24 มีนาคม 2558

8 วิธีมั่วข้อสอบให้ได้คะแนนบ้าง

นักเรียนหลายคนคงไม่มีใครอยากทำข้อสอบแบบ ส่งๆขอไปทีหรอก คะแนนเราทั้งทีอยากได้เกรด 4 แต่ทำข้อสอบไม่ได้จริงๆ พี่เข้าใจ วันนี้ทีนเอ็มไทยก็เลยจะมาบอก?8 วิธีมั่วข้อสอบให้ได้คะแนนบ้าง ! (ไม่ได้เต็มร้อย แต่ได้คะแนนบ้างก็ยังดี ) ใช่ไหมคะเพื่อนๆ
8 วิธีมั่วข้อสอบให้ได้คะแนนบ้าง
8 วิธีมั่วข้อสอบให้ได้คะแนนบ้าง
ขอบคุณข้อมูล?http://www.dek-d.com/board/view/3111401
8 วิธีมั่วข้อสอบให้ได้คะแนนบ้าง
  1. อ่านคำถามทุกข้อ ข้อไหนทำได้ ให้ทำอย่างรอบคอบ ข้อไหนทำไม่ได้ให้ผ่านไปก่อน
  2. ย้อนกลับมาพิจารณาข้อที่ไม่ได้ทำ หรือข้ามไปอีกครั้ง
  3. ค่อยๆ ตัดช้อยส์ที่แน่ใจว่าไม่ใช้คำตอบออกไปทีละข้อ เพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการมั่วได้ถูกต้อง เช่นตัดช้อยส์ที่ไม่ใช่ออกไป จนเหลือช้อยส์ที่ไม่แน่ใจ2ข้อนั้นแสดงว่า เรามีเปอร์เซ็นต์กาถูก50เปอร์เซ็นต์
  4. ช้อยส์ที่แย่งกันเอง มักจะมีข้อใดข้อหนึ่งถูก เนื่องจากเวลาคิดช้อยส์ให้นักเรียนตอบ อาจารย์จะคิดคำตอบที่ถูกต้องก่อน แล้วจึงหาคำตอบที่ผิดมาใส่ให้ครบจำนวนข้อซอยส์ ซึ่งวิธีคิดคำตอบที่ผิดที่ง่ายที่สุดก็คือ คิดคำตอบที่ตรงกันข้ามกับคำตอบที่ถูกต้อง
  5. ช้อยส์ที่เหมือนกันมักจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง สามารถตัดทิ้งได้เลย เพราะถ้าข้อหนึ่งถูก อีกข้อหนึ่งก็ถูกต้อง
  6. ช้อยส์ ไม่มีข้อใดถูก มักจะเป็นช้อยส์หลอก เพราะการคิดช้อยส์ให้ผิดยากกว่าคิดช้อยส์ให้ถูก นอกจากอาจารย์ท่านนั้นจะขึ้นชื่อว่าเป็นเทพในการออกข้อสอบ
  7. ข้อที่อับจนปัญญา ไม่สามารถจะเดาได้ว่าจะเป็นข้อใด ให้กาช้อยส็ที่เรากาน้อยที่สุดของคำตอบ
  8. ให้ทำข้อสอบให้ครบทุกข้อ แม้ข้อสอบนั้นเราจะยังไม่ได้คำตอบก็ตาม เพราะถ้าไม่ตอบแสดงว่าคะแนนข้อนั้นของเราเท่ากับ 0
