23 เมษายน 2555

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


 
       สภาพแวดล้อมทางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
1. ทำเลที่ตั้ง

       เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ในบริเวณละติจูดที่ 10 องศาใต้ ถึง ละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 92 องศาตะวันออก ถึง 140 องศาตะวัน ออก เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และติมอร์ตะวันออก
2. ลักษณะภูมิประเทศ

       ลักษณะภูมิประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ( ตะวันตก ) และส่วนที่เป็นเกาะ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย ( ตะวันออก ) และ ติมอร์ตะวันออก
       หมายเหตุ  ประเทศมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
       1. ลักษณะภูมิประเทศส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ มีเทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาอาระกันโยมา อยู่ทางทิศตะวันตกของพม่า และเทือกเขาเปกุโยมา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาอาระกันโยมา เทือกเขาตะนาวศรีกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า นอกจากนี้ยังมีเทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาแดนลาว และเทือกเขาอันนัมในเวียดนาม
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง
       2. ลักษณะภูมิประเทศส่วนที่เป็นเกาะหรือหมู่เกาะ เป็นบริเวณที่มี๓เขาไฟเป็นจำนวนมากทั้งที่ดับแล้วและยังคุกกรุ่นอยู่ โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

เศรษฐกิจ

อาชีพสำคัญของประชากร

       1. เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เขตภูเขาไฟ
เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุและเป็น ประโยชน์แก่พืช พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เครื่องเทศ ผักผลไม้ เป็นต้น
       2. การทำป่าไม้ ในภูมิภาคนี้มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ในบริเวณเขตร้อนชื้น ฝนตกชุก จะเป็นเขตป่าทึบ มีต้นไม้ลำต้นสูงใหญ่ ได้แก่
เขตป่าไม้ ้ภาคใต้ของไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในเขตป่าโปร่งจะมีต้นไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าไม้ในไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ยาง เป็นต้น
       3. การเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้แรงงาน ได้แก่ โค กระบือ ช้าง ม้า เป็นต้น สัตว์บางชนิดเลี้ยงไว้ใช้งานและเป็นอาหาร
แต่บางชนิดเลี้ยงไว้เป็น อาหารอย่างเดียว เช่น สุกร ไก่ เป็ด แกะ เป็นต้น
       4. การประมง แหล่งประมงที่สำคัญได้แก่ บริเวณอ่าวไทย อ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน ประเทศที่ทำการประมงมาก ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย นอกจากนั้น ยังมีการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเลี้ยงในบ่อในนา ได้แก่ การทำนากุ้ง การเลี้ยงหอย และการเลี้ยงปลา
       5. การทำเหมืองแร่ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ดีบุก น้ำมัน เหล็ก ทองแดง ทังสเตน เป็นต้น มีมากในมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย
สำหรับน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติ พบมากที่เกาะบอร์เนียว ( บรูไน ) ชวา สุมาตรา ในอินโดนีเซีย
       6. การทำอุตสาหกรรม จะเป็นการผลิตอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมครัวเรือนมากกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
และในปัจจุบันรัฐบาล ประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ ได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น
       7. การพาณิชยกรรม สินค้าที่ส่งไปขายยังตลาดโลก จะเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ผลิตผลทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรม และแร่ธาตุต่างๆ สินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล รถยนต์ เครื่องทุนแรงต่างๆ และยารักษาโรค
      
