25 เมษายน 2554
สึนามิ
สึนามิ ที่เกิดขึ้นในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา เป็นภัยจากธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของมนุษยชาติ ในภูมิภาคที่ไม่มีใครที่มีชิวิตอยู่ยังจะจำความได้ถึงว่า สึนามิ ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จนเราต่างพากันเชื่ออย่างไม่ถูกต้องว่า ประเทศไทยของเราตั้งอยู่ในทำเลที่ปลอดจากภัยธรรมชาติ จึงควรที่เราจะหันมาทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัวเราเพื่อมีการเตรียมรับที่ เหมาะสมในอนาคต
อ้างอิง
1. Preliminary Result of the 04/12/26 (Mw 9.0) , OFF W COAST of Northern Sumatra Earthquake
2. Preliminary Earthquake Report USGS
3. Quake Struck in Hot, Sleepy Geological Zone, LA Times
4. Massive Shift , LA Times
5. A Rare Tsunami, and a Change in Geography , LA Times
ที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/268
กราฟฟิคโดย Thomas Suh-Lauder, Brady McDonald, และ Julie Sheer แห่ง นสพ LA Times ด้วยข้อมูลจาก USGS, ESRI, AP, AFP, Scripps Ins. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีส่วนทำให้ สึนามิ ครั้งนี้ ร้ายแรงมาก มาจากการที่คลื่นเดินทางผ่านทะเลลึกไปในทางทิศตะวันตก โดยแทบจะไม่มีอะไรมาขวางกั้น จากคุณสมบัติทางกายภาพของ สึนามิ (ดูเรื่อง การเกิด สึนามิ ) ที่สูญเสียพลังงานได้น้อยมากๆ เมื่อเดินทางผ่านท้องทะเลลึก แต่กลับมีโมเมนตัมเพิ่มเมื่อเดินทางไปนานเข้าโดยไม่เสียพลังงาน เมื่อเข้าถึงฝั่งแรก คือ ศรีลังกา และแคว้นมัทราส ในอินเดีย ก็ปะทะเข้าฝั่งด้วยพลังงานมหึมา ในทิศตรงข้าม คลื่นสึนามิ ส่วนที่เดินทางมายังทิศตะวันออกมายังพม่าและไทยนั้น ต้องผ่านหมู่เกาะน้อยใหญ่ในทะเลอันดามัน ที่ช่วยดูดซับพลังงานส่วนหนึ่งไปได้ คลื่นแรกที่มาถึงจึงไม่ได้มีพลังงานมากเท่าไร มีรายงานจากผู้รอดชีวิตว่า คลื่นแรกที่เข้าถึงฝั่ง สูงไม่ถึง ๑ ฟุต สามสี่ลูกหลังๆ จึงจะมีความรุนแรงมาก Joseph Curray นักสมุทรศาสตร์ แห่ง สถาบันสมุทรศาสตร์สคริปส์ ในเมือง ลาฮอญ่า ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สันนิษฐานว่า คลื่นรุนแรงที่ท่วมพม่า และไทยนั้น เป็นผลมาจาก aftershock หรือแผ่นดินไหวจากแรงสะท้อนของการไหวครั้งแรกมากกว่า หรือไม่ก็เกิดจากการที่เปลือกโลกแผ่นพม่าถูกหนุนขึ้นในทางเหนือจากจุดศูนย์ กลางแผ่นดินไหวออกไป |
กราฟฟิคโดย Cheryl Brownstein-Santiago แห่ง นสพ LA Times โดยข้อมูลจาก USGS และ NOAA นักธรณีวิทยารายงานผลการวิเคราะห์เบื้องต้นว่า ผลจากการที่แผ่นเปลือกโลกอินเดียชนแล้วแทรกตัวดันแผ่นพม่าขึ้นในทิศทางการชน ที่เฉียงทแยงขึ้นนั้น ทำให้ผืนโลกใต้ทะเลนอกฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา ยืดตัวออกไปถึง ร่วม ๒๐ เมตร และแผ่นพม่ายังดันตัวให้สูงขึ้นอีกร่วม ๒ เมตร ตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวในวันที่ ๒๖ ธค ที่ผ่านมานี่ สร้างความแปลกใจให้กับนักธรณีวิทยาเป็นอันมาก เนื่องจากมันเกิดขึ้นในที่ที่แผ่นเปลือกโลกสงบมาเป็นเวลากว่าศตวรรษแล้ว ภูมิภาคแถบนี้ เคยมีแผ่นดินไหวที่คล้ายๆกันเกิดขึ้น เมื่อปี ค.ศ. ๑๗๙๗ และ ค.ศ. ๑๘๘๓(จากภูเขาไฟคระคะตัวระเบิด) ตามลำดับ ภูมิภาคแถบนี้ เป็นที่มี่มีแผ่นเปลือกโลกใหญ่ๆ ๒ แผ่นมาปะทะกัน แต่หลังจาการระเบิดของภูเขาไฟคระคะตัวเป็นต้นมา ก็สงบมาตลอด "พวกเราเคยคิดจะไปสำรวจพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพทางธรณีวิทยาของดินแดนแถบนั้น แต่มันเข้าถึงยากมาก เลยยังไม่ได้ไปสักที" Kerry Sieh นักวิจัยแห่งสถาบันเทคโนโลยี แคลิฟอร์เนียกล่าว ดร.เซียะ เป็นนักธรณีวิทยาระดับแนวหน้าคนหนึ่งในจำนวนไม่กี่คน ที่ศึกษาธรณีวิทยาของภูมิภาคนี้ |
ข้อมูลแผนที่โดย USGS ดาวเหลืองคือจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว พื้นทะเลใต้มหาสมุทรอินเดียนั้น มีเขตที่เรียกว่า Subduction zone ซึ่งเป็นแนวต่อของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นมาชนกัน ในลักษณะที่ แผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง เมื่อแผ่นหินแข็งๆสองแผ่นหนุนปะทะเข้าชนกันอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ในอัตราที่ช้ามากๆ คือไม่กี่เซ็นติเมตรต่อปี ความแข็งของแผ่นเปลือกโลกทำให้ส่วนที่ยันกัน เกิดแรงตึงเครียดมาก แต่ค่าความเสียดทานของแผ่นเปลือกโลกเป็นตัวยันไว้ จนในที่สุด เมื่อแรงปะทะมีมากกว่าแรงเสียดทาน แผ่นเปลือกโลกขนาดมหาศาลที่รองรับทวีปทั้งทวีป ก็ยังทานไม่ไหว ต้องดีดสปริงตัวเพื่อคลายแรงปะทะที่สั่งสมมานานเป็นสิบๆปีนั้น เกิดการปลดปล่อยพลังงานจำนวนมหาศาลจนพสุธาสะเทือนไปทั้งโลก จากข้อมูลของกรมธรณีวิทยาสหรัฐ และองค์การ NOAA แสดงว่า แผ่นอินเดียที่ถูกดันให้มุดเข้าใต้แผ่นพม่านั้น ทำให้แผ่นพม่าดีดตัวขึ้นมาคร่อมแผ่นอินเดีย เคลื่อนไปทางทิศตะวันตกถึง ๖๐ ฟิต และแผ่นพม่าซึ่งถูกเบียดขึ้นมาคร่อมแผ่นอินเดีย จนขอบของแผ่นพม่าตามแนว Sunda Trench นั้น ไต่ขึ้นสูงกว่าเดิมถึง ๓ ฟิต พาเอาหมู่เกาะนิโคบาร์ และอันดามัน ที่อยู่ขอบแผ่นพม่า เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมตามไปด้วย ประมาณว่า หมู่เกาะทั้งสอง เคลื่อนออกห่างจากแนวฝั่งไป ๖๐ ฟิต "แต่ความที่เราไม่มีสถานี GPS ติดตั้งเพื่อติดตามตำแหน่งของเปลือกโลกตอนนั้น เลยไม่มีข้อมูลให้บอกได้แน่นอนว่า มันเคลื่อนออกไปเท่าไหร่กันแน่ครับ" ดร.เซียะเสริม และเมื่อขอบแผ่นยืดออกไปอย่างนั้น ส่วนในเข้ามาก็ถูกยืดตามแล้วยุบลงไปด้วย ที่จังหวัด Aceh บนตอนเหนือของเกาะสุมาตราซึ่งมีผู้คนล้มตายนับหมื่นนั้น "ที่ฝั่งตะวันตกของเกาะ ระดับพื้นดินก็ทรุดต่ำลงไปราวๆเมตรสองเมตรได้" ดรเซียะกล่าว ยังมีของแถมอีกคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดหนักอย่างนี้ มันจะมีส่วนกระทบให้เปลี่ยนแปลงอัตราการหมุนตัวของโลก ตลอดจนถึงการไหวของแกนโลกอีกด้วย "คำถามก็คือว่า มันเปลี่ยนไปเท่าไหร่ แล้วเราจะวัดมันได้หรือเปล่าเท่านั้นแหละครับ" ดร. Hiroo Kanamori นักธรณีแผ่นดินไหวแห่ง Caltech กล่าวเสริมอีกว่า แผ่นดินไหวขนาดใหญ่นั้น "สามารถเคลื่อนมวลมหาศาล จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แล้วน้ำทะเลก็ยังถูกผลักไปไม่น้อยด้วย มันจึงมีผลต่อการหมุนตัวของโลก แต่จะเป็นค่าน้อยมาก" |
ภาพแบบจำลองคณิตศาสตร์โดย Caltech Seismological Lab., Pasadena, CA ผลการคำนวณสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเต้อร์ โดย Chen Ji แห่ง Caltech ด้วยข้อมูลจาก Dr. Lisa Gahagan จากโครงการ Paleo-Oceanographic Mapping Project แห่ง University of Texas at Austin โดยคำนวณการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ที่เป็นไปในเวลา ๒๒๐ วินาทีหลังจากการเกิดแผ่นดินไหว มีข้อสังเกตว่า เนื่องจากมี aftershock ที่รุนแรงเกิดตามขึ้นมาเรื่อยๆ คงจะทำให้สภาพเปลือกโลกไม่เหมือนกับแบบจำลองนี้ไปแล้ว อย่างไรก็ดี แบบจำลองเสนอให้เห็นถึงความรุนแรงของแผ่นดินไหวครั้งแรกเป็นอย่างดี เส้นสีแดงคือแนวร่อง (trench) ตรงที่แผ่นอินเดียมุดลงใต้แผ่นพม่า เส้นดำคือแนวขอบของแผ่นทั้งสองที่มาปะทะกัน แบบจำลองคำนวณแค่ส่วนที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมสีขาวเท่านั้น สีต่างๆแสดงค่าความสูงของเปลือกโลกที่ถูกยันขึ้นจากตำแหน่งเดิม สีถัดไปจะมีค่าความสูงต่างกัน ๕๐ ซม ส่วนที่สูงที่สุดคือสีแดง สูงขึ้น ๒๐๐๐ ซม(๒๐ เมตร) สีเขียว สูงขึ้น ๑๐๐๐ ซม |
ภาพแบบจำลอง โดย Caltech เช่นกัน แบบจำลองอีกชุดที่แยกการเคลื่อนไหวในแนวดิ่งล้วนๆ ตามภาพส่วนสีแดงจะถูกหนุนให้สูงขึ้นจากเดิม ๕ เมตร ระดับเดิมสีฟ้าเดียวกับน้ำทะเล สีน้ำเงินเข้มคือส่วนที่ยุบลงไป ๒ เมตร ตรงรูปดาวสีดำ คือศูนย์กลางแผ่นดินไหว จะเห็นได้ว่า ตรงขอบแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล แผ่นพม่าถูกหนุนขึ้นมา ๕ เมตร พื้นทะเลด้านตะวันตกของเกาะสุมาตรา ยุบลงไปถึง ๒ เมตร ตรงชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะ จะยุบลง ๑ เมตร ซึ่งก็ตรงกับภาพถ่ายและวีดีโอข่าวจากเมือง Aceh ที่ชาวบ้านเดินลุยน้ำครึ่งตัว แสดงว่า เมืองทั้งเมืองก็ทรุดลงไปราวๆ ๑ เมตรด้วย |
ภาพแบบจำลอง โดย Caltech เช่นกัน แบบจำลองแสดงการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในแนวราบ ผลงานของ Chen Ji แห่ง Caltech เช่นกัน ตรงจุดเดียวกับที่ขอบแผ่นพม่าถูกหนุนให้สูงขึ้น ๒ เมตรในผังข้างบน ก็ถูกเคลื่อนไปกว่า ๑๑ เมตร(ค่าสูงสุดของแบบจำลองนี้)ด้วย นักวิทยาศาสตร์ อาศัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ แต่ป้อนข้อมูลจากของจริง แล้วเปรียบเทียบกับข้อมูลต่างๆหลายทาง เพื่อให้ความคลาดเคลื่อนมีน้อยที่สุด เป็นวิธีศึกษาทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ภาพวาดกราฟฟิคภาพที่สองจากข้างบน ตั้งอยู่บนพื้นฐานงานวิเคราะห์เหล่านี้ |