เพิ่มเติมจากคุณ?Shifted จะมาแนะนำ เทคนิคเสริมของพวกเด็กแข่ง เด็กเตรียม เขาจะใช้วิธีอะไรไปดูกัน
0.การตัดช็อยส์
เป็นขั้นพื้นฐานที่สุดของการมั่ว ทุกคนควรทำเป็นนะแจ๊ะ
1.กฏหมู่มาก
“ตัวเลือกย่อยที่ปรากฏบ่อยใน”
เช่น ช็อยส์มี
ก. 1 2 ข.1 3
ค. 1 2 3 ง.2 4
แบบนี้ให้ assume ว่า 1 ถูกเลย เพราะมีจำนวนมากถึง 3/4 เทคนิคนี้ใช้ไม่ได้ทุกครั้ง แต่ก็ได้บ้าง
2.กฏการกระจายตัว
“ในข้อสอบฉบับใดๆ มักจะมีการกระจายช็อยส์ไม่ให้ลงช็อยส์หนึ่งมากเกินไปเพื่อป้องกันนักเรียนดิ่ง”
ดังนั้นถ้าเราทำมา 15/20 ข้อ(อย่างมั่นใจ)แล้วมี ง. น้อย ถ้าจะดิ่งก็ดิ่ง ง. เสีย
3.กฏความขัดแย้ง-สัมพันธ์ของตัวเลือก
“ถ้าช็อยส์2ช็อยส์ใดๆในตัวเลือกมีความขัดแย้งกัน คำตอบจะอยู่ในหนึ่งในสองช็อยส์นั้น”
“ถ้าช็อยส์2ช็อยส์ใดๆในตัวเลือกมีความสัมพันธ์กัน(เหมือนกัน) คำตอบจะอยู่ในสองช็อยส์ที่ไม่ใช่สองช็อยส์นั้น”
4.การเดาใจคนออกข้อสอบ
ในหลายครั้งนั้น ข้อสอบผิด แต่เขาไม่ได้แจกฟรีเสมอ ดังนั้น เราจึงควรเดาใจว่าคนออกต้องการจะสื่ออะไร เพื่อคะแนน!
5.การประมาณช่วงของคำตอบ
ใช้ได้กับวิชาเลข สำหรับคนที่โปรหน่อย ให้เราประมาณช่วงของคำตอบไว้ล่วงหน้า เช่น มันน่าจะอยู่ในช่วง 9-24 แล้วเวลาทำเสร็จ ถ้ามันผิดเราจะรู้ได้
6.การแทนสวนกลับ
อันนี้น่าจะรู้จักดีทุกคน คือเอาช็อยส์แทนค่าสวนกลับไปในโจทย์เลยว่าจริงไหม?แต่บางที เราต้องประมาณค่าก่อนสวน ไม่งั้นมันแก้ไม่หลุด
7.การสมมติค่าตัวแปร
ถ้าโจทย์ให้สมการมีตัวแปรมาเยอะๆ แล้วโจทย์ถาม “ค่า” แล้วช็อยส์ไม่ติดตัวแปร?เราสามารถสมมติตัวแปรอะไรก็ได้ที่สัมพันธ์กับโจทย์ อัดเข้่าไปได้เลย (เพราะคำตอบนี้ต้องเป็นจริงสำหรับทุกช่วงค่าตัวแปร)
8.สัญชาตญาณ
แล้วแต่ของใครของมัน
ขอให้โชคดีกันทุกคน