8. การคมนาคมขนส่ง มีทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของแต่ละภูมิภาค ปัจจุบันมีการสร้างถนนและทางรถไฟเพื่อเชื่อม  การคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ การคมนาคมทางอากาศมีสายการบินระดับภูมิภาคและระดับโลกผ่านทุกประเทศ
สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม
       1. ลักษณะสำคัญของประชากร ประชากรในภูมิภาคนี้มีหลายเผ่า ได้แก่
       - ออสตราลอยด์ มีรูปร่างเตี้ย จมูกกว้าง ศรีษะยาว ผมหยิก เป็นชนพื้นเมืองเดิมในออสเตรเลีย
       - เมลานิซอยด์ รูปร่างสันทัด ผิวดำ กะโหลกศรีษะยาวและแคบ ผมหยิกเป็นฝอย อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
       - เนกริโต ผิวดำ ผมหยิก ตัวเล็ก เป็นบรรพบุรุษดั้งเดิมของชนเผ่าบางพวกที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เช่น พวกเงาะ เซมัง
อาศัยอยยู่ในประเทศ มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย
       2. ลักษณะสำคัญทางภาษา ภาษาพูดแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษามาลาโย-โพลีนีเซียน ภาษาออสโทร-เอเซียติก ภาษาทิเบโต-ไชนิส และภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาอาหรับ ภาษาของชาติตะวันตก เป็นต้น
       3. ศาสนาที่สำคัญ
       - ศาสนาพุทธ นับถือมากใน ประเทศไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา
       - ศาสนาอิสลาม นับถือมากในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน
       - ศาสนาคริสต์ นับถือมากในประเทศฟิลิปปินส์
สำหรับประเทศ สิงคโปร์ และติมอร์ตะวันออก จะมีความหลากหลายในการนับถือศาสนา 

ประชากรและคุณภาพชีวิต
  
     ประชากรเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการมีจำนวนประชากรและการกระจายตัวของประชากรที่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับทรัพยากร ธรรมชาติรวมทั้งการมีประชากรที่มีคุณภาพจึงเป็นความปรารถนาสูงสุดของทุกประเทศ ส่วนประเทศไทยมีลักษณะของประชากรและคุณภาพของประชากรดังนี้
       1. จำนวนประชากร ประชากร หมายถึง ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศโดยมีสัญชาติของประเทศนั้นอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ตลอดจนบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับ อนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศนั้น ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 62 ล้านคน จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีประชากร น้อยที่สุด คือ ระนอง
       2. แนวโน้มจำนวนประชากรในประเทศไทย ประเทศไทยเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2490 - 2504 ประชากรมีอัตราเพิ่มขึ้นโดยประมาณเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 3.2 แต่หลังจากรัฐบาลรณรงค์ในเรื่องการวางแผนครอบครัวอย่างจริงจัง ใน พ.ศ. 2538 ประชากรได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.6
       3. องค์ประกอบของประชากร ลักษณะประชากรจำแนกเป็น องค์ประกอบย่อย ๆ คือ
       - อายุ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ วัยเด็ก ( 1 - 14 ) วัยทำงาน ( 15 - 65 ) และวัยชรา ( 65 ปีขึ้นไป ) เดิมสัดส่วนอายุประชากรเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คือ มีวัยเด็กเป็นฐานกว้างแล้วเรียวเล็กขึ้นไปสู่ยอด ซึ่งเป็นวัยทำงานและวัยชรา แต่ปัจจุบันประชากรในวัยทำงานมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยภาระพึ่งพิง จึงทำให้สัดส่วนประชากรไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ถ้าสัดส่วนของประชากรวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าวัยอื่น ๆ ย่อมได้เปรียบในเชิงเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมมากกว่าประเทศหรือสังคมที่มีประชากรในวัยภาระเลี้ยงดูจำนวน มาก ๆ
      - เพศ สัดส่วนของเพศของประชากรชายหญิงของไทยไม่แตกต่างกันมากนัก คือมี จำนวนพอ ๆ กัน โดยมีเพศหญิงมากกว่าเล็กน้อย
      - เชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย ( 90 % ) มีเชื้อชาติอื่นบ้างเล็กน้อย เช่น จีน หรือพวกชาวเขา
      - ศาสนา ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 95 นับถือพระพุทธศาสนา รองลงมาคือ ศาสนาอิสลามร้อยละ 4 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.5ประเทศไทยไม่เคยมี ปัญหา ความแตกแยกของประชากรอันเนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องศาสนา
      
