เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สภาพแวดล้อมทางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
1. ทำเลที่ตั้ง
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ในบริเวณละติจูดที่ 10 องศาใต้ ถึง ละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 92 องศาตะวันออก ถึง 140 องศาตะวัน ออก เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และติมอร์ตะวันออก
2. ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ( ตะวันตก ) และส่วนที่เป็นเกาะ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย ( ตะวันออก ) และ ติมอร์ตะวันออก
หมายเหตุ ประเทศมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. ลักษณะภูมิประเทศส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ มีเทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาอาระกันโยมา อยู่ทางทิศตะวันตกของพม่า และเทือกเขาเปกุโยมา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาอาระกันโยมา เทือกเขาตะนาวศรีกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า นอกจากนี้ยังมีเทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาแดนลาว และเทือกเขาอันนัมในเวียดนาม
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง
2. ลักษณะภูมิประเทศส่วนที่เป็นเกาะหรือหมู่เกาะ เป็นบริเวณที่มี๓เขาไฟเป็นจำนวนมากทั้งที่ดับแล้วและยังคุกกรุ่นอยู่ โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
เศรษฐกิจ
อาชีพสำคัญของประชากร
1. เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เขตภูเขาไฟ เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุและเป็น ประโยชน์แก่พืช พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เครื่องเทศ ผักผลไม้ เป็นต้น
2. การทำป่าไม้ ในภูมิภาคนี้มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ในบริเวณเขตร้อนชื้น ฝนตกชุก จะเป็นเขตป่าทึบ มีต้นไม้ลำต้นสูงใหญ่ ได้แก่ เขตป่าไม้ ้ภาคใต้ของไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในเขตป่าโปร่งจะมีต้นไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าไม้ในไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ยาง เป็นต้น
3. การเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้แรงงาน ได้แก่ โค กระบือ ช้าง ม้า เป็นต้น สัตว์บางชนิดเลี้ยงไว้ใช้งานและเป็นอาหาร แต่บางชนิดเลี้ยงไว้เป็น อาหารอย่างเดียว เช่น สุกร ไก่ เป็ด แกะ เป็นต้น
4. การประมง แหล่งประมงที่สำคัญได้แก่ บริเวณอ่าวไทย อ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน ประเทศที่ทำการประมงมาก ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย นอกจากนั้น ยังมีการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเลี้ยงในบ่อในนา ได้แก่ การทำนากุ้ง การเลี้ยงหอย และการเลี้ยงปลา
5. การทำเหมืองแร่ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ดีบุก น้ำมัน เหล็ก ทองแดง ทังสเตน เป็นต้น มีมากในมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย สำหรับน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติ พบมากที่เกาะบอร์เนียว ( บรูไน ) ชวา สุมาตรา ในอินโดนีเซีย
6. การทำอุตสาหกรรม จะเป็นการผลิตอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมครัวเรือนมากกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และในปัจจุบันรัฐบาล ประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ ได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น
7. การพาณิชยกรรม สินค้าที่ส่งไปขายยังตลาดโลก จะเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ผลิตผลทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรม และแร่ธาตุต่างๆ สินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล รถยนต์ เครื่องทุนแรงต่างๆ และยารักษาโรค
8. การคมนาคมขนส่ง มีทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของแต่ละภูมิภาค ปัจจุบันมีการสร้างถนนและทางรถไฟเพื่อเชื่อม การคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ การคมนาคมทางอากาศมีสายการบินระดับภูมิภาคและระดับโลกผ่านทุกประเทศ
สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม
1. ลักษณะสำคัญของประชากร ประชากรในภูมิภาคนี้มีหลายเผ่า ได้แก่
- ออสตราลอยด์ มีรูปร่างเตี้ย จมูกกว้าง ศรีษะยาว ผมหยิก เป็นชนพื้นเมืองเดิมในออสเตรเลีย
- เมลานิซอยด์ รูปร่างสันทัด ผิวดำ กะโหลกศรีษะยาวและแคบ ผมหยิกเป็นฝอย อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
- เนกริโต ผิวดำ ผมหยิก ตัวเล็ก เป็นบรรพบุรุษดั้งเดิมของชนเผ่าบางพวกที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เช่น พวกเงาะ เซมัง อาศัยอยยู่ในประเทศ มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย
2. ลักษณะสำคัญทางภาษา ภาษาพูดแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษามาลาโย-โพลีนีเซียน ภาษาออสโทร-เอเซียติก ภาษาทิเบโต-ไชนิส และภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาอาหรับ ภาษาของชาติตะวันตก เป็นต้น
3. ศาสนาที่สำคัญ
- ศาสนาพุทธ นับถือมากใน ประเทศไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา
- ศาสนาอิสลาม นับถือมากในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน
- ศาสนาคริสต์ นับถือมากในประเทศฟิลิปปินส์
สำหรับประเทศ สิงคโปร์ และติมอร์ตะวันออก จะมีความหลากหลายในการนับถือศาสนา
สภาพแวดล้อมทางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
1. ทำเลที่ตั้ง
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ในบริเวณละติจูดที่ 10 องศาใต้ ถึง ละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 92 องศาตะวันออก ถึง 140 องศาตะวัน ออก เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และติมอร์ตะวันออก
2. ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยดินแดน 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ( ตะวันตก ) และส่วนที่เป็นเกาะ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน มาเลเซีย ( ตะวันออก ) และ ติมอร์ตะวันออก
หมายเหตุ ประเทศมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. ลักษณะภูมิประเทศส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ มีเทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาอาระกันโยมา อยู่ทางทิศตะวันตกของพม่า และเทือกเขาเปกุโยมา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาอาระกันโยมา เทือกเขาตะนาวศรีกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า นอกจากนี้ยังมีเทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาแดนลาว และเทือกเขาอันนัมในเวียดนาม
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง
2. ลักษณะภูมิประเทศส่วนที่เป็นเกาะหรือหมู่เกาะ เป็นบริเวณที่มี๓เขาไฟเป็นจำนวนมากทั้งที่ดับแล้วและยังคุกกรุ่นอยู่ โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
เศรษฐกิจ
อาชีพสำคัญของประชากร
1. เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ เขตภูเขาไฟ เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุและเป็น ประโยชน์แก่พืช พืชที่ปลูกได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว เครื่องเทศ ผักผลไม้ เป็นต้น
2. การทำป่าไม้ ในภูมิภาคนี้มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ในบริเวณเขตร้อนชื้น ฝนตกชุก จะเป็นเขตป่าทึบ มีต้นไม้ลำต้นสูงใหญ่ ได้แก่ เขตป่าไม้ ้ภาคใต้ของไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในเขตป่าโปร่งจะมีต้นไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าไม้ในไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และพม่า ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ยาง เป็นต้น
3. การเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยงไว้ใช้แรงงาน ได้แก่ โค กระบือ ช้าง ม้า เป็นต้น สัตว์บางชนิดเลี้ยงไว้ใช้งานและเป็นอาหาร แต่บางชนิดเลี้ยงไว้เป็น อาหารอย่างเดียว เช่น สุกร ไก่ เป็ด แกะ เป็นต้น
4. การประมง แหล่งประมงที่สำคัญได้แก่ บริเวณอ่าวไทย อ่าวเบงกอล ทะเลอันดามัน ประเทศที่ทำการประมงมาก ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย นอกจากนั้น ยังมีการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อเลี้ยงในบ่อในนา ได้แก่ การทำนากุ้ง การเลี้ยงหอย และการเลี้ยงปลา