ที่มา: http://teen.mthai.com/education/65700.html

วิธีในการทำข้อสอบ ( ให้ได้ผล )


วิธีในการทำข้อสอบ ( ให้ได้ผล )



วิธีการทำข้อสอบ

๑.       การสอบข้อเขียน

ข้อ สอบที่ใช้กันในการสอบข้อเขียน ได้แก่ ข้อสอบแบบปรนัยและอัตนัย นอกจากนั้นวิธีการสอบที่มักจะใช้สอบก็คือ การสอบแบบปิดและเปิดตำรา วิชาไหนจะสอบแบบใดอาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดและแจ้งให้นักศึกษาทราบก่อน สอบเสมอ นักศึกษาที่มีความรู้เท่ากันไม่ได้หมายความว่าจะได้คะแนนสอบเท่ากัน ผลการวิจัยพบว่าผู้ที่มีทักษะที่ดีในการทำข้อสอบจะได้คะแนนสูงกว่าผู้ที่ขาดทักษะ ดังนั้น ต่อไปนี้จะกล่าวถึงวิธีการทำข้อสอบเพื่อให้มีโอกาสได้คะแนนสูงขึ้น
๑.๑ การสอบแบบเปิดตำรา
                การ สอบแบบนี้ผู้สอนจะอนุญาตให้ผู้สอบนำเอกสารต่าง ๆ เข้าไปในห้องสอบได้ โจทย์ส่วนใหญ่จะถามเกี่ยวกับความเข้าใจเนื้อหาของวิชาที่เรียนมากกว่าการ ท่องจำและอาจจะรวมถึงการนำความรู้หรือทฤษฎีไปประยุกต์ใช้อีกด้วย ซึ่งมีลักษณะ ๒ แบบ คือ
                ๑.๑.๑ ข้อสอบง่าย แต่จำนวนข้อสอบยากจนทำไม่ทัน
๑.๑.๒ ข้อสอบยาก จำนวนข้อน้อย แต่วัดความเข้าใจและความสามารถในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่าง ๆ
การ ทำข้อสอบแบบนี้ให้ได้ดี นอกจากจะต้องเข้าใจเนื้อหาอย่างดีแล้ว การฝึกฝนทำข้อสอบ หรือข้อสอบของปีที่ผ่านมาให้คล่องแคล่วก็สำคัญไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นความเร็วในการเขียน และการเปิดหาหัวข้อที่ต้องการใช้ ได้อย่างรวดเร็ว โดยการจัดระบบของเอกสารหรือตำราที่ใช้สอบ เช่น การใช้คั่นหน้าของหนังสือ เป็นต้น
๑.๒ การสอบแบบปิดตำรา 
การ สอบเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะมักจะเป็นการวัดความรู้ ความเข้าใจ และความจำของการเรียนที่ผ่านมา ข้อสอบแบบนี้ซึ่งจะมีทั้งข้อสอบแบบปรนัยและข้อสอบแบบอัตนัย ส่วนใหญ่จะทดสอบความเข้าใจและความจำของผู้สอบ
๑.๓ ประเภทของข้อสอบข้อเขียน
๑.๓.๑ ข้อสอบแบบปรนัย คือข้อสอบที่มีทั้งคำถามและคำตอบ โดยคำตอบจะมี ๔ ๕ ตัวเลือก ( Choices ) ให้เลือกตอบ แต่จะข้อจะมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบหรือเพียงตัวเลือกเดียวเท่านั้น มีขั้นตอนในการทำข้อสอบดังนี้
๑.๓.๑.๑ อ่านคำสั่งอย่างละเอียด ทำเครื่องหมายให้ตรงตามที่คำสั่งระบุไว้อย่างเคร่งครัดและให้ตรงกับข้อคำถาม
๑.๓.๑.๒ ทำข้อสอบที่เราทำได้ก่อน ส่วนข้อที่ยังทำไม่ได้ ให้ทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ไว้ให้ชัดเจน ผ่านไปทำข้ออื่นก่อน เพระบางครั้งคำตอบในข้ออื่นอาจจะช่วยให้เราตอบข้อที่เรายังทำไม่ได้ แล้วกลับไปทำข้อนั้น การทำสัญลักษณ์จะทำให้เกิดจุดเด่นที่เราสามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่าเราข้ามข้อไหนมาบ้าง
๑.๓.๑.๓ กรณีที่เราไม่รู้คำตอบจริง ๆ อาจจะต้องอาศัยการคาดเดา ซึ่งใช้วิธีต่อไปนี้อาจจะช่วยได้บ้าง
๑.๓.๑.๓.๑ วิธีการตัดตัวเลือก คือ กำจัดคำตอบข้อที่ผิดอย่างชัดเจนออกไปก่อน ทำให้เหลือตัวเลือกน้อยลง ถ้าเดาโอกาสถูกก็จะสูงขึ้น 
๑.๓.๑.๓.๒ คำตอบที่มีความหมายคล้ายกันมักจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง ( แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป )
๑.๓.๑.๓.๓ คำตอบที่มีความหมายกว้างครอบคลุมข้ออื่น ๆ มักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ( แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป )
๑.๓.๑.๓.๔ คำตอบที่ตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกัน ไม่คำตอบใดก็คำตอบหนึ่งมักจะเป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง ( แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป )
๑.๓.๑.๓.๕ คำตอบที่ยาวที่สุดหรือสั้นที่สุดก็มักจะเป็นคำตอบที่ถูก ทั้งนี้ ให้สังเกตจากคำตอบข้อที่เราทำได้มาเป็นแนวโน้ม ( แต่ก็ไม่ใช่เสมอไป )
๑.๓.๑.๓.๖ คำตอบแรกที่นึกขึ้นได้มักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์
๑.๓.๒ ข้อสอบแบบอัตนัย ข้อสอบแบบนี้ไม่มีคำตอบให้เลือก ผู้สอบจะต้องคิดคำตอบเองทั้งหมด การทำข้อสอบแบบนี้ให้ได้คะแนนดี ๆ มีวิธีดังนี้
๑.๓.๒.๑ อ่านข้อสอบทั้งหมดอย่างระมัดระวัง และแบ่งเวลาในการทำข้อสอบ
ตรวจ ดูว่ามีเวลาทำข้อสอบนานเท่าไร ข้อสอบมีจำนวนกี่ข้อ คะแนนในแต่ละข้อเท่าไร ( กรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ ให้สันนิษฐานว่าคะแนนเท่ากันทุกข้อ ) ข้อไหนยาก ข้อไหนง่ายสำหรับเรา จากนั้นเราจะมีข้อมูลในการคำนวณเวลาในการทำข้อสอบแต่ละข้อว่าต้องใช้เวลาและ เขียนรายละเอียดมากน้อยเท่าไร เพื่อที่จะทำข้อสอบได้ทัน และมีเวลาเหลือสำหรับการทบทวน
ข้อ ไหนทำจนหมดเวลาเฉลี่ยแล้วยังทำไม่เสร็จหรือคิดไม่ออกให้เว้นช่องว่างหรือทำ สัญลักษณ์เพื่อกันลืมไว้ ผ่านไปทำข้ออื่นก่อน และกลับมาคิดทบทวนและลงมือทำอีกรอบหนึ่ง ผู้เขียนแนะนำให้แบ่งเวลาให้ ๕ ๑๐ นาทีก่อนส่งข้อสอบเสมอ สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบ ตรวจดูชื่อ นามสกุล และเลขที่สอบหรือเลขประจำตัว
                                ๑.๓.๒.๒ ตอบให้ตรงคำถาม 
อ่าน คำถามให้เข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจให้อ่านซ้ำ ๆ จนกว่าจะเข้าใจคำถาม และสำรวจคำถามว่าผู้ออกข้อสอบต้องการคำตอบอะไร รายละเอียดมากน้อยแค่ไหน แล้วตอบคำถามโดยมีรายละเอียดดังนี้
๑.๓.๒.๒.๑ ตอบอย่างสั้นหรือกระชับพอได้ใจความ เมื่อคำถามมีว่า บอกชื่อ ระบุ หรือเขียนเป็นข้อ ๆ แต่ไม่ควรสั้นจนไม่ได้เนื้อความครบประเด็น
๑.๓.๒.๒.๒ ตอบอย่างละเอียดและมีประเด็นที่ชัดเจน เมื่อคำถามมีว่า เปรียบเทียบ อธิบาย บรรยาย วิจารณ์ หรือ ทำไม ในกรณีให้บอกเหตุผล แต่ไม่ควรมีแต่น้ำจนคำตอบยาวเยิ่นเย้อไม่มีประเด็นที่ชัดเจน
บาง ครั้งผู้สอบจะกำหนดจำนวนช่องว่างสำหรับให้เขียนคำตอบมาให้ ควรเรียบเรียงความคิดและเขียนคำตอบให้พอดีกับช่องว่างนั้น ขณะที่กำลังอ่านคำสั่ง ถ้ามีคำตอบข้อใดก็ตามเข้ามาในสมองให้รีบเขียนคำตอบนั้นทันทีแบบย่อสั้น ๆ ลงในกระดาษคำถามเพื่อกันลืม
                                ๑.๓.๒.๓ ทำข้อที่ทำได้ และที่ได้คะแนนมากก่อน
ทำข้อสอบข้อที่ทำได้ก่อน เพราะจะทำให้มั่นใจในการทำข้อสอบและยังมีเวลาเหลือไปคิดข้ออื่น ๆ
                                ๑.๓.๒.๔ เขียนให้น่าอ่าน
ก่อน ที่จะลงมือเขียนคำตอบต้องเรียบเรียงความคิดและวางโครงร่างคร่าว ๆ ว่า มีหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยอะไรบ้าง ควรเขียนข้อมูลละเอียดแค่ไหน เรียงลำดับก่อนหลังตามความสำคัญ จากนั้นเริ่มเขียนด้วยลายมือที่อ่านง่าย เว้นวรรคให้ชัดเจน และย่อหน้าให้ถูกต้องตามประเด็น ไม่ควรเขียนวกไปวนมา และกรุณาอย่าใช้ภาษาพูด พยายามใช้แผนภูมิ แผนภาพ หรือตารางประกอบ ถ้าโจทย์นั้นอำนวย เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำเสนอความคิดของเราให้แก่ผู้ตรวจอย่างชัดเจน
๒.     การสอบปากเปล่า