- ภาษา ประชากรไทยส่วนใหญ่พูดภาษาเดียวกัน คือ ภาษาไทย แต่ถ้าอยู่ในท้องถิ่นของตนเองภาษาอาจจะพื้นไปบ้าง เช่น ภาษาถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ เป็นต้น ภาษาพื้นเมืองที่แตกต่างไปจากภาษาไทยที่สำคัญ ได้แก่ ภาษามาเลย์หรือยาวี



ภูมิประเทศของไทย

วันนี้ครูจะพานักเรียนมาทำความเข้าใจ ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศของไทย....
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย
           ประเทศไทยตั้งอยู่ในแหลมอินโดจีน  การที่เรียกว่าแหลมอินโดจีน  เพราะถือว่าอยู่ระหว่างประเทศอินเดีย กับประเทศจีน ซึ่งเป็นการถือเอาประเทศใหญ่เป็นจุดอ้าง  แต่ถ้าถือเอาสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นจุดอ้างก็น่าจะเรียกว่า อินโด - แปซิฟิค  เพราะเป็นแหลมที่แบ่งน่านน้ำออกเป็นมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค  มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ ดังนี้          ทิศเหนือ  จดเส้นรุ้ง ๒๐ องศา ๒๕ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา เหนือ ที่กิ่งอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย          ทิศใต้  จดเส้นรุ้ง ๕ องศา ๓๗ ลิบดา ที่กิ่งอำเภอเบตง จังหวัดยะลา          ทิศตะวันออก  จดเส้นแวง ๑๐๕ องศา ๓๗ ลิบดา ๓๐ พิลิบดา ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี          ทิศตะวันตก  จดเส้นแวง ๙๗ องศา ๒๒ ลิบดา ตะวันออก ที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน             สภาพธรรมชาติในเขตร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบตะวันออก - ใต้ของทวีปเอเซีย มีอุณหภูมิสูง มีทะเลลมและฝนเป็นปัจจัยให้เกิดป่าดง ประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้เขตร้อน และสัตว์ป่านานาชนิด ที่มีปริมาณมากกว่าอีกหลายส่วนของโลก นับว่าเป็นย่านอันอุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร และทรัพยากรที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปเอเซีย             การที่เส้นแวง ๑๐๑ องศา ตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นผ่านกลางพื้นที่ประเทศไทย  การคิดเวลาของประเทศไทย จึงควรใช้เส้นแวงเส้นนี้เป็นตัวกำหนด  แต่เนื่องจากว่าเพื่อให้สะดวกในกิจการรถไฟ ซึ่งเชื่อมต่อไปยังแหลมมลายู ได้มีเวลาตรงกันทั้งไทย และมลายู (มาเลเซีย) ไทยจึงตกลงใช้เส้นแวง ๑๐๕ องศาตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นศูนย์เที่ยงทางภูมิศาสตร์ของมลายู และเป็นเส้นศูนย์เที่ยงของอินโดจีนด้วย เป็นเส้นศูนย์เที่ยงของไทยด้วย  จึงทำให้เวลาที่แท้จริงของไทยเร็วไป ๑๘ นาทีของที่ควรจะเป็น
ภูมิรัฐศาสตร์
            ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางของผืนแผ่นดินในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งมีพรมแดนธรรมชาติที่เหมาะสมในแง่ภูมิศาสตร์ โดยมีเทือกเขาขนาดใหญ่ และทุรกันดารทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือมาใต้ ดังนี้          ด้านทิศตะวันตก  มีเทือกเขาอารกันโยมา อันเป็นสาขาของเทือกเขาหิมาลัย  ทำให้เกิดป่าดงดิบทึบ เป็นการแยกประเทศพม่าออกจากประเทศอินเดียโดยสิ้นเชิง  ไม่มีปัญหาเรื่องการมีสายน้ำร่วมกัน  ในสงครามมหาเอเซียบูรพา  กองทัพญี่ปุ่นได้รุกไปทางตะวันตกผ่านไทย