ความเป็นมาของแผนที่ประเทศไทย
ประวัติการ ทำแผนที่ของประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คนไทยนิยมทำแผนที่ที่เรียกว่า ลายแทง หมายถึงแผนที่ที่นำไปสู่แหล่งมหาสมบัติ แต่แผนที่ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของความลับมีเก็บไว้เฉพาะตัว ไม่แพร่หลายเหมือนแผนที่ทั่วไปแผนที่ของไทย มีปรากฏอยู่ในแผนที่โลกของ ปโตเลมี ( ptolamy )เป็นนักปราชญ์ชาวกรีซที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง มีชีวิตอยู่ประมาณ ค.ศ 90 – 168 ได้รวบรวมความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ไว้ 8 เล่ม ชื่อ geographiaแผนที่ประเทศไทยนับว่าเก่าแก่ที่สุด คือ แผนที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 – 1912 เริ่มจริงจังเมื่อรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือใน พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ นายเฮนรี่ อาสาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ และในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลไทยได้จ้างชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ โดยมีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมเพื่อโยงหลักฐานทางราบจากอินเดียผ่านพม่าเข้า สู่ไทยทางจังหวัดกาญจนบุรี ถึงกรุงเทพ ฯ และโยงต่อไปยังลาว เขมรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประสบปัญหาในเรื่องการขาดแคลนแผนที่ภูมิประเทศที่ใช้ในกิจการทหาร และการวางแผนป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือ โดย ส่งหน่วยงานทำแผนที่ มาทำการสำรวจและถ่ายภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ ขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 ทั่วประเทศ ซึ่งต่อมากรมแผนที่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น