การสอบในลักษณะนี้จะไม่ค่อยใช้ในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี เพราะต้องสอนทีละคนหรือแบ่งกลุ่ม ๒ ๓ คน จึงทำให้เสียเวลาในการสอบมาก วิชาที่ใช้วิธีการสอบแบบนี้ได้แก่ วิชาโครงงานหรือปริญญานิพนธ์ ซึ่งการจะสอบผ่านหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับผลงานและการเรียบเรียงความรู้มา เป็นคำตอบนั่นเอง การสอบลักษณะนี้นักศึกษาจะเป็นผู้นำเสนอผลงานของตนเองแล้วตอบข้อซักถามต่อ อาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้สงสัยในงานชิ้นนั้น ๆ
๒.๑ ขั้นตอนการเตรียมตัวสอบปากเปล่า
๒.๑.๑ เตรียมสื่อที่จะนำเสนอให้ดีและดึงดูดความสนใจ ต้องใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง จัดลำดับเป็นขั้นตอน ใช้ตัวหนังสือ รูปภาพ หรือแผนภูมิที่มีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการใช้ตัวหนังสือสีอ่อน หรือสีที่ใกล้เคียงกับพื้นหลัง เพราะจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน
                ๒.๑.๒ เตรียมตัวก่อนสอบ
                                ๒.๑.๒.๑ ต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจข้อมูลเหล่านั้นเป็นอย่างดี
                                ๒.๑.๒.๒ จัดเรื่องที่พูดกับเวลาให้เป็นไปตามกำหนดของการสอบ
๒.๑.๒.๓ รู้ว่าข้อมูลไหนคือประเด็นหลัก ส่วนใดเป็นประเด็นปลีกย่อย ประเด็นไหนที่ควรพูดเน้น
๒.๑.๒.๔ เตรียมคำถามและคำตอบไว้ล่วงหน้าตามที่คาดว่าอาจจะเป็นข้อสอบได้
๒.๑.๒.๕ ฝึกพูดนำเสนอหลาย ๆ ครั้ง เพื่อหาข้อบกพร่องและข้อควรปรับปรุงแก้ไข อีกทั้งยังทำให้นักศึกษาพูดได้คล่องแคล่ว ไม่ติดขัด และประหม่าน้อยลง แสดงว่าเรามีความรู้ในเรื่องที่นำเสนอและเตรียมตัวมาอย่างดี
                ๒.๑.๓ ขณะสอบ
ขณะ ที่เราเริ่มต้นพูด ผู้คุมสอบหรือผู้ซักถามซึ่งอาจจะเป็นอาจารย์หรือคณะกรรมการทุกคนจะมองมาที่ นักศึกษา อาการปกติที่มักจะเกิดขึ้นกับทึกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์น้อยคือ อาการประหม่า พูดไม่ออก หัวใจเต้นแรงและเร็ว บางคนอาจจะถึงขั้นเป็นลมและหน้ามืด การแก้ไขทำได้หลายวิธี เป็นต้นว่า หลายใจลึก ๆ ยาว ๆ เข้าปิดสัก ๒ ๓ ครั้ง แล้วเริ่มต้นพูดช้า ๆ ด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจน วิธีนี้จะช่วยเปิดช่องลมให้กับท่อเสียงบริเวณกล้ามเนื้อรอบ ๆ เส้นเสียงให้คลายตัว จะช่วยให้ผ่อนคลายและระงับความประหม่า หลังจากนั้นผู้นำเสนอควรปฏิบัติตามขั้นตอน
                                ๒.๑.๓.๑ ข้อควรปฏิบัติขณะสอบ
๒.๑.๓.๑.๑ พูดด้วยน้ำเสียงที่ดัง ฟังชัด ชัดเจน ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป พูดตามลำดับหัวข้อเป็นขั้นตอน
๒.๑.๓.๑.๒ ไม่ควรก้มมองดูข้อมูลหรืออ่านข้อมูลตลอดเวลา แต่ควรมองอาจารย์หรือคณะกรรมการบ้างเป็นระยะ ๆ ไม่ควรจ้องตา แต่ให้ประสานสายตาผ่าน ๆ
๒.๑.๓.๑.๓ รักษาเวลาตามกำหนด ไม่ควรพูดเกินเวลาที่กำหนด เพราะจะน่าเบื่อและทำให้เสียคะแนน
๒.๑.๓.๑.๔ ฟังคำถามจนจบและทำความเข้าใจ ( ห้ามพูดแทรก ) หยุดคิด ประมาณ ๑ ๒ วินาที แล้วจึงตอบคำถม โดยให้กระชับและตรงประเด็น หากไม่รู้หรือไม่มีข้อมูลในการตอบ ขอให้กล้ายอมรับและบอกว่าจะไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ด้วยน้ำเสียงที่สุภาพจริงใจ ถ้ายังมีการสอบครั้งต่อไป ก็ให้นำข้อมูลนั้นมาเสนอ แต่ถ้าไม่มีต้องทำใจยอมรับและคิดว่าเราทำดีที่สุดแล้ว เนื่องจาก การทำงานนำเสนอแต่ละครั้ง จะต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเสมอ ถ้าเตรียมตัวมาอย่างดี โอกาสที่จะได้คะแนนดี ๆ ก็มีสูงมาก ฉะนั้น ไม่ควรละเลยที่จะเตรียมตัว
att: https://blog.eduzones.com/rangsit/11537