หน้าที่ 2 - ประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ภาพโดย กรมธรณีวิทยา สหรัฐ The Ring of Fire แถบที่มีการเกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด ส่วนสีชมพูในภาพ ต่อกันเหมือนวงแหวนคร่าวๆ ส่วนที่เป็นแนวร่อง (trench) คือเส้นสีฟ้า อันเป็นเขตที่เป็น Subduction Zone คือแนวที่เปลือกโลกแผ่นหนึ่งชนกับอีกแผ่นหนึ่ง แล้วแผ่นหนึ่งจะมุดลงเข้าไปชั้นในเปลือกโลก อีกแผ่นหนึ่งจะถูกดันขึ้นคร่อมแผ่นแรก บริเวณ Trench เหล่านี้ คือบริเวณที่จะมีแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดเกิดที่ ใกล้ trench ในประเทศชิลีเมื่อวันที่ ๒๒ พค ค.ศ. ๑๙๖๐ วัดได้ถึง ๙.๕ สังเกตได้ว่า ตามแนว trench เหล่านี้ จะมีแนวหมู่เกาะเรียงรายไปข้างๆทุกแห่ง เช่น หมู่เกาะญี่ปุ่น ถัดจาก Japan Trench, หมู่เกาะอลูเชี่ยน ถัดจาก Aleucian Trench, หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ถัดจาก Philippine Trench เป็นต้น เพราะการชนกันของแผ่นเปลือกโลกนี้ก่อให้เกิดการปะทุเป็นภูเขาไฟขึ้นมาในแผ่น ที่ถูกดันให้ขึ้นคร่อมอีกแผ่น นานไปภูเขาไฟดับไปหรือไม่ค่อยแอคทีฟแล้ว ก็กลายเป็นหมู่เกาะถัดจาก trench ดังกล่าว |
กราฟฟิคโดย ทีมงาน LA Times ด้วยข้อมูลจาก USGS ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีแนวหมู่เกาะเรียงรายเหนือ Java หรือ Sunda Trench ก็นับว่าเป็นเขตที่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยมากแห่งหนึ่งในโลก |
กราฟฟิคจาก LA Times เมื่อเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงเช่นนี้ มันก็ไปทำลายความสุมดุลย์ของจุดเครียดอื่นๆตามแนวร่องริมขอบเปลือกโลกเดียว กัน ก่อให้เกิด aftershock คือ แผ่นดินไหวทุติยภูมิ ตามมา ในเวลาเพียงวันเดียว ก็มี aftershock ที่มีขนาดใหญ่กว่า ๖ ขึ้นไปถึง ๑๒ ครั้ง แผ่นดินไหวครั้งนี้ จะส่งแรงสะท้อนกลับไปกลับมาภายในโลกอีกนาน นักธรณีฟิสิกส์ก็ยังได้ผลประโยชน์จากแผ่นดินไหวครั้งนี้ เพราะเราสามารถวิเคราะห์อะไรได้จากเสียงสะท้องแผ่นดินไหว มาเข้าใจส่วนประกอบภายในโลกได้มาก เพราะแรงสะเทือนหนักๆที่ส่งเสียงดังฟังชัดได้ขนาดนี้ มนุษย์เราไม่สามารถสร้างได้ ต้องรอธรรมชาติทำให้เกิดขึ้นมา แล้วเราถึงจะไปศึกษาทำความเข้าใจมันอีกที |
สถิติความเสียหายจาก สึนามิ และอันดับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุด จาก LA Times |
๑๐ อันดับภัยร้ายแรงที่สุดจากแผ่นดินไหวและ สึนามิ ในรอบ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา |
หน้าที่ 3 - ภาพจากดาวเทียม แสดงอิทธิพลทางธรณีวิทยาของ สึนามิ
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ตามที่ กรมธรณีวิทยาสหรัฐ และห้องปฏิบัติการศึกษาแผ่นดินไหว แห่งสถาบันเทคโนโลยิ แคลิฟอร์เนีย ได้วิเคราะห์ดังที่ได้กล่าวไว้ในหน้าที่แล้วว่า ผลจากการเกิดแผ่นดินไหวในวันที่ ๒๖ ธันวาคม คศ. ๒๐๐๔ มีผลทำให้พื้นที่ชายฝั่งเมือง Banda Aceh ซึ่งตั้งอยู่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ สุมาตรา ว่ายุบลงไปประมาญ ๑ เมตรนั้น ดาวเทียม IKONOS ได้ถ่ายภาพก่อนและหลังเกิด สึนามิ เปรียบเทียบกันดังภาพ ส่วนบน เป็นภาพถ่ายก่อนเกิด สึนามิ ๓ วัน ภาพล่าง ถ่ายหลัง สึนามิ ๒ วัน ภาพหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ส่วนที่เป็นสีคล้ำ เป็นส่วนที่ถูกน้ำท่วม สีขาวคือหาดทรายและตัวตึกสิ่งก่อนสร้างที่มีผิวเรียบต่างๆ จะเห็นได้ว่า ส่วนที่เคยเป็นตึกรามไร่นาใกล้ฝั่ง ถูกน้ำท่วมจมอยู่ใต้น้ำหมด เหลือแต่สะพานและถนนกลางเกาะและบริเวณใกล้เคียงที่อยู่ในที่สูงกว่าเท่านั้น ที่ไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำ |
ภาพชายฝั่งศรีลังกาเมือง Kalutara ก่อน สึนามิ |
ภาพชายฝั่งศรีลังกา เมือง Kalutara ที่เดียวกัน หลังถูก สึนามิ กระหน่ำได้ไม่นาน |
อนิเมชั่นของ สึนามิ โดย NOAA |
อ้างอิง
1. Preliminary Result of the 04/12/26 (Mw 9.0) , OFF W COAST of Northern Sumatra Earthquake
2. Preliminary Earthquake Report USGS
3. Quake Struck in Hot, Sleepy Geological Zone, LA Times
4. Massive Shift , LA Times
5. A Rare Tsunami, and a Change in Geography , LA Times
ที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/268
สึนามิ คืออะไร
สึนามิ เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า Harbour Wave คำแรก สึ แปลว่า harbour คำที่สอง นามิ แปลว่า คลื่น ปัจจุบันใช้เป็นคำเรียก กลุ่มคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากๆขนาดหลายร้อยไมล์ นับจากยอดคลื่นที่ไล่ตามกันไป เกิดขึ้นจากการที่น้ำทะเลในปริมาตรเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ถูกผลักดันให้เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ด้วยเหตุมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกส่วนที่อยู่ใต้ทะเลลึก บางครั้งก็เรียกว่า seismic wave เพราะส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนไหวดังกล่าว เรามักจะสับสนกับคำว่า สึนามิ กับ tidal wave ซึ่งเกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง แต่ สึนามิ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับการขึ้นลงของน้ำเลย
สึนามิ ส่วนใหญ่ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลอย่างฉับพลัน อาจจะเป็นการเกิดแผ่นดินถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง ทำให้มีน้ำทะเลปริมาตรมหาศาลถูกดันขึ้นหรือทรุดตัวลงอย่างฉับพลัน พลังงานจำนวนมหาศาลก็ถ่ายเทไปให้เกิดการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลเป็น คลื่นสึนามิ ที่เหนือทะเลลึก จะดูไม่ต่างไปจากคลื่นทั่วๆไปเลย จึงไม่สามารถสังเกตได้ด้วยวิธีปกติ แม้แต่คนบนเรือเหนือทะเลลึกที่ คลื่นสึนามิ เคลื่อนผ่านใต้ท้องเรือไป ก็จะไม่รู้สึกอะไร เพราะเหนือทะเลลึก คลื่นนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลปกติเพียงไม่กี่ฟุตเท่านั้น จึงไม่สามารถแม้แต่จะบอกได้ด้วยภาพถ่ายจากเครื่องบิน หรือยานอวกาศ
นอกจากนี้แล้ว สึนามิ ยังเกิดได้จากการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเล หรือใกล้ฝั่งที่ทำให้มวลของดินและหิน ไปเคลื่อนย้ายแทนที่มวลน้ำทะเล หรือภูเขาไฟระเบิดใกล้ทะเล ส่งผลให้เกิดการโยนสาดดินหินลงน้ำ จนเกิดเป็นคลื่น สึนามิ ได้ ดังเช่น การระเบิดของภูเขาไฟ คระคะตัว ในปี ค.ศ. ๑๘๘๓ ซึ่งส่งคลื่น สึนามิ ออกไปทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในเอเชีย มีจำนวนผู้ตายถึงประมาณ ๓๖,๐๐๐ ชีวิต
นอกเหนือไปจากนั้น ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ไม่สูงมากนัก คือการที่เกิดอุกกาบาตตกใส่โลก ดังเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ ๖๕ ล้านปีมาแล้ว ทำลายล้างชีวิตบนโลกเป็นส่วนใหญ่ สรุปแล้วก็คือ สึนามิ จะเกิดขึ้นเมื่อ น้ำทะเลในปริมาตรมหาศาล ถูกผลักดันให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมในแนวดิ่ง อย่างฉับพลันกระทันหันชั่วพริบตา ด้วยพลังงานมหาศาล น้ำทะเลก็จะกระจายตัวออกเป็นคลื่น สึนามิ ที่เมื่อไปถึงฝั่งใด ความพินาศสูญเสียก็จะตามมาอย่างตั้งตัวไม่ติด
ภาพโดย ศจ. Stephen A. Nelson ลักษณะทางกายภาพของคลื่นสึนามิ l ความยาวคลื่น คือระยะห่างจากยอดคลื่นหนึ่งไปยังยอดคลื่นถัดไป P คือคาบเวลาระหว่างยอดคลื่นหนึ่งเดินทางมาถึงที่ที่ยอดคลื่นก่อนหน้าเพิ่งผ่านไป Amplitude ของคลื่น คือความสูงของยอดคลื่นนับจากระดับน้ำทะเล ความเร็วของคลื่น (velocity - V) คลื่นทะเลทั่วๆไปมีความเร็วประมาณ ๙๐ กม./ชั่วโมง แต่ คลื่น สึนามิ อาจจะมีความเร็วได้ถึง ๙๕๐ กม./ชั่วโมง ซึ่งก็พอๆกับความเร็วของเครื่องบินพาณิชย์ทีเดียว โดยจะขึ้นอยู่กับความลึกที่เกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเล ถ้าแผ่นดินไหวยิ่งเกิดที่ก้นทะเลลึกเท่าไหร่ ความเร็วของ สึนามิ ก็จะสูงขึ้นมากเท่านั้น เพราะปริมาตรน้ำที่ถูกเคลื่อนออกจากที่เดิม จะมีมากขึ้นไปตามความลึก คลื่น สึนามิ จึงสามารถเคลื่อนที่ผ่านท้องทะเลอันกว้างใหญ่ได้ภายในเวลาไม่นาน |
ภาพโดย ศจ. Stephen A. Nelson คลื่น สึนามิ ต่างจากคลื่นทะเลทั่วๆไป คลื่นทะเลทั่วไปเกิดจากลมพัดผลักดันน้ำส่วนที่อยู่ติดผิว จะมีคาบการเดินทางเพียง ๒๐-๓๐ วินาทีจากยอดคลื่นหนึ่งไปยังอีกยอดหนึ่ง และระยะห่างระหว่างยอดคลื่น หรือความยาวคลื่น มีเพียง ๑๐๐-๒๐๐ เมตร แต่คลื่น สึนามิ มีคาบตั้งแต่ สิบนาทีไปจนถึงสองชั่วโมง และ ความยาวคลื่นมากกว่า ๕๐๐ กิโลเมตรขึ้นไป คลื่น สึนามิ ถูกจัดว่า เป็นคลื่นน้ำตื้น คลื่นที่ถูกจัดว่าเป็น คลื่นน้ำตื้น คือ คลื่นที่ ค่าอัตราส่วนระหว่าง ความลึกของน้ำ และ ความยาวคลื่น ต่ำมาก อัตราการสูญเสียพลังงานของคลื่น จะผกผันกับความยาวคลื่น(ระยะห่างระหว่างยอดคลื่น)ยกกำลังสอง เนื่องจาก สึนามี มีความยาวคลื่นมากๆ ยิ่งยกกำลังสองเข้าไปอีก จึงสูญเสียพลังงานไปน้อยมากๆในขณะที่มันเคลื่อนตัวผ่านผืนสมุทร และเนื่องจาก สึนามิ เป็น คลื่นน้ำตื้น จะมีความเร็วเท่ากับ V = ึg * d g คืออัตราเร่งของแรงโน้มถ่วงโลก ซึ่งมีค่า 9.8 เมตร/วินาที2 และ d คือความลึกของพื้นทะเล สมมติว่า แผ่นดินไหวเกิดที่ท้องทะเลลึก ๖,๑๐๐ เมตร สึนามิจะเดินทางด้วยความเร็วประมาณ ๘๘๐ กม./ชม. จะสามารถเดินทางข้ามฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคด้วยเวลาน้อยกว่า ๒๔ ชั่วโมงเสียอีก |