ผ่านพม่า มุ่งสู่อินเดียก็มาสิ้นสุดที่แนวเทือกเขาแห่งนี้เท่านั้น          ด้านทิศเหนือ  เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่บนที่ราบสูง ยูนนานของประเทศจีนตอนใต้ เป็นสาขาปลายตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ที่ผ่านไปสู่ประเทศจีน  เป็นย่านทุรกันดารเป็นป่าเขายากแก่การคมนาคมทางบก          ด้านทิศตะวันออก  เป็นทะเลจีนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิค  อันเป็นพรมแดนทางธรรมชาติอย่างแท้จริงในทางภูมิรัฐศาสตร์          ด้านทิศใต้  เป็นทะเลในด้านอ่าวไทย และมหาสมุทรอินเดีย  จึงมีสภาพพรมแดนทางธรรมชาติ เช่นเดียวกับด้านทิศตะวันออก             ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ ดังกล่าวมาแล้วทำให้ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ อันประกอบด้วย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย  มีปราการทางธรรมชาติ ที่เกื้อกูลต่อความปลอดภัยร่วมกันได้เป็นอย่างดี
ขนาดของประเทศไทย
            จากหลักฐานของกรมแผนที่ทหาร  ประเทศไทยมีพื้นที่ ประมาณ ๕๑๑,๙๓๗ ตารางกิโลเมตร ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่เป็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๓ จนถึงปัจจุบัน             ในระหว่างกรณีพิพาทอินโดจีน  ประเทศไทยได้พื้นที่เดิมที่เสียให้แก่ฝรั่งเศส  ในพื้นที่สี่จังหวัดทางภาคตะวันออกของไทย คือ จังหวัดพระตะบอง (เขมร)  เสียมราฐ (เขมร)  นครจำปาศักดิ์ (ลาว) ล้านช้าง (ลาว)  เป็นพื้นที่ประมาณ ๖๙,๐๒๙ ตารางกิโลเมตร และในสงครามมหาเอเซียบูรพา  ประเทศไทยได้รับดินแดนคืนจากที่เสียให้แก่อังกฤษ คือ สหรัฐไทยเดิม เป็นพื้นที่ประมาณ ๓๙,๘๕๕ ตารางกิโลเมตร และ ๔ รัฐมาลัย คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี (เคดาร์) และปะลิส  เป็นพื้นที่ประมาณ ๓๓,๒๔๕ ตารางกิโลเมตร             เมื่อสงครามมหาเอเซียบูรพายุติลง ไทยจำต้องคืนดินแดนที่ได้กลับคืนมา คืนกลับไปให้ฝรั่งเศส และอังกฤษไป             เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ ที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยแล้ว จะได้ดังนี้                     - เล็กกว่า ประเทศพม่าอยู่  ๖๑,๔๖๑   ตารางไมล์                     - เล็กกว่า ประเทศอินเดีย  ๗    เท่า                     - เล็กกว่า ประเทศจีน  ๑๐   เท่า                     - เล็กกว่า ประเทศตุรกี  ๑/๓  เท่า                     - เล็กกว่า ประเทศฝรั่งเศสเล็กน้อย                     - เล็กกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา  ๑๓   เท่า
รูปร่างของประเทศไทย             ประเทศไทยมีความยาวที่สุด จากเหนือ จดใต้ ประมาณ ๑,๘๓๓ กิโลเมตร  มีความกว้างที่สุดจากตะวันออก ไปตะวันตกตามแนวเส้นรุ้งที่ผ่านจังหวัดอุบล ฯ - อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาไปทางตะวันตก ประมาณ ๘๕๐ กิโลเมตร  ส่วนที่แคบที่สุดอยู่ที่ตำบลห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความกว้าง ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร และตอนแคบที่สุดของแหลมมลายูอยู่ที่ตรงคอคอดกระ กว้างประมาณ ๖๔ กิโลเมตร             รูปร่างของประเทศไทยที่กล่าวกันไว้มีอยู่สามภาพด้วยกันคือ เป็นรูปกระบวยตักน้ำ เป็นรูปขวานโบราณ และเป็นรูปหัวช้างมีงวงทอดลงไปในทะเลใต้  สรุปแล้วประเทศไทยมีส่วนยาวเป็นสองเท่าของส่วนกว้าง และครึ่งหนึ่งของส่วนยาวเป็นส่วนแคบ ๆ ทอดยาวลงไปทางใต้  เราอาจแบ่งรูปร่างของประเทศไทยออกอย่างกว้าง ๆ เป็นสองส่วนคือ