ข้อสอบ : เทคนิคเดาข้อสอบอย่างเทพ ข้อสอบยากก็ได้ผล!!

พอดีไปเจอบทความที่มีประโยชน์ กับ ชาว Societies เลยเอามาให้อ่านครับ.
ที่มา: http://www.dek-d.com/education/29782/
"สวัส ดีค่ะน้องๆ.... หน้าฝนมักจะพ่วงการสอบปลายภาคของเทอมหนึ่งมาด้วยเสมอ นี่ก็ใกล้ได้เวลาแล้ว ใครยังนั่งเล่นอยู่ระวังจะไม่ทันการนะจ๊ะ ส่วนพี่ๆ ที่ต้องเตรียมเรื่องกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆ อย่าลืมแบ่งเวลาให้ดีล่ะ ยังไงการเรียนก็ต้องมาก่อนกิจกรรมเสมอ

             วันนี้พี่มิ้นท์จะมาพูดถึงการสอบล้วนๆ เชื่อว่าชาว
Dek-D.com หลายคนต้องเคยเจอปัญหาทำข้อสอบไม่ได้ อ่านมาแล้วก็ทำไม่ได้ เพราะอาจารย์ออกข้อสอบไม่ตรงกับที่เราอ่าน(หรือเราอ่านไม่ตรงกับที่อาจารย์ ออก 5555) เรียกว่าเจอคำถามพวกนี้ได้แต่เกาหัวแกร่กๆ กันเลยทีเดียว แต่ในระดับมัธยมก็ยังไม่ยากเท่าไหร่ เพราะเป็นข้อสอบปรนัย ให้เราเลือกตอบได้ แต่ถ้ามัวแต่เดาแบบมั่วๆ ไม่มีหลักการ คะแนนของน้องๆ ก็คงต้องพึ่งดวงอย่างเดียวแล้ว ดังนั้นเพื่ออุดรอยรั่วไม่ให้คะแนนไหลไป พี่มิ้นท์มีเทคนิคการเดาข้อสอบขั้นเทพมาฝาก ถึงทำไม่ได้ก็ยังมีโอกาสตอบถูก ไปลองดูกันเลยจ้า
เทคนิคเดาข้อสอบอย่างเทพ ข้อสอบยากก็ได้ผล!!

   1) ตัดช้อยส์
               เป็นเทคนิคเมื่อโบราณกาลนานมาแล้ว เป็นเทคนิคคลาสสิคที่ใครๆ เค้าทำกัน คือ  ตัดตัวเลือกที่ดูไม่น่าเกี่ยวข้อง หรือ ไม่ใช่แน่ๆ ออกไป เพราะข้อสอบแต่ละข้อก็จะมีบ้างที่น้องๆ สามารถรู้ว่าช้อยส์นี้ไม่ใช่ ดังนั้น ตัดออกไป ถ้าตัดไดถึง 2 ข้อจะดีมาก เพิ่มโอกาสถูกให้เรา 50 - 50% เลยทีเดียว กลับกันหากเราเดาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ตัดช้อยส์โอกาสถูกจะมีเพียง 25% หรือ 1 ใน 4 เท่านั้น
  
 
   2) ข้อที่ทำไม่ได้ ให้ข้ามไปก่อน
               บางข้อคิดหัวแทบแตกก็ไม่ได้คำตอบ ตัดช้อยส์ก็ไม่ได้ แนะนำให้ข้ามข้อนี้ไปก่อนเลย แล้วค่อยกลับมาทำทีหลังโดยใช้เทคนิคอื่นเข้าช่วย อย่าดันทุรังฝืนทำต่อไป เพราะจะเสียเวลาโดยใช่เหตุ ลองคิดดูว่าฝืนคิดข้อละ 1 นาที 20 ข้อ เท่ากับเราเสียเวลาแบบไม่ได้คำตอบไป 20 นาทีเชียวนะ