5. การทำเหมืองแร่ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ดีบุก น้ำมัน เหล็ก ทองแดง ทังสเตน เป็นต้น มีมากในมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย สำหรับน้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติ พบมากที่เกาะบอร์เนียว ( บรูไน ) ชวา สุมาตรา ในอินโดนีเซีย
6. การทำอุตสาหกรรม จะเป็นการผลิตอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมครัวเรือนมากกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และในปัจจุบันรัฐบาล ประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ ได้ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากขึ้น
7. การพาณิชยกรรม สินค้าที่ส่งไปขายยังตลาดโลก จะเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ผลิตผลทางการเกษตร สินค้าหัตถกรรม และแร่ธาตุต่างๆ สินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล รถยนต์ เครื่องทุนแรงต่างๆ และยารักษาโรค
8. การคมนาคมขนส่ง มีทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของแต่ละภูมิภาค ปัจจุบันมีการสร้างถนนและทางรถไฟเพื่อเชื่อม การคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ การคมนาคมทางอากาศมีสายการบินระดับภูมิภาคและระดับโลกผ่านทุกประเทศ
สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม
1. ลักษณะสำคัญของประชากร ประชากรในภูมิภาคนี้มีหลายเผ่า ได้แก่
- ออสตราลอยด์ มีรูปร่างเตี้ย จมูกกว้าง ศรีษะยาว ผมหยิก เป็นชนพื้นเมืองเดิมในออสเตรเลีย
- เมลานิซอยด์ รูปร่างสันทัด ผิวดำ กะโหลกศรีษะยาวและแคบ ผมหยิกเป็นฝอย อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
- เนกริโต ผิวดำ ผมหยิก ตัวเล็ก เป็นบรรพบุรุษดั้งเดิมของชนเผ่าบางพวกที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เช่น พวกเงาะ เซมัง อาศัยอยยู่ในประเทศ มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย
2. ลักษณะสำคัญทางภาษา ภาษาพูดแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษามาลาโย-โพลีนีเซียน ภาษาออสโทร-เอเซียติก ภาษาทิเบโต-ไชนิส และภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาอาหรับ ภาษาของชาติตะวันตก เป็นต้น
3. ศาสนาที่สำคัญ
- ศาสนาพุทธ นับถือมากใน ประเทศไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา
- ศาสนาอิสลาม นับถือมากในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน
- ศาสนาคริสต์ นับถือมากในประเทศฟิลิปปินส์
สำหรับประเทศ สิงคโปร์ และติมอร์ตะวันออก จะมีความหลากหลายในการนับถือศาสนา
ประชากรและคุณภาพชีวิต
ประชากรเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการมีจำนวนประชากรและการกระจายตัวของประชากรที่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับทรัพยากร ธรรมชาติรวมทั้งการมีประชากรที่มีคุณภาพจึงเป็นความปรารถนาสูงสุดของทุกประเทศ ส่วนประเทศไทยมีลักษณะของประชากรและคุณภาพของประชากรดังนี้
1. จำนวนประชากร ประชากร หมายถึง ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศโดยมีสัญชาติของประเทศนั้นอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ตลอดจนบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับ อนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศนั้น ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 62 ล้านคน จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีประชากร น้อยที่สุด คือ ระนอง
2. แนวโน้มจำนวนประชากรในประเทศไทย ประเทศไทยเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2490 - 2504 ประชากรมีอัตราเพิ่มขึ้นโดยประมาณเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 3.2 แต่หลังจากรัฐบาลรณรงค์ในเรื่องการวางแผนครอบครัวอย่างจริงจัง ใน พ.ศ. 2538 ประชากรได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.6
3. องค์ประกอบของประชากร ลักษณะประชากรจำแนกเป็น องค์ประกอบย่อย ๆ คือ