         ส่วนบน  มีรูปร่างค่อนข้างจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่มีความเว้าแหว่งอยู่มาก  ห้องภูมิประเทศที่เกิดจากแนวเทือกเขา ที่ทอดตัวจากเหนือไปใต้ ทำให้เกิดส่วนแคบขึ้นสองแนวคือ แนวจังหวัดตาก - อุตรดิตถ์ และแนวอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว - อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
         ส่วนล่าง  มีรูปร่างแคบและยาวมาก มีทะเลขนาบอยู่สองด้าน
พรมแดนไทย
            พรมแดนของไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  กำหนดขึ้นด้วยสัญญาระหว่างประเทศ กับประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส  ในสมัยที่ประเทศทั้งสองมีอาณานิคมอยู่ติดกับประเทศไทยในทุกด้าน ดังนี้                     - สนธิสัญญา ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๓๖ ระหว่างไทยกับอังกฤษ กำหนดพรมแดนไทยกับพม่า                     - สนธิสัญญา เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๔๗๓ (ร.ศ.๑๑๖) ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส                     - สนธิสัญญา เมื่อ ๗ ตุลาคม ๒๔๔๕ ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส                     - สนธิสัญญา เมื่อ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส                     - สนธิสัญญา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ระหว่างไทยกับอังกฤษ       พรมแดนไทยกับพม่า  เริ่มต้นจากจังหวัดระนอง ที่ลำน้ำกระ (เส้นรุ้ง ๑๐ ลิบดา เหนือ) เป็นแนวเส้นเขตแดนต่อไปทางเหนือ ตามแนวสันเขาตะนาวศรี  สันเขาถนนธงชัย  สันเขาแดนลาว  ไปจดแม่น้ำโขง ที่จุดเส้นรุ้ง ๒๕ องศา ๕ ลิบดา เหนือ  ที่กิ่งอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย  แนวพรมแดนด้านนี้ยาว ประมาณ ๑,๔๕๐ กิโลเมตร  ไม่สู้คดโค้งมากนัก ส่วนใหญ่เป็นทิวเขาสูงใหญ่       พรมแดนไทยกับลาว  เริ่มจากบ้านใหม่ (เส้นรุ้ง ๒๐ องศา ๑๕ ลิบดา  เหนือ) มีลำน้ำโขงเป็นแนวเส้นเขตแดน แล้ววกเขาหาทิวเขาหลวงพระบาง ลงมาทางใต้ แล้ววกไปหาแม่น้ำโขงไปจนจดปากน้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี ช่วงนี้ยาวประมาณ ๑,๒๐๐ กิโลเมตร       พรมแดนไทยกับกัมพูชา  เริ่มจากปากแม่น้ำมูล แนวพรมแดนเป็นสันเขาพนมดงรัก  ซึ่งโค้งมาทางตะวันตก จนถึงจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นระยะทาง ประมาณ ๓๒๐ กิโลเมตร  จากนั้นแนวเส้นเขตแดนจะเป็นที่ราบจนจดทะเลที่อ่าวไทย       พรมแดนไทยกับมาเลเซีย  เริ่มที่ลำน้ำนราธิวาสทางอ่าวไทยไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เล็กน้อย แล้วใช้สันเขาสันกาลาคีรี เป็นแนวเขตแดนไปจนจดมหาสมุทรอินเดีย ที่จังหวัดสตูล             นอกจากนี้ไทยยังมีพรมแดนที่เป็นฝั่งทะเล คือ                     - ด้านอ่าวไทย  จากจังหวัดตราด ถึง นราธิวาส มีความยาวประมาณ ๑,๘๗๐ กิโลเมตร และด้านมหาสมุทรอินเดีย จากจังหวัดระนอง ถึงจังหวัดสตูล ยาวประมาณ ๗๔๐ กิโลเมตร
ที่มา : hxxp://www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/geography/geo.htm