   
3) "ไม่มีข้อใดถูก" มักเป็นตัวเลือกหลอก
              ในคำถามที่เน้นการวิเคราะห์และความจำที่ช้อยส์จะยาวเป็นพิเศษ และมักจะมีช้อยส์ "ไม่มีข้อใดถูก" อยู่ด้วย แนะนำว่าถ้ามีช้อยส์นี้ขึ้นมาให้ตัดออกไปได้เลย เพราะการคิดช้อยส์ให้ผิดยากกว่าคิดช้อยส์ให้ถูกนะคะ ที่สำคัญคือ ถ้าตั้งโจทย์มาแล้วแต่ไม่มีข้อถูกในนั้น นักเรียนก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เรียกว่าเป็นช้อยส์ที่เกิดมาเพื่อหลอกโดยเฉพาะ ยกเว้นแต่ว่าอาจารย์คนนั้นเป็นที่ขนานนามกันว่าเดาแนวข้อสอบยาก อะไรก็เกิดขึ้นได้!!
              ส่วนตัวเลือก
"ถูกทุกข้อ" อันนี้ค่อยมีโอกาสเป็นไปได้ แต่น้องๆ ควรอ่านโจทย์ให้ครบทุกข้อซะก่อน สิ่งที่ต้องดูคือ เนื้อหาในช้อยส์มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ ขัดแย้งกันเองหรือไม่ เป็นต้น
              แต่ถ้าเกิดมีตัวเลือก "ไม่มีข้อใดถูก" กับ "ถูกทุกข้อ" พร้อมกัน ไม่น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ค่ะ สามารถดูช้อยส์ 2 ข้อที่เหลือแล้วเลือกตอบได้เลย

   
4) คำตอบที่แย้งกันเอง มักจะมีข้อใดข้อหนึ่งถูก
              ลองสวมบทบาทคนออกข้อสอบดู เมื่อใส่คำตอบที่ถูกไปแล้ว พอคิดคำตอบที่ผิดขึ้นมาก็มักจะสร้างคำตอบที่ตรงกันเอาไว้ก่อน เรียกว่าเป็นช้อยส์คู่ขนาน เช่น คำตอบที่ลงท้ายว่า "มากขึ้น - ลดลง" เป็นต้น อยู่ที่ว่า 2 ช้อยส์ที่ตรงข้ามกันนั้นเราจะรู้คำตอบมั้ย

   
5) ช้อยส์ที่มีความหมายเหมือนกัน ตัดทิ้งได้เลย
             ตรงกันข้ามกับคำตอบที่แย้งกันอันนั้นให้เก็บไว้และเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ส่วนช้อยส์ที่มีเนื้อหาหรือความหมายเหมือนกันให้ตัดทิ้ง เพราะถ้าข้อนึงถูก อีกข้อนึงก็ต้องถูก ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ เช่น
            ข้อใดคือประโยชน์ของวิตามินเอ?
                ก.บำรุงสายตา
                ข.บำรุงกระดูก
                ค.บำรุงฟัน
                ง.ป้องกันหวัด
           อันนี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ที่อยากให้น้องๆ เห็นภาพ สมมติว่าข้อนี้น้องๆ ไม่รู้คำตอบเลย ก็ลองดูที่ช้อยส์จะเห็นว่า จริงๆ แล้วกระดูกและฟันมันก็คล้ายๆ กัน ถ้าเกิดมันต้องตอบฟัน กระดูกก็จะต้องตอบด้วย เพราะฉะนั้นจะแยกกันไม่ได้ ดังนั้นตัดออกได้เลยทั้งสองช้อยส์ก็จะเหลือข้อ ก) และ ง) ที่เหลือก็ต้องตัดช้อยส์กันต่อไป ถ้าไม่ได้ต้องเดาต่อ

  
6) ทิ้งดิ่ง
           เมื่อลองทุกวิถีทางมาแล้ว เชื่อว่าจะเหลือข้อที่ทำไม่ได้ประมาณ 10% ถ้ามากกว่านี้ต้องสงสัยแล้วล่ะว่าได้อ่านหนังสือมาบ้างมั้ยเนี่ย ฮ่าๆ เอาล่ะ เมื่อข้อที่เหลือไม่สามารถตัดช้อยส์ได้ ก็ให้ทิ้งดิ่ง โดยมีหลักการเลือกข้อที่จะทิ้งดิ่งว่า ต้องเป็นข้อที่มีคำตอบน้อยที่สุด เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ เหลือข้อที่ตอบไม่ได้ 12 ข้อ  ข้อ ก) มี 21 ข้อ  ข)มี 14 ข้อ  ค)มี 27 ข้อ  ง) 26 ข้อ จะเห็นได้ว่า ข้อ ข) มีคำตอบน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น 12 ข้อที่เหลือให้ทิ้งดิ่ง เทกระจาด ตลาดแตกที่ข้อ ข) ได้เลย