- อายุ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ วัยเด็ก ( 1 - 14 ) วัยทำงาน ( 15 - 65 ) และวัยชรา ( 65 ปีขึ้นไป ) เดิมสัดส่วนอายุประชากรเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คือ มีวัยเด็กเป็นฐานกว้างแล้วเรียวเล็กขึ้นไปสู่ยอด ซึ่งเป็นวัยทำงานและวัยชรา แต่ปัจจุบันประชากรในวัยทำงานมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยภาระพึ่งพิง จึงทำให้สัดส่วนประชากรไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ถ้าสัดส่วนของประชากรวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าวัยอื่น ๆ ย่อมได้เปรียบในเชิงเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมมากกว่าประเทศหรือสังคมที่มีประชากรในวัยภาระเลี้ยงดูจำนวน มาก ๆ
- เพศ สัดส่วนของเพศของประชากรชายหญิงของไทยไม่แตกต่างกันมากนัก คือมี จำนวนพอ ๆ กัน โดยมีเพศหญิงมากกว่าเล็กน้อย
- เชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย ( 90 % ) มีเชื้อชาติอื่นบ้างเล็กน้อย เช่น จีน หรือพวกชาวเขา
- ศาสนา ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 95 นับถือพระพุทธศาสนา รองลงมาคือ ศาสนาอิสลามร้อยละ 4 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.5ประเทศไทยไม่เคยมี ปัญหา ความแตกแยกของประชากรอันเนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องศาสนา
- ภาษา ประชากรไทยส่วนใหญ่พูดภาษาเดียวกัน คือ ภาษาไทย แต่ถ้าอยู่ในท้องถิ่นของตนเองภาษาอาจจะพื้นไปบ้าง เช่น ภาษาถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ เป็นต้น ภาษาพื้นเมืองที่แตกต่างไปจากภาษาไทยที่สำคัญ ได้แก่ ภาษามาเลย์หรือยาวี
ประชากรเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการมีจำนวนประชากรและการกระจายตัวของประชากรที่ได้สัดส่วนเหมาะสมกับทรัพยากร ธรรมชาติรวมทั้งการมีประชากรที่มีคุณภาพจึงเป็นความปรารถนาสูงสุดของทุกประเทศ ส่วนประเทศไทยมีลักษณะของประชากรและคุณภาพของประชากรดังนี้
1. จำนวนประชากร ประชากร หมายถึง ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศโดยมีสัญชาติของประเทศนั้นอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ตลอดจนบุคคลต่างด้าวซึ่งได้รับ อนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศนั้น ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรประมาณ 62 ล้านคน จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีประชากร น้อยที่สุด คือ ระนอง
2. แนวโน้มจำนวนประชากรในประเทศไทย ประเทศไทยเคยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2490 - 2504 ประชากรมีอัตราเพิ่มขึ้นโดยประมาณเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 3.2 แต่หลังจากรัฐบาลรณรงค์ในเรื่องการวางแผนครอบครัวอย่างจริงจัง ใน พ.ศ. 2538 ประชากรได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.6
3. องค์ประกอบของประชากร ลักษณะประชากรจำแนกเป็น องค์ประกอบย่อย ๆ คือ
- อายุ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ วัยเด็ก ( 1 - 14 ) วัยทำงาน ( 15 - 65 ) และวัยชรา ( 65 ปีขึ้นไป ) เดิมสัดส่วนอายุประชากรเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว คือ มีวัยเด็กเป็นฐานกว้างแล้วเรียวเล็กขึ้นไปสู่ยอด ซึ่งเป็นวัยทำงานและวัยชรา แต่ปัจจุบันประชากรในวัยทำงานมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยภาระพึ่งพิง จึงทำให้สัดส่วนประชากรไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ถ้าสัดส่วนของประชากรวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าวัยอื่น ๆ ย่อมได้เปรียบในเชิงเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมมากกว่าประเทศหรือสังคมที่มีประชากรในวัยภาระเลี้ยงดูจำนวน มาก ๆ
- เพศ สัดส่วนของเพศของประชากรชายหญิงของไทยไม่แตกต่างกันมากนัก คือมี จำนวนพอ ๆ กัน โดยมีเพศหญิงมากกว่าเล็กน้อย
- เชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย ( 90 % ) มีเชื้อชาติอื่นบ้างเล็กน้อย เช่น จีน หรือพวกชาวเขา
- ศาสนา ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 95 นับถือพระพุทธศาสนา รองลงมาคือ ศาสนาอิสลามร้อยละ 4 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.5ประเทศไทยไม่เคยมี ปัญหา ความแตกแยกของประชากรอันเนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องศาสนา
- ภาษา ประชากรไทยส่วนใหญ่พูดภาษาเดียวกัน คือ ภาษาไทย แต่ถ้าอยู่ในท้องถิ่นของตนเองภาษาอาจจะพื้นไปบ้าง เช่น ภาษาถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ เป็นต้น ภาษาพื้นเมืองที่แตกต่างไปจากภาษาไทยที่สำคัญ ได้แก่ ภาษามาเลย์หรือยาวี