ภาพโดย BBC เมื่อ สึนามิ เดินทางมาถึงชายฝั่ง ก้นทะเลที่ตื้นขึ้นก็จะทำให้ความเร็วของคลื่นลดลง เพราะความเร็วของคลื่นสัมพันธ์กับค่าความลึกโดยตรง แต่คาบยังคงที่ พลังงานรวมที่มีค่าคงที่ ก็ถูกถ่ายเทไปดันตัวให้คลื่นสูงขึ้น จาก ค่าความเร็ว V = l/P ค่า V ลดลง, P คงที่ ค่า l ก็ต้องลดลง ผลก็คือ น้ำทะเลถูกอัดเข้ามาทำให้คลื่นสูงขึ้น ขึ้นอยู่กับสภาพชายฝั่งว่าเป็นอ่าวแคบหรือกว้าง ในชายฝั่งที่แคบ คลื่นสึนามิ จะมีความสูงได้หลายๆเมตรทีเดียว ถ้ายอดคลื่นเข้าถึงฝั่งก่อน ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า dragdown คือดูเหมือนระดับน้ำจะลดลงอย่างกระทันหัน ขอบน้ำทะเลจะหดตัวออกจากฝั่งไปเป็นร้อยๆเมตรอย่างฉับพลัน และในทันที่ที่ยอดคลื่นต่อมาไล่มาถึง ก็จะเป็นกำแพงคลื่นสูงมาก ขึ้นอยู่กับโครงร่างของชายหาด จะมีความสูงของคลื่นต่างกัน ดังนั้น คลื่นสึนามิ จากแหล่งเดียวกัน จะเกิดผลที่ต่างกันกับชายหาดที่ไม่เหมือนกันได้ น้ำที่ท่วมเข้าฝั่งกระทันหัน อาจไปไกลได้ถึง ๓๐๐ เมตร แต่คลื่น สึนามิ สามารถเดินทางขึ้นไปตามปากแม่น้ำหรือลำคลองที่ไหลลงทะเลตรงนั้นได้ด้วย หากรู้ตัวว่าจะมีคลื่นสึนามิ ผู้คนเพียงแต่อพยพออกไปจากฝั่งเพียงแค่เดิน ๑๕ นาที และให้อยู่ห่างจากแหล่งน้ำที่ไหลลงทะเลเข้าไว้ ก็จะปลอดภัยแล้ว |
การเคลื่อนที่ของเปลือกโลกที่เรียกว่า Subduction (ภาพโดย USGS) การเกิดแผ่นดินถล่มใต้ท้องทะเลลึก มักจะมาจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นที่ดันเข้าหากัน แรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเมื่อถึงจุดที่แรงปะทะจากแผ่นเปลือกโลกมีเหนือค่าแรงเสียดทานแล้ว ก็จะเกิดการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน การเคลื่อนตัวที่แผ่นหนึ่งมุดเข้าใต้อีกแผ่น เรียกว่า Subduction ทำให้เปลือกโลกตรงรอยต่อ ถูกหนุนสูงขึ้นหรือทรุดฮวบยวบตัวลง น้ำทะเลเหนือส่วนนั้นก็ถูกดันหรือดูดเข้ามาแทนที่อย่างฉับพลัน การเคลื่อนตัวของน้ำในปริมาตรหลายๆล้านตัน ทำให้เกิดคลื่นสะท้อนออกไปทุกทิศ เป็นแหล่งกำเนิดของ คลื่นสึนามิ นั่นเอง |
หน้าที่ 2 - The Ring of Fire
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ภาพโดย กรมธรณีวิทยาสหรัฐ U.S. Geological Surveys พื้นโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ ไม่ได้ต่อกันสนิทเหมือนเปลือกลูกกอล์ฟ แต่เป็นแผ่นๆใหญ่น้อยต่อๆกัน ตรงรอยต่อของแผ่นต่างๆเหล่านี้ ก็มีการเคลื่อนตัวที่แตกต่างกันไปแบ่งได้คร่าวๆดังนี้ Divergent Boundaries คือแนวขอบที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่น เคลื่อนตัวห่างจากกัน Convergent Boundaries คือแนวขอบที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนเข้าหากัน เกิดการชนกันและทำลายซึ่งกันและกัน Transform Boundaries คือแนวขอบส่วนที่แผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเสียดสีผ่านกันด้านข้าง Plate Boundary Zones คือคำจำกัดความกว้างๆให้กับแนวขอบเปลือกโลกสองแผ่นที่ให้คำจำกัดความได้ไม่ ชัด เพราะการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกส่วนนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจดี จะเห็นได้ว่า แนวใต้หมู่เกาะประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะการเคลื่อนที่สองแผ่นชนเข้าหากันในลักษณะที่เรียกว่า Subduction ดังที่อธิบายไว้ในหน้าแรก |
ภาพโดย USGS ตามรอบมหาสมุทรแปซิฟิคมาจนถึงแถวหมู่เกาะสุมาตรานั้น มีการเกิดแผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟระเบิดอยู่ตลอดมาในประวัติศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จึงเรียกว่า วงแหวนไฟ หรือ Ring of Fire มาตั้งแต่ก่อนที่จะมีความเข้าใจเรื่องการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเสียอีก แม้เราจะเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกแล้ว นักธรณีวิทยาก็ยังเรียกภูมิภาคส่วนนี้ว่า Ring Of Fire เช่นเดิม เพราะเป็นชื่อที่เหมาะสมมาก |
หน้าที่ 3 - สาเหตุการเกิด คลื่น สึนามิ ในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗
เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่
ข้อมูลจากกรมธรณีวิทยา สหรัฐ USGS แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในวันที่ ๒๖ ธค. ที่ผ่านมานั้น เกิดจากการที่เปลือกโลกสองแผ่น คือแผ่นอินเดียและแผ่นพม่าเคลื่อนตัวเข้าหากัน โดยแผ่นอินเดีย ถูกผลักดันให้เบียดผ่านแผ่นพม่า เมื่อแรงกดดันมีสูงเหนือแรงเสียดทานที่แผ่นดินสองแผ่นครูดเข้าใส่กัน ก็สปริงตัวเคลื่อนไหวอย่างฉับพลัน เพื่อผ่อนคลายแรงเครียดที่สองแผ่นอั้นมานาน แผ่นอินเดียมุดลงตรงแนวที่เรียกว่า Sunda trench ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของจุดศูนย์กลางที่เกิดแผ่นดินไหว Sunda Trench คือแนวร่องที่เปลือกโลกสามแผ่นมาชนกัน คือ แผ่นอินเดียกับแผ่นออสเตรเลีย และแผ่นพม่า เกิดเป็นร่องเป็นแนวยาวที่ภาษาทางธรณีวิทยาเรียกว่า trench บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวนั้น แผ่นอินเดียเคลื่อนตัวด้วยความเร็ว ๖ เซ็นติเมตรต่อปี หากถือให้แผ่นพม่าอยู่นิ่งๆ ผลก็คือตรงที่แผ่นเคลื่อนเข้าหากันนั้น ชนกันเป็นแนวเฉียงทแยงขึ้น แรงดันนั้นทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกที่แตกออก ห่างไปทางตะวันตก หลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งแตกเป็นแนวยาวขนานกับ Sunda Trench การเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นกระบวนการที่เรียกว่า trust-faulting |
การปะทะกันของเปลือกโลกที่เรียกว่า oblique thrust-falulting ดังที่เป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวใต้ทะเลจนเกิด สึนามิ ดังกล่าว (ภาพโดย กรมธรณีวิทยา สหรัฐ) |
อนิเมชั่นของการเกิด คลื่นสึนามิ จากประเทศอินโดนีเซียในวันที่ ๒๖ ธค. ที่ผ่านมา โดย Kenji Satake แห่ง National Institute of Advanced Industrial Science and Technology ของประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงการแคลื่อนตัวของ คลื่นสึนามิ ส่วนสีแดงคือส่วนที่มีพลังงานมากที่สุด อ้างอิง 1. The National Tsunami Hazard Mitigation Program 2. NOAA's Tsunami Research Program 3. Class Notes: "Earth & Environmental Sciences 204 & 605; Tsunami" by Prof. Stephen A. Nelson 4. USGS: The Dynamic Earth 5. CNN.com 6. MSNBC.com 7. the Los Angeles Times ที่มา: http://www.vcharkarn.com/varticle/267 |
ขั้นตอนทั้งหมดของการสร้างแผนที่
การสร้างแผนที่ในรูปแบบที่ง่าย ที่สุด สำหรับพื้นที่บริเวณใหญ่ๆ คือการสร้างแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) โดยมีขั้นตอนการสร้างแผนที่ ดังนี้
1.บินถ่าย ภาพพื้นที่ที่ต้องการสร้างแผนที่ ด้วยเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ โดยจะบินถ่ายเป็นแนวเส้นตรงให้ได้ภาพเรียงต่อๆกันไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ทั้งนี้จะต้องมีส่วนทับซ้อน (Overlap) ของภาพไม่น้อยกว่า 60% ของแต่ละภาพ เพื่อนำภาพเหล่านั้นมาขึ้นรูป 3 มิติ และสามารถวัดมุมราบและตำแหน่งที่ถูกต้องของวัตถุที่ปรากฎอยู่บนภาพได้
2.นำ ภาพถ่ายทางอากาศที่ได้ มาทำการปรับแก้ความเอียงของภาพ (Rectification) เพราะในขณะที่เครื่องบินถ่ายภาพบนท้องฟ้า จะมีการเอียงตัวเกิดขึ้น เนื่องจากกระแสลมหรือปัจจัยต่างๆ ดังนั้นภาพที่ได้มาจะยังมีมุมที่บิดเบี้ยวไม่ถูกต้อง จึงต้องใช้เทคโนโลยีในการปรับแก้ความเอียงของภาพให้มีความถูกต้องเสียก่อน สำหรับการแก้ความเอียงของภาพ จะใช้วิธีการสร้างจุดควบคุมภาพถ่าย โดยการหาตำแหน่งบนภาพที่จะใช้เป็นหมุดอ้างอิงภาคพื้นดิน เช่นหมุดควบคุมทางราบ ด้วยการเรียงและซ้อนภาพถ่ายทางอากาศ และเลือกจุดที่มองเห็นได้ชัดเจนบนภาพถ่ายสามารถทำรังวัดในภาคสนามได้สะดวก และเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบและถาวร
3.เมื่อได้หมุดควบคุมที่จะใช้เป็น หมุดอ้างอิงบนภาพแล้ว ก็จะถึงขั้นตอนในการสำรวจบนพื้นที่จริง หรือการลงภาคสนามในตำแหน่งของจุดต่างๆ ที่เลือกไว้เพื่อหาค่าพิกัดอ้างอิงให้กับภาพ ซึ่งอาจจะใช้ระบบพิกัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ คือพิกัดละติจูด และลองติจูด หรือระบบพิกัดฉาก UTM แล้วจึงนำค่าจากหมุดอ้างอิงเหล่านั้นมาใช้อ้างอิงในการระบุพิกัดตำแหน่งให้ กับทุกๆตำแหน่งบนภาพในพื้นที่ทั้งหมด
4.เมื่อการสำรวจภาคสนามเสร็จ สิ้น ก็จะถึงขั้นตอนสุดท้าย ในการนำเข้าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจลงในแผนที่ที่ทำการเขียนลายเส้นแผนที่ ไว้แล้วให้เสร็จสมบูรณ์ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
ที่มา: http://jittranutsri.blogspot.com/2010/02/blog-post.html
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System นิยมย่อว่า GIS)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System นิยมย่อว่า GIS)
คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยาย (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ตำแหน่ง ละติจูด ลองจิจูด ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล
ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม รักษาและการค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ ใช้เป็นเช่น
* การแพร่ขยายของโรคระบาด
* การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน
* การบุกรุกทำลาย
* การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่
ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปล สื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้ง่าย
ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทาง ภูมิศาสตร์ (geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
องค์ประกอบของ GIS ( Components of GIS )
องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน
2. โปรแกรม คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล , จัดการระบบฐานข้อมูล , เรียกค้น , วิเคราะห์ และ จำลองภาพ
3. ข้อมูล คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร
4. บุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS
5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง
GIS ทำงานอย่างไร
ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
1. การนำเข้าข้อมูล (input) ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูล เชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้า เช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น
2. การปรับแต่งข้อมูล (manipulation) ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสม กับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน
3. การบริหารข้อมูล (management) ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐาน ดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง
4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (query and analysis) เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน? เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร? ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย? หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (proximity หรือ buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (overlay analysis) เป็นต้น
5. การนำเสนอข้อมูล (visualization) จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั่งระบบมัลติมีเดีย สื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ ดียิ่งขึ้นอีก
ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
โลก มีความสลับซับซ้อนมากเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูป ข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บน ผิวโลกจัดเก็บในรูปของตัวเลขเชิงรหัส (digital form) โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า Feature
ประเภทของ Feature
ลักษณะ ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษ บันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
จุด (Point)
เส้น (Arc)
พื้นที่ (Polygon)
เทคนิคและวิธีการนำเข้าข้อมูล
การ นำเข้าข้อมูล (Input data) เป็นกระบวนการบันทึกข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ การสร้างฐานข้อมูลที่ละเอียด ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานด้วย ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ซึ่งจำเป็นต้องมีการประเมินคุณภาพข้อมูล ที่จะนำเข้าสู่ระบบในเรื่องแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการสำรวจข้อมูลมาตราส่วนของแผนที่ ความถูกต้อง ความละเอียด พื้นที่ที่ข้อมูลครอบคลุมถึงและปีที่จัดทำข้อมูล เพื่อประเมินคุณภาพ และคักเลือกข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่
สำหรับ ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่อายทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมทำกันในปัจจุบันได้แก่ การดิจิไทซ์ (Digitize) และการกวาดตรวจ (Scan) ซึ่งทั้ง 2 วิธีต่างก็มีข้อดี และข้อด้อยต่างกันไปกล่าวคือการนำเข้าข้อมูลโดยวิธีกวาดตรวจจะมีความรวดเร็ว และ ถูกต้องมากกว่าวิธีการเข้าข้อมูลแผนที่โดยโต๊ะดิจิไทซ์และ เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก แต่การนำเข้าข้อมูลโดยการดิจิไทซ์จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและเหมาะ สำหรับงานที่มีปริมาณน้อย การใช้เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) เป็นการแปลงข้อมูลเข้าสู่ระบบโดยนำแผนที่มาตรึงบนโต๊ะ และกำหนดจุดอ้างอิง (control point) อย่างน้อยจำนวน 4 จุด แล้วนำตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) ลากไปตามเส้นของรายละเอียดบนแผนที่ การใช้เครื่องกวาดภาพ (Scanner) เป็นเครื่องมือที่วัดความเข้มของแสงที่สะท้อนจากลายเส้นบนแผนที่ ผลลัพธ์เป็นข้อมูล ในรูปแบบแรสเตอร์ (raster format) ซึ่งเก็บข้อมูลในรูปของตารางกริดสี่เหลี่ยม (pixel) ค่าความคมชัดหรือความละเอียดมีหน่วยวัดเป็น DPI : dot per inch แล้วทำการแปลงข้อมูลแรสเตอร์ เป็นข้อมูลเวกเตอร์ ที่เรียกว่า Raster to Vecter conversion ด้วยโปรแกรม GEOVEC for Microstation หรือ R2V
การนำเข้าข้อมูลเชิงบรรยาย
ข้อมูลเชิงบรรยายที่จำแนกและจัดหมวดหมู่แล้ว นำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลด้วยแป้นพิมพ์ (Keyboard) สำหรับโปรแกรม PC ARC/Info จะจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ ของ dBASE ด้วยคำสั่ง Tables ส่วนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลแบบ Relational data base ทั่วๆ ไปบนเครื่อง PC เช่น Foxpro, Access หรือ Excel จำเป็นต้อง แปลงข้อมูลให้เข้าอยู่ในรูปของ DBF file ก่อนการนำเข้าสู่ PC ARC/Info
GISกับการประยุกต์ใช้งาน
ช่วงเวลาที่ผ่าน มา ผมได้รับให้คำปรึกษาแก่หลายหน่วยงาน ทั้งที่เป็นราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งผมก็ได้ใช้เทคนิควิธีการทาง gis ทำการวิเคราะห์ ก็รู้สึกว่า ตัวเองมีค่าขึ้น ลองคิดดูว่า เมื่อ 25 ปีก่อนผมก็คือเด็กต่างจังหวัดคนหนึ่ง ที่ไม่มีแก่นสารในชีวิต แต่ปัจจุบันผมก็ได้ค้นหา ความต้องการของชีวิตได้แล้วคือ การอยู่อย่างมีคุณค่า ใครจะว่า อะไร ผมไม่สนใจแล้วครับ ขอให้ใจของผมรู้ว่า ผมทำอะไรอยู่เป็นพอ อารัมภบทพอหอมปากหอมคอมาเริ่มเข้าเนื้อหาเลยดีกว่า
ด้านการสาธารณสุข หลายท่านก็คงนึกว่า มันไปเกี่ยวอะไรกัน ก็ต้องตอบว่า โรคร้ายหลายๆโรคเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะสิ่งแวดล้อมนั้นคือ ภูมิประเทศเปลี่ยน นิเวศวิทยาเปลี่ยน ก็ทำให้พาหะนำโรค จากที่เคยอยู่แบบสมดุลย์ธรรมชาติ ก็เริ่มออกอาละวาดลงมาสู่บ้านเรือนคน และทำให้ ผมมาเจอกับคุณหมอท่านหนึ่ง ที่ท่านทำการ วิจัย เกี่ยวกับ โรคฉี่หนู ที่เป็นโรคของชาวบ้าน เพราะโรคนี้เกิดกับ ชาวบ้านที่ทำนา เป็นหลัก และโรคนี้เองทำให้ผู้คนตายไปเป็นจำนวนหลักพันคน และทางคุณหมอก็ บอกว่า พาหะก็คือ หนู หนูมีมากเกินไปไม่ได้ถูกกำจัดโดยศัตรูทางธรรมชาติทำให้มากินพืชไร่ของคน และเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรค ที่มากับหนูนี้ จะอยู่ได้บริเวณพื้นที่ที่มี การระบายน้ำเลว และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน อยู่ระดับ 6-7 ผมกับคุณหมอก็เริ่มทำการวิจัยโดยใช้ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ทำการศึกษา เพราะแค่จังหวัดนี้มี คนตายเพราะโรคนี้ เกือบ สองพันคน ผลการวิจัยทาง gis ก็สรุปว่า ปัจจัยหลักคือการระบายน้ำ พื้นที่ไหน มีการระบายน้ำไม่ดีจะมีโอกาสในการเกิดโรคสูง ซึ่งผลการวิจัย ก็น่าจะขยายผลไปทั้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเราจะได้รู้ถึงบริเวณที่มีความเสี่ยง จะได้หาทางป้องกันก่อน เพราะหลักของสาธารณสุข คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น ไม่ใช่การรักษาโรค เรื่องนี้ผมก็รู้สึกดีครับ เพราะต้นตระกูลผมก็เป็นชาวนา อย่างน้อยผมก็ได้ตอบแทน บรรพบุรุษผมบ้าง และต้องยกความดีให้คุณหมอท่านที่ท่านมีจิตใจ ที่หมอจริงๆ เพราะท่านทำเรื่อง ที่เป็น โรคของคนด้อยโอกาสในสังคม ทั้งๆที่ท่านมีโอกาสที่จะทำอะไร ที่ก่อให้เกิดรายได้ แต่ท่านก็เลือก ที่จะทำเรื่องที่เป็นประโยชน์ มากกว่า
ด้านการโทรคมนาคม เรื่องนี้เป็นการวางเครือข่ายการสื่อสาร ก็มีเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ มาหาผมเขาอยากได้ข้อมูลความสูงภูมิประเทศประกอบกับแผนที่ใน ลักษณะตัวเลข เพื่อทำการวิเคราะห์ ว่าจุดไหนอับสัญญาน บ้าง โดยทางเขาก็ได้พัฒนาโปรแกรมด้านนี้มาแล้ว แต่ข้อมูลความสูงภูมิประเทศ เขาต้องอ่านจากแผนที่ ทำให้ ลำบากและช้าไม่ทันการ จึงอยากจะได้ข้อมูลความสูงภูมิประเทศแบบที่เป็นตัวเลข เพื่อจะได้ข้อมูลและเชื่อมต่อกับระบบของเขาได้ทันที งานนี้ผมฟังแล้ว สบายมากครับ เพราะระบบแผนที่ทางการทหาร ที่ผมวิจัยมี function ด้านนี้อยู่แล้ว และงานนี้ถ้าตกลงกันได้ ผมจะได้รับการสนับสนุนเครื่องไม้เครื่องมือ จากองค์การโทรศัพท์ เรื่องนี้ก็ เป็นเรื่องดีที่เป็นการพัฒนาที่ใช้บุคลากร ในหน่วยงาน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่จะสูญเสียไปถ้าต้องจ้างเอกชนเป็นผู้จัดทำ
ด้านโบราณคดี เรื่องนี้เป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท โบราณคดี ที่จะหาว่าบริเวณเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดี มีปัจจัยอะไรบ้าง โดยใช้บริเวณ จังหวัดนครสวรรค์ และลพบุรี เป็นบริเวณที่ศึกษา ผลการศึกษาก็ต้องใช้เทคนิควิธีการทาง gis ที่เลือกว่า การ overlay analysis โดยใช้ปัจจัย ดิน แหล่งน้ำ และลักษณะภูมิประเทศ ผลการวิจัย ก็ได้คำตอบว่า ปัจจัยการตั้งถิ่นฐานก็คือ แหล่งน้ำ, ดินที่แสดงว่าเป็นแหล่งน้ำโบราณหรือ ลานตะพัก และ ต้องใกล้บริเวณภูเขาเพื่อจะได้ทำการหลบภัย
ที่มา : http://www.geopnru.co.cc/?p=32
คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยาย (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ตำแหน่ง ละติจูด ลองจิจูด ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล
ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม รักษาและการค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ ใช้เป็นเช่น
* การแพร่ขยายของโรคระบาด
* การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน
* การบุกรุกทำลาย
* การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่
ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปล สื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้ง่าย
ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทาง ภูมิศาสตร์ (geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
องค์ประกอบของ GIS ( Components of GIS )
องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotter, Printer หรืออื่น ๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน
2. โปรแกรม คือชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่น การทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล , จัดการระบบฐานข้อมูล , เรียกค้น , วิเคราะห์ และ จำลองภาพ
3. ข้อมูล คือข้อมูลต่าง ๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแล จากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร
4. บุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขาดบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้น ก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS
5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงาน คือวิธีการที่องค์กรนั้น ๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับของหน่วยงานนั้น ๆ เอง
GIS ทำงานอย่างไร
ภาระหน้าที่หลัก ๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีอยู่ด้วยกัน 5 อย่างดังนี้
1. การนำเข้าข้อมูล (input) ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูล เชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้า เช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น
2. การปรับแต่งข้อมูล (manipulation) ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสม กับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน
3. การบริหารข้อมูล (management) ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐาน ดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง
4. การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (query and analysis) เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน? เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร? ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย? หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (proximity หรือ buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (overlay analysis) เป็นต้น
5. การนำเสนอข้อมูล (visualization) จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั่งระบบมัลติมีเดีย สื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ ดียิ่งขึ้นอีก
ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
โลก มีความสลับซับซ้อนมากเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูป ข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บน ผิวโลกจัดเก็บในรูปของตัวเลขเชิงรหัส (digital form) โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า Feature
ประเภทของ Feature
ลักษณะ ทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษ บันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
จุด (Point)
เส้น (Arc)
พื้นที่ (Polygon)
เทคนิคและวิธีการนำเข้าข้อมูล
การ นำเข้าข้อมูล (Input data) เป็นกระบวนการบันทึกข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ การสร้างฐานข้อมูลที่ละเอียด ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานด้วย ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ซึ่งจำเป็นต้องมีการประเมินคุณภาพข้อมูล ที่จะนำเข้าสู่ระบบในเรื่องแหล่งที่มาของข้อมูล วิธีการสำรวจข้อมูลมาตราส่วนของแผนที่ ความถูกต้อง ความละเอียด พื้นที่ที่ข้อมูลครอบคลุมถึงและปีที่จัดทำข้อมูล เพื่อประเมินคุณภาพ และคักเลือกข้อมูลที่จะนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล
การนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่
สำหรับ ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่อายทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมทำกันในปัจจุบันได้แก่ การดิจิไทซ์ (Digitize) และการกวาดตรวจ (Scan) ซึ่งทั้ง 2 วิธีต่างก็มีข้อดี และข้อด้อยต่างกันไปกล่าวคือการนำเข้าข้อมูลโดยวิธีกวาดตรวจจะมีความรวดเร็ว และ ถูกต้องมากกว่าวิธีการเข้าข้อมูลแผนที่โดยโต๊ะดิจิไทซ์และ เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก แต่การนำเข้าข้อมูลโดยการดิจิไทซ์จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและเหมาะ สำหรับงานที่มีปริมาณน้อย การใช้เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) เป็นการแปลงข้อมูลเข้าสู่ระบบโดยนำแผนที่มาตรึงบนโต๊ะ และกำหนดจุดอ้างอิง (control point) อย่างน้อยจำนวน 4 จุด แล้วนำตัวชี้ตำแหน่ง (Cursor) ลากไปตามเส้นของรายละเอียดบนแผนที่ การใช้เครื่องกวาดภาพ (Scanner) เป็นเครื่องมือที่วัดความเข้มของแสงที่สะท้อนจากลายเส้นบนแผนที่ ผลลัพธ์เป็นข้อมูล ในรูปแบบแรสเตอร์ (raster format) ซึ่งเก็บข้อมูลในรูปของตารางกริดสี่เหลี่ยม (pixel) ค่าความคมชัดหรือความละเอียดมีหน่วยวัดเป็น DPI : dot per inch แล้วทำการแปลงข้อมูลแรสเตอร์ เป็นข้อมูลเวกเตอร์ ที่เรียกว่า Raster to Vecter conversion ด้วยโปรแกรม GEOVEC for Microstation หรือ R2V
การนำเข้าข้อมูลเชิงบรรยาย
ข้อมูลเชิงบรรยายที่จำแนกและจัดหมวดหมู่แล้ว นำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลด้วยแป้นพิมพ์ (Keyboard) สำหรับโปรแกรม PC ARC/Info จะจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ ของ dBASE ด้วยคำสั่ง Tables ส่วนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลแบบ Relational data base ทั่วๆ ไปบนเครื่อง PC เช่น Foxpro, Access หรือ Excel จำเป็นต้อง แปลงข้อมูลให้เข้าอยู่ในรูปของ DBF file ก่อนการนำเข้าสู่ PC ARC/Info
GISกับการประยุกต์ใช้งาน
ช่วงเวลาที่ผ่าน มา ผมได้รับให้คำปรึกษาแก่หลายหน่วยงาน ทั้งที่เป็นราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งผมก็ได้ใช้เทคนิควิธีการทาง gis ทำการวิเคราะห์ ก็รู้สึกว่า ตัวเองมีค่าขึ้น ลองคิดดูว่า เมื่อ 25 ปีก่อนผมก็คือเด็กต่างจังหวัดคนหนึ่ง ที่ไม่มีแก่นสารในชีวิต แต่ปัจจุบันผมก็ได้ค้นหา ความต้องการของชีวิตได้แล้วคือ การอยู่อย่างมีคุณค่า ใครจะว่า อะไร ผมไม่สนใจแล้วครับ ขอให้ใจของผมรู้ว่า ผมทำอะไรอยู่เป็นพอ อารัมภบทพอหอมปากหอมคอมาเริ่มเข้าเนื้อหาเลยดีกว่า
ด้านการสาธารณสุข หลายท่านก็คงนึกว่า มันไปเกี่ยวอะไรกัน ก็ต้องตอบว่า โรคร้ายหลายๆโรคเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะสิ่งแวดล้อมนั้นคือ ภูมิประเทศเปลี่ยน นิเวศวิทยาเปลี่ยน ก็ทำให้พาหะนำโรค จากที่เคยอยู่แบบสมดุลย์ธรรมชาติ ก็เริ่มออกอาละวาดลงมาสู่บ้านเรือนคน และทำให้ ผมมาเจอกับคุณหมอท่านหนึ่ง ที่ท่านทำการ วิจัย เกี่ยวกับ โรคฉี่หนู ที่เป็นโรคของชาวบ้าน เพราะโรคนี้เกิดกับ ชาวบ้านที่ทำนา เป็นหลัก และโรคนี้เองทำให้ผู้คนตายไปเป็นจำนวนหลักพันคน และทางคุณหมอก็ บอกว่า พาหะก็คือ หนู หนูมีมากเกินไปไม่ได้ถูกกำจัดโดยศัตรูทางธรรมชาติทำให้มากินพืชไร่ของคน และเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรค ที่มากับหนูนี้ จะอยู่ได้บริเวณพื้นที่ที่มี การระบายน้ำเลว และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน อยู่ระดับ 6-7 ผมกับคุณหมอก็เริ่มทำการวิจัยโดยใช้ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพื้นที่ทำการศึกษา เพราะแค่จังหวัดนี้มี คนตายเพราะโรคนี้ เกือบ สองพันคน ผลการวิจัยทาง gis ก็สรุปว่า ปัจจัยหลักคือการระบายน้ำ พื้นที่ไหน มีการระบายน้ำไม่ดีจะมีโอกาสในการเกิดโรคสูง ซึ่งผลการวิจัย ก็น่าจะขยายผลไปทั้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเราจะได้รู้ถึงบริเวณที่มีความเสี่ยง จะได้หาทางป้องกันก่อน เพราะหลักของสาธารณสุข คือการป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น ไม่ใช่การรักษาโรค เรื่องนี้ผมก็รู้สึกดีครับ เพราะต้นตระกูลผมก็เป็นชาวนา อย่างน้อยผมก็ได้ตอบแทน บรรพบุรุษผมบ้าง และต้องยกความดีให้คุณหมอท่านที่ท่านมีจิตใจ ที่หมอจริงๆ เพราะท่านทำเรื่อง ที่เป็น โรคของคนด้อยโอกาสในสังคม ทั้งๆที่ท่านมีโอกาสที่จะทำอะไร ที่ก่อให้เกิดรายได้ แต่ท่านก็เลือก ที่จะทำเรื่องที่เป็นประโยชน์ มากกว่า
ด้านการโทรคมนาคม เรื่องนี้เป็นการวางเครือข่ายการสื่อสาร ก็มีเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ มาหาผมเขาอยากได้ข้อมูลความสูงภูมิประเทศประกอบกับแผนที่ใน ลักษณะตัวเลข เพื่อทำการวิเคราะห์ ว่าจุดไหนอับสัญญาน บ้าง โดยทางเขาก็ได้พัฒนาโปรแกรมด้านนี้มาแล้ว แต่ข้อมูลความสูงภูมิประเทศ เขาต้องอ่านจากแผนที่ ทำให้ ลำบากและช้าไม่ทันการ จึงอยากจะได้ข้อมูลความสูงภูมิประเทศแบบที่เป็นตัวเลข เพื่อจะได้ข้อมูลและเชื่อมต่อกับระบบของเขาได้ทันที งานนี้ผมฟังแล้ว สบายมากครับ เพราะระบบแผนที่ทางการทหาร ที่ผมวิจัยมี function ด้านนี้อยู่แล้ว และงานนี้ถ้าตกลงกันได้ ผมจะได้รับการสนับสนุนเครื่องไม้เครื่องมือ จากองค์การโทรศัพท์ เรื่องนี้ก็ เป็นเรื่องดีที่เป็นการพัฒนาที่ใช้บุคลากร ในหน่วยงาน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่จะสูญเสียไปถ้าต้องจ้างเอกชนเป็นผู้จัดทำ
ด้านโบราณคดี เรื่องนี้เป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท โบราณคดี ที่จะหาว่าบริเวณเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดี มีปัจจัยอะไรบ้าง โดยใช้บริเวณ จังหวัดนครสวรรค์ และลพบุรี เป็นบริเวณที่ศึกษา ผลการศึกษาก็ต้องใช้เทคนิควิธีการทาง gis ที่เลือกว่า การ overlay analysis โดยใช้ปัจจัย ดิน แหล่งน้ำ และลักษณะภูมิประเทศ ผลการวิจัย ก็ได้คำตอบว่า ปัจจัยการตั้งถิ่นฐานก็คือ แหล่งน้ำ, ดินที่แสดงว่าเป็นแหล่งน้ำโบราณหรือ ลานตะพัก และ ต้องใกล้บริเวณภูเขาเพื่อจะได้ทำการหลบภัย
ที่มา : http://www.geopnru.co.cc/?p=32
12 เมษายน 2554
11 เมษายน 2554
รอบรู้ธรณีไทย 11/12 ทรัพยากรธรณี
10 เมษายน 2554
09 เมษายน 2554
08 เมษายน 2554
07 เมษายน 2554
06 เมษายน 2554
05 เมษายน 2554
04 เมษายน 2554
เศรษฐกิจพอเพียง ช่วง 2
ทฤษฎีใหม่
ทฤษฎีใหม่ คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของ การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภาย นอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
ความเสี่ยงที่เกษตรกร มักพบเป็นประจำ ประกอบด้วย
๑. ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร
๒. ความเสี่ยงในราคาและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศ
๓. ความเสี่ยงด้านน้ำ ฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง
๔. ภัยธรรมชาติอื่นๆ และโรคระบาด
๕. ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต
- ความเสี่ยงด้านโรคและศัตรูพืช
- ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแรงงาน
- ความเสี่ยงด้านหนี้สินและการสูญเสียที่ดิน
ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลักการและแนวทางสำคัญ
๑. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับ ที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ “ลงแขก” แบบดั้งเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานด้วย
๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ดังนั้น หากตั้งสมมติฐานว่า มีพื้นที่ ๕ ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลง ประกอบด้วย
- นาข้าว ๕ ไร่
- พืชไร่ พืชสวน ๕ ไร่
- สระน้ำ ๓ ไร่ ขุดลึก ๔ เมตร จุน้ำได้ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
- ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ๒ ไร่
รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่
แต่ทั้งนี้ ขนาดของสระเก็บน้ำขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ดังนี้
- ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มากเกินไป ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
- ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมีลักษณะลึก หรือตื้น และแคบ หรือกว้างก็ได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะสามารถมีน้ำมาเติมอยู่เรื่อยๆ
การมีสระเก็บน้ำก็เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งปี (ทรงเรียกว่า Regulator หมายถึงการควบคุมให้ดี มีระบบน้ำหมุนเวียนใช้เพื่อการเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งและระยะฝนทิ้งช่วง แต่มิได้หมายความว่า เกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรังได้ เพราะหากน้ำในสระเก็บน้ำไม่พอ ในกรณีมีเขื่อนอยู่บริเวณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสูบน้ำมาจากเขื่อน ซึ่งจะทำให้น้ำในเขื่อนหมดได้ แต่เกษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเมื่อถึงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงให้เกษตรกรใช้น้ำที่เก็บตุนนั้น ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อจะได้มีผลผลิตอื่นๆ ไว้บริโภคและสามารถนำไปขายได้ตลอดทั้งปี
๔. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดินถัว เฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ เป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
ร้อยละ ๓๐ ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย) บนสระอาจสร้างเล้าไก่และบนขอบสระน้ำอาจปลูกไม้ยืนต้นที่ไม่ใช้น้ำมากโดยรอบ ได้
ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สอง ทำนา
ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อเป็นเชื้อฟืน ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
ร้อยละ ๑๐ สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (ทางเดิน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตร หรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝน และสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อ หรือสระเก็บน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโชน์อื่นต่อไปได้
๕. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น เกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย และที่สำคัญ คือ ราคาการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดสระน้ำ เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากส่วนราชการ มูลนิธิ และเอกชน
๖. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดี ควรนำไปกองไว้ต่างหากเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่างๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี หรืออาจนำมาถมทำขอบสระน้ำ หรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผลก็จะได้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง
ตัวอย่างพืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง
ไม้ผลและผักยืนต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน ฯลฯ
ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น
เห็ด : เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไท บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล กระถินณรงค์ มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น
พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้ และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ ได้แก่ ข้าวโพด ถัวเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง
พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียวและถั่วพุ่ม เป็นต้น และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลงไปเพื่อบำรุงดินได้
หมายเหตุ : พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี ควรเลือกพืชยืนต้นชนิดต่างๆ กัน ให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และควรเลือกต้นไม้ให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ เช่น ไม่ควรปลูกยูคาลิปตัสบริเวณขอบสระ ควรเป็นไม้ผลแทน เป็นต้น
สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้แก่
สัตว์น้ำ : ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้
สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้ มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
๑. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
๒. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
๓. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อนในเรื่องค่า ใช้จ่ายต่างๆ
๔. ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย
ประเทศไทยกับเศรษฐกิจพอเพีย
เศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้ผู้ผลิต หรือผู้บริโภค พยายามเริ่มต้นผลิต หรือบริโภคภายใต้ขอบเขต ข้อจำกัดของรายได้ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ไปก่อน ซึ่งก็คือ หลักในการลดการพึ่งพา เพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมการผลิตได้ด้วยตนเอง และลดภาวะการเสี่ยงจากการไม่สามารถควบคุมระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้ เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม
การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา
เศรษฐกิจพอเพียงมิใช่หมายความถึง การกระเบียดกระเสียนจนเกินสมควร หากแต่อาจฟุ่มเฟือยได้เป็นครั้งคราวตามอัตภาพ แต่คนส่วนใหญ่ของประเทศ มักใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะที่หามาได้
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้ เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้เป็นระบบเศรษฐกิจในระดับหนึ่ง จึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ทุกสาขา ทุกภาคของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นจะต้องจำกัดเฉพาะแต่ภาคการเกษตร หรือภาคชนบท แม้แต่ภาคการเงิน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
โดยมีหลักการที่คล้ายคลึงกันคือ เน้นการเลือกปฏิบัติอย่างพอประมาณ มีเหตุมีผล และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเองและสังคม
การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้
แนวพระราชดำริในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
๑. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการใช้ชีวิต
๒. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง ซื่อสัตย์สุจริต
๓. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
๔. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ด้วยการขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้มีรายได้เพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นพอเพียงเป็นเป้าหมายสำคัญ
๕. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่ว ประพฤติตนตามหลักศาสนา
เศรษฐกิจพอเพียง
จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายใน เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตก สลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่ม สูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนด ชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้อง การต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่ เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี
พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง
“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่ เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
“...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)
เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
พระราชดำรัสที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
“...เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาของเศรษฐกิจ การที่ต้องใช้รถไถต้องไปซื้อ เราต้องใช้ต้องหาเงินมาสำหรับซื้อน้ำมันสำหรับรถไถ เวลารถไถเก่าเราต้องยิ่งซ่อมแซม แต่เวลาใช้นั้นเราก็ต้องป้อนน้ำมันให้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันคายควัน ควันเราสูดเข้าไปแล้วก็ปวดหัว ส่วนควายเวลาเราใช้เราก็ต้องป้อนอาหาร ต้องให้หญ้าให้อาหารมันกิน แต่ว่ามันคายออกมา ที่มันคายออกมาก็เป็นปุ๋ย แล้วก็ใช้ได้สำหรับให้ที่ดินของเราไม่เสีย...”
พระราชดำรัส เนื่องในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๙
“...เราไม่เป็นประเทศร่ำรวย เรามีพอสมควร พออยู่ได้ แต่ไม่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก เราไม่อยากจะเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมาก เพราะถ้าเราเป็นประเทศก้าวหน้าอย่างมากก็จะมีแต่ถอยกลับ ประเทศเหล่านั้นที่เป็นประเทศอุตสาหกรรมก้าวหน้า จะมีแต่ถอยหลังและถอยหลังอย่างน่ากลัว แต่ถ้าเรามีการบริหารแบบเรียกว่าแบบคนจน แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละคือเมตตากัน จะอยู่ได้ตลอดไป...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔
“...ตามปกติคนเราชอบดูสถานการณ์ในทางดี ที่เขาเรียกว่าเล็งผลเลิศ ก็เห็นว่าประเทศไทย เรานี่ก้าวหน้าดี การเงินการอุตสาหกรรมการค้าดี มีกำไร อีกทางหนึ่งก็ต้องบอกว่าเรากำลังเสื่อมลงไปส่วนใหญ่ ทฤษฎีว่า ถ้ามีเงินเท่านั้นๆ มีการกู้เท่านั้นๆ หมายความว่าเศรษฐกิจก้าวหน้า แล้วก็ประเทศก็เจริญมีหวังว่าจะเป็นมหาอำนาจ ขอโทษเลยต้องเตือนเขาว่า จริงตัวเลขดี แต่ว่าถ้าเราไม่ระมัดระวังในความต้องการพื้นฐานของประชาชนนั้นไม่มีทาง...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๖
“...เดี๋ยวนี้ประเทศไทยก็ยังอยู่ดีพอสมควร ใช้คำว่า พอสมควร เพราะเดี๋ยวมีคนเห็นว่ามีคนจน คนเดือดร้อน จำนวนมากพอสมควร แต่ใช้คำว่า พอสมควรนี้ หมายความว่าตามอัตตภาพ...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
“...ที่เป็นห่วงนั้น เพราะแม้ในเวลา ๒ ปี ที่เป็นปีกาญจนาภิเษกก็ได้เห็นสิ่งที่ทำให้เห็นได้ว่า ประชาชนยังมีความเดือดร้อนมาก และมีสิ่งที่ควรจะแก้ไขและดำเนินการต่อไปทุกด้าน มีภัยจากธรรมชาติกระหน่ำ ภัยธรรมชาตินี้เราคงสามารถที่จะบรรเทาได้หรือแก้ไขได้ เพียงแต่ว่าต้องใช้เวลาพอใช้ มีภัยที่มาจากจิตใจของคน ซึ่งก็แก้ไขได้เหมือนกัน แต่ว่ายากกว่าภัยธรรมชาติ ธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งนอกกายเรา แต่นิสัยใจคอของคนเป็นสิ่งที่อยู่ข้างใน อันนี้ก็เป็นข้อหนึ่งที่อยากให้จัดการให้มีความเรียบร้อย แต่ก็ไม่หมดหวัง...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
“...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙.
“...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
“...พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
“...ไฟดับถ้ามีความจำเป็น หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ เรามีเครื่องปั่นไฟก็ใช้ปั่นไฟ หรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียน คือมีทางที่จะแก้ปัญหาเสมอ ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงก็มีเป็นขั้นๆ แต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์นี่เป็นสิ่งทำไม่ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกัน ถ้ามีการช่วยกัน แลกเปลี่ยนกัน ก็ไม่ใช่พอเพียงแล้ว แต่ว่าพอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่จะดำเนินงานได้...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
“...โครงการต่างๆ หรือเศรษฐกิจที่ใหญ่ ต้องมีความสอดคล้องกันดีที่ไม่ใช่เหมือนทฤษฎีใหม่ ที่ใช้ที่ดินเพียง ๑๕ ไร่ และสามารถที่จะปลูกข้าวพอกิน กิจการนี้ใหญ่กว่า แต่ก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน คนไม่เข้าใจว่ากิจการใหญ่ๆ เหมือนสร้างเขื่อนป่าสักก็เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน เขานึกว่าเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ เป็นเศรษฐกิจที่ห่างไกลจากเศรษฐกิจพอเพียง แต่ที่จริงแล้ว เป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน...”
พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒
“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียงความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาท ขึ้นไปเป็นสองหมื่น สามหมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป...”
พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
๑๗ มกราคม ๒๕๔๔
ดื่มน้ำอย่างไรให้ปลอดภัย
ผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพแนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ แต่เดี๋ยวนี้มีน้ำหลายแบบหลายยี่ห้อ ให้เลือกจนไม่รู้ว่าจะดื่มแบบไหนดี ที่จริงแล้วปริมาณเหมาะสมที่แต่ละคนควรดื่มจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดตัว ระดับกิจกรรมที่ทำ และสภาพอากาศที่แวดล้อมแต่โดยเฉลี่ยแล้วคนเราต้องการน้ำประมาณวันละลิตรครึ่ง หรือไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว เพื่อช่วยระบบการย่อยและระบบขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายให้คงที่ การดื่มน้ำน้อยเกินไปทำให้อาหารไม่ย่อย เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและเป็นนิ่วในไต ลองพิจารณาคุณภาพของน้ำเหล่านี้
น้ำก็อก
แม้จะมีการประชาสัมพันธ์เรื่องน้ำประปาดื่มได้แล้วก็ตาม แต่คนก็ยังกลัว ๆ กล้า ๆ เรื่องความปลอดภัยอยู่ ทั้งคนส่วนมาก ก็ไม่ชอบดื่มน้ำก๊อกที่มีกลิ่นคลอรีนเจือปน และกังวลเรื่องสารอะลูมิเนียมที่ใช้ในการกรอง ที่อาจหลงเหลืออยู่ขณะส่งน้ำผ่านมาทางท่อ (ที่อาจมีสนิมอีกต่างหาก) ทำให้การดื่มน้ำแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรนัก แต่จากการสำรวจพบว่าระบบประปาของอังกฤษได้ชื่อว่าปลอดภัยที่สุดในโลก เพราะน้ำที่ส่งมาได้ผ่านการทดสอบ มาตรฐานกว่า 60 วิธีก่อนจะมา ถึงบ้านประชาชน น้ำก๊อกที่นั่นจึงสะอาดเท่า ๆ กับ ที่เราซื้อน้ำขวดมาบริโภคทีเดียว
น้ำกรอง
คือการใช้เครื่องกรองน้ำก๊อกก่อนจะนำมาบริโภค สิ่งที่ควรทำคือหาความรู้เกี่ยวกับ เครื่องกรองเสียก่อน เพราะไม่ใช่ว่าเครื่องกรองจะกรองทุกอย่างออกจากน้ำได้หมด ต้องถามตัวเองว่าต้องการกรองอะไรออก ไปบ้าง เช่น คลอรีน ไนเตรด ตะกั่ว ฯลฯ และเลือกฟิลเตอร์ หรือไส้กรองให้เหมาะสม เครื่องกรองแบบที่บรรจุสารกรองที่เป็นถ่านและอนุภาคเรซินนั้น ถ่านจะดูดซับอินทรียสารเล็กๆ ขจัดรสและกลิ่นไม่พึงประสงค์และทำลายคลอรีน ขณะที่เรซินที่ดูเหมือนเม็ดทรายจะทำให้น้ำปราศจากประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระและเปลี่ยนสถานภาพ ของตัวกลางบางชนิดเช่น เหล็กเป็นไฮโดรเจนอิออน หรือเปลี่ยนเกลือธรรมชาติเป็นอิออน ไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นด่าง ครื่องกรองแบบนี้เมื่อกรองแล้วจะยังมีแบคทีเรียหลงเหลืออยู่ในเครื่อง จึงควรเปลี่ยนไส้กรองบ่อยๆ และตรวจเซ็คความเป็นกรดด่าง ของน้ำทุกครั้งที่ใช้
น้ำก็อก
แม้จะมีการประชาสัมพันธ์เรื่องน้ำประปาดื่มได้แล้วก็ตาม แต่คนก็ยังกลัว ๆ กล้า ๆ เรื่องความปลอดภัยอยู่ ทั้งคนส่วนมาก ก็ไม่ชอบดื่มน้ำก๊อกที่มีกลิ่นคลอรีนเจือปน และกังวลเรื่องสารอะลูมิเนียมที่ใช้ในการกรอง ที่อาจหลงเหลืออยู่ขณะส่งน้ำผ่านมาทางท่อ (ที่อาจมีสนิมอีกต่างหาก) ทำให้การดื่มน้ำแบบนี้ไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควรนัก แต่จากการสำรวจพบว่าระบบประปาของอังกฤษได้ชื่อว่าปลอดภัยที่สุดในโลก เพราะน้ำที่ส่งมาได้ผ่านการทดสอบ มาตรฐานกว่า 60 วิธีก่อนจะมา ถึงบ้านประชาชน น้ำก๊อกที่นั่นจึงสะอาดเท่า ๆ กับ ที่เราซื้อน้ำขวดมาบริโภคทีเดียว
น้ำกรอง
คือการใช้เครื่องกรองน้ำก๊อกก่อนจะนำมาบริโภค สิ่งที่ควรทำคือหาความรู้เกี่ยวกับ เครื่องกรองเสียก่อน เพราะไม่ใช่ว่าเครื่องกรองจะกรองทุกอย่างออกจากน้ำได้หมด ต้องถามตัวเองว่าต้องการกรองอะไรออก ไปบ้าง เช่น คลอรีน ไนเตรด ตะกั่ว ฯลฯ และเลือกฟิลเตอร์ หรือไส้กรองให้เหมาะสม เครื่องกรองแบบที่บรรจุสารกรองที่เป็นถ่านและอนุภาคเรซินนั้น ถ่านจะดูดซับอินทรียสารเล็กๆ ขจัดรสและกลิ่นไม่พึงประสงค์และทำลายคลอรีน ขณะที่เรซินที่ดูเหมือนเม็ดทรายจะทำให้น้ำปราศจากประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระและเปลี่ยนสถานภาพ ของตัวกลางบางชนิดเช่น เหล็กเป็นไฮโดรเจนอิออน หรือเปลี่ยนเกลือธรรมชาติเป็นอิออน ไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นด่าง ครื่องกรองแบบนี้เมื่อกรองแล้วจะยังมีแบคทีเรียหลงเหลืออยู่ในเครื่อง จึงควรเปลี่ยนไส้กรองบ่อยๆ และตรวจเซ็คความเป็นกรดด่าง ของน้ำทุกครั้งที่ใช้
การใช้น้ำบาดาลอย่างชาญฉลาด (Wise Use of Groundwater)
น้ำ บาดาลเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมากต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต เพราะน้ำคือชีวิต โดยเฉพาะปัจจุบันมีการพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย อันเนื่องมาจากลักษณะเด่นของน้ำบาดาล คือ
1. คุณภาพค่อนข้างคงที่
2. อุณหภูมิค่อนข้างคงที่
3.ใช้พื้นที่และการลงทุนต่อหน่วยต่ำ
4.ไม่ค่อยผันแปรตามฤดูกาลปริมาณ
5. การลงทุนต่อปริมาณน้ำที่ได้ ต่ำกว่าน้ำผิวดิน
ด้วยลักษณะเด่นดังกล่าว จากอดีตจนถึงปัจจุบันก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้าน ดังคำกล่าว ว่า" Water too much, too little , too dirty" เราจึงควรที่จะใช้น้ำบาดาลอย่างชาญฉลาด ซึ่งมี หลักสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1.การเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บของแหล่งน้ำบาดาล โดยมุ่งที่จะทำสห้มีปริมาณน้ำบาดาลในแหล่งกักเก็บมากที่สุด ซึ่งก็คือ การใช้น้ำบาดาลในเชิงอนุรักษ์ โดยอาจใช้มาตรการทางกฎหมายหรือเศรษฐศาสตร์
2. การป้องกันคุณภาพของน้ำบาดาล โดยมุ่งที่จะให้เกิดการปนเปื้อนในน้ำบาดาลน้อยที่สุด ซึ่งจำเป็ต้องกระตุ้นให้ผู้ใช้รู้ว่า การกระทำบนพื้นดินและใต้ดินทุกอย่าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบาดาลด้วย
3.การใช้น้ำบาดาลอย่างมีคุณค่าเและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งให้ผู้ใช้มองเห็นความสำคัญของน้ำบาดาล ซึ่งนำมาใช้และผลที่เกิดขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว
1. คุณภาพค่อนข้างคงที่
2. อุณหภูมิค่อนข้างคงที่
3.ใช้พื้นที่และการลงทุนต่อหน่วยต่ำ
4.ไม่ค่อยผันแปรตามฤดูกาลปริมาณ
5. การลงทุนต่อปริมาณน้ำที่ได้ ต่ำกว่าน้ำผิวดิน
ด้วยลักษณะเด่นดังกล่าว จากอดีตจนถึงปัจจุบันก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้าน ดังคำกล่าว ว่า" Water too much, too little , too dirty" เราจึงควรที่จะใช้น้ำบาดาลอย่างชาญฉลาด ซึ่งมี หลักสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1.การเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บของแหล่งน้ำบาดาล โดยมุ่งที่จะทำสห้มีปริมาณน้ำบาดาลในแหล่งกักเก็บมากที่สุด ซึ่งก็คือ การใช้น้ำบาดาลในเชิงอนุรักษ์ โดยอาจใช้มาตรการทางกฎหมายหรือเศรษฐศาสตร์
2. การป้องกันคุณภาพของน้ำบาดาล โดยมุ่งที่จะให้เกิดการปนเปื้อนในน้ำบาดาลน้อยที่สุด ซึ่งจำเป็ต้องกระตุ้นให้ผู้ใช้รู้ว่า การกระทำบนพื้นดินและใต้ดินทุกอย่าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำบาดาลด้วย
3.การใช้น้ำบาดาลอย่างมีคุณค่าเและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งให้ผู้ใช้มองเห็นความสำคัญของน้ำบาดาล ซึ่งนำมาใช้และผลที่เกิดขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว
ระบบพิกัด ( Coordinate System )
ระบบพิกัด (Coordinate System)
เป็นระบบที่สร้างขึ้นสําหรับใช้อ้างอิงในการกําหนดตําแหน่ง หรือบอกตําแหน่งพื้นโลกจากแผนที่มีลักษณะเป็น
ตารางโครงข่ายที่เกิดจากตัดกันของเส้น ตรงสองชุดที่ถูกกําหนดให้วางตัวในแนวเหนือ-ใต้
และแนวตะวันออก- ตะวันตก ตามแนวของจุดศูนย์กําเนิด (Origin) ที่กําหนดขึ้น ค่าพิกัดที่ใช้อ้างอิงในการบอกตําแหน่งต่างๆ จะใช้ค่าของหน่วยที่นับออกจากจุดศูนย์กําเนิดเป็นระยะเชิงมุม (Degree) หรือเป็นระยะทาง (Distance) ไปทางเหนือหรือใต้และตะวันออกหรือตะวันตก