           คำถามที่เกิดขึ้นคือ แล้วจะมั่นใจได้ยังไงว่าอาจารย์จะออกข้อสอบแบบเฉลี่ยคำตอบให้เท่ากันทุกข้อ ในความเป็นจริงอาจารย์คงไม่ได้จัดให้เท่ากันเป๊ะๆ หรอกค่ะ แต่เราได้ทำข้อที่มั่นใจมากและเกือบมั่นใจไปจนเกือบหมดแล้ว แต่คำตอบในบางข้อก็ถูกกาน้อยซะเหลือเกิน จะให้เราไปทิ้งดิ่งในข้อที่คำตอบเยอะแล้วก็คงจะไม่ใช่ ดังนั้นแบบนี้แหละที่เพิ่มโอกาสได้คะแนนมากกว่า.... ถึงอาจารย์บางท่านจะไม่ได้ยึดหลักเฉลี่ย 25 เท่ากัน แต่ก็เชื่อว่ามีหลายท่านนะคะที่ยังใช้หลักนี้อยู่^^

เทคนิคเดาข้อสอบอย่างเทพ ข้อสอบยากก็ได้ผล!!
   
 ข้อแนะนำเพิ่มเติม
            ได้เทคนิคเดาข้อสอบแบบเทพๆ ไปแล้ว พี่มิ้นท์จะมาแนะนำถึงข้อควรปฏิบัติเมื่อเข้าห้องสอบกันบ้าง เพราะสิ่งเหล่านี้ก็ช่วยให้ได้คะแนนเพิ่มได้เหมือนกันนะ
                - เข้าถึงห้องแล้ว ก่อนทำข้อสอบให้เช็คข้อสอบให้เรียบร้อยว่าครบมั้ย หน้าไหนขาด หรือตัวอักษรเลือนหรือเปล่า เพราะถ้าทำๆ อยู่แล้วเรียกอาจารย์คุมสอบขอเปลี่ยนข้อสอบ นอกจากจะเด่นกลางห้องแล้ว ยังรบกวนสมาธิเพื่อนด้วย เราเองก็เซ็งเหมือนกันนะ
               - ข้อที่ทำไม่ได้ เมื่อข้ามไปแล้วให้ทำสัญลักษณ์ไว้ ไม่อย่างนั้นเวลาเราทำข้อไปอาจลืมตัวไปฝนข้อที่เราข้าม โอ้วพระเจ้าจอร์จสุดท้ายอ่านจบครบ 100 ข้อ แต่คำตอบเราอาจจะได้ 99 โดยที่ไม่รู้ว่าเริ่มผิดตั้งแต่ข้อไหน เจอแบบนี้เข้าไปเสียเวลา เสียใจ เปลืองยางลบด้วย ฮ่าๆ
               - ทำเสร็จแล้ว ตรวจทานให้ดีว่าทำครบทุกข้อหรือยัง เพราะบางทีเผลอทำสัญลักษณ์ไว้ว่าจะกลับมาทำใหม่แล้วลืมทำซะงั้น
               - ตรวจทานคำตอบของตัวเอง หากเจอข้อที่ มั่นใจว่าผิดให้แก้ แต่ถ้าข้อไหนที่เจอแล้วรู้สึกแปลกๆ ไม่แน่ใจก็ไม่ต้องแก้ ให้เชื่อเซ้นส์แรกของตัวเองไว้ มีหลายคนแล้วที่เปลี่ยนคำตอบจากถูกไปเป็นผิด
              - โดยรวมของข้อสอบ น้องๆ ควรจัดการเวลาให้ดี ว่าจะทำกี่นาที ตรวจทานกี่นาที
              - อย่าทำผิดกฎการสอบ เช่น ลอกเพื่อน จดโพย เป็นวิธีที่ไม่ดีมากๆ ถ้าโดนจับได้ขึ้นมาต้องถูกทำโทษหรือถูกตัดคะแนนแน่นอน พี่มิ้นท์ว่าแบบนี้ไม่ได้น่าสงสารเลยนะคะ

               เรื่องที่เอามาฝากกันวันนี้จะถูกใจน้องๆ รึป่าวเอ่ย ถึงพี่มิ้นท์จะมีเทคนิคการเดามาฝาก แต่ก็อยากให้น้องๆ อ่านหนังสือและเอาความรู้มาใช้ให้ได้มากที่สุดดีกว่านะคะ เพราะตอบได้แบบมั่นใจย่อมตอบถูก 100% ส่วนเดาเนี่ย เอาไว้หมดหนทางจริงๆ แล้วดีกว่าโนะ
             
ว่าแต่มีน้องๆ คนไหนที่มีเทคนิคการเดาข้อสอบแบบเจ๋งๆ อีกมั้ย ยกเว้นร้องเพลงแล้วเอานิ้วจิ้มตามเพลงนะ 555555"

เห็นไหมครับ.. การทำข้อสอบ ไม่ยากอย่างที่เข้าใจเล้ย......