania) โดยหมายถึงประเทศออสเตรเลียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งประเทศนิวซีแลนด์. บางครั้งก็กำหนดให้ออสเตรเลีย (อาจรวมถึงนิวซีแลนด์) เป็นทวีปทวีปหนึ่ง โดยหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ได้อยู่ในทวีปใดๆ เลย

ในอังกฤษ คำว่า "the Continent" มักหมายถึงทวีปยุโรป โดยไม่รวมบริเตนใหญ่กับไอร์แลนด์ เช่นเดียวกัน คำว่า "the Subcontinent" มักหมายถึง ประเทศอินเดีย

ระบบต่างๆ ของการแบ่งทวีป

7 ทวีป : แอฟริกา แอนตาร์กติกา เอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้
6 ทวีป : แอฟริกา แอนตาร์กติกา โอเชียเนีย ยูเรเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้
6 ทวีป : แอฟริกา อเมริกา แอนตาร์กติกา เอเชีย โอเชียเนีย และยุโรป
5 ทวีป : แอฟริกา อเมริกา โอเชียเนีย แอนตาร์กติกา และยูเรเชีย
5 ทวีป : แอฟริกา อเมริกา โอเชียเนีย ยุโรป และเอเชีย
4 ทวีป : อเมริกา โอเชียเนีย แอนตาร์กติกา และแอฟริกา-ยูเรเชีย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ทวีป - วิกิพีเดีย
ที่มา: http://www.baanmaha.com/community/thread25612.html

06 พฤษภาคม 2554

ดาวเที่ยมไทยคม

ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวดเร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิดประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจากภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

ชื่อ "ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ

ลักษณะและการใช้งาน

ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งหมด 5 ดวง ใช้งานได้จริง 4 ดวง โดย 2 ใน 4 ดวงเป็นการใช้งานหลังหมดอายุที่คาดการณ์ และปลดระวางไปแล้ว 1 ดวง

ไทยคม 1

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551)

เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทยคม 1A"

ตำแหน่ง:0°0′N 120°0′E

ไทยคม 2

ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)

ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

ไทยคม 3


ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อปี 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ

ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

ไทยคม 4


ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี [1]

ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E


ไทยคม 5

ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รุ่นเดียวกับไทยคม 3) สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3

ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

พื้นที่การให้บริการ ของไทยคม 1A (120°E) และไทยคม 2 (78.5°E)


พื้นที่การให้บริการ ของไทยคม 5 และไทยคม 3 (78.5°E)

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A1#.E0.B9.84.E0.B8.97.E0.B8.A2.E0.B8.84.E0.B8.A1_1

ทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชีย
การแบ่งภูมิภาคทวีปเอเชีย แบ่งได้ 5 ภูมิภาคดังนี้
1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ ( Southeast Asia ) ได้แก่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไนและติมอร์เลสเต
2 . เอเชียตะวันออก ( East Asia ) ได้แก่ ประเทศจีน มองโกเลีย ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีดินแดนอาณานิคมของอังกฤษคือ ฮ่องกง และดินแดนอาณานิคมของโปรตุเกส คือ มาเก๊า
3 . เอเชียใต้ ( South Asia ) ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ศรีลังกา ภูฎานและมัลดีฟส์
4 . เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ( Southwest Asia ) ได้แก่ ประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน อิรัก อิสราเอล จอร์แดน คูเวต เลบานอน กาตาร์ โอมาน ซาอุดิอาระเบีย ซีเรีย ตุรกี บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน และไซปรัส
5 . เอเชียกลาง ได้แก่ ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน เคอร์กิสถาน และอยู่ในทวีปยุโรป จอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน

หลักการจำ
1. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ ( Southeast Asia ) ได้แก่
1.1 ม่า ไทย ลาว เวียด เหมน (พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา)
1.2 เซีย โป โด (มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย)
1.3 มอร์ ไน ปินส์ (ติมอร์เลสเต บรูไน ฟิลิปปินส์)
2 . เอเชียตะวันออก ( East Asia ) ได้แก่
2.1 จีน เลีย 2 เกา (สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ , เกาหลีใต้) 3 เกาะ( เกาะฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน)
3 . เอเชียใต้ ( South Asia ) ได้แก่ เดีย 2 ถาน ปาล กา เทศ และมัลดีฟส์ (อินเดีย ปากีสถาน ภูฎาน เนปาล ศรีลังกา บังกลาเทศและมัลดีฟส์
4 . เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ( Southwest Asia ) ได้แก่
4.1 รัก หร่าน ถาน อุ (อิรัก อิหร่าน อัฟกานิสถาน ซาอุดิอาระเบีย)
4.2 กี ปรัส เอล นอล (ตุรกี ไซปรัส อิสราเอล เลบานอน)
4.3 เมน แดน เวต กา มาน (เยเมน จอร์แดน คูเวต กาตาร์ โอมาน)
4.4 เรน เรีย ยู ( USE ) (บาห์เรน ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
5 . เอเชียกลาง ได้แก่ ทา คา อุซ เติร์ก แอนเคอร์ (ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และเคอร์กิสถาน) และอยู่ในทวีปยุโรป จอร์ 2 อาร์ (จอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน)

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีป ซึ่งยังมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการปะทุของภูเขาไฟอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยดินแดนและหมู่เกาะด้านตะวันออกและตัวออกเฉียงใต้ของเอเชียแผ่นดินใหญ่ และแม้ว่าโดยทางการเมืองแล้ว หมู่เกาะอันดามันจะเป็นของอินเดีย แต่ทางภูมิศาสตร์แล้วถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมทีเดียวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังหมายรวมอาณาเขตที่กว้างกว่านั้น รวมไปถึง ตอนใต้ของจีน ฮ่องกง และไต้หวันด้วย แต่เนื่องจากระยะหลังใช้หลักการแบ่งทางการเมือง ทำให้ส่วนดังกล่าวถูกรวมเข้ากับบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

พิกัดภูมิศาสตร์ระหว่างละติจูด10-28องศาเหนือ ลองติจูด92-140องศาตะวันออก

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน

ทิศใต้ ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มหาสมุทรอินเดีย ประเทศอินเดีย

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มหาสมุทรแปซิฟิก

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 11 ประเทศ คือ

1.ประเทศไทย เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร
2.ประเทศกัมพูชา เมืองหลวง พนมเปญ
3.ประเทศบรูไน เมืองหลวง บันดาเสรีเบกาวัน
4.ประเทศพม่า เมืองหลวง เนปีดอ
5.ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลวง มะนิลา
6.ประเทศมาเลเซีย เมืองหลวง กัวลาลัมเปอร์
7.ประเทศลาว เมืองหลวง เวียงจันทน์
8.ประเทศเวียดนาม เมืองหลวง ฮานอย
9.ประเทศสิงคโปร์ เมืองหลวง สิงคโปร์
10.ประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวง จาการ์ตา
11.ประเทศติมอร์ตะวันออก เมืองหลวง ดิลี
ข้อมูลจาก:: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - วิกิพีเดีย:: http://www.sritani.ac.th/ebook/socialchum/p1.htm
ที่มา : http://www.baanmaha.com/community/thread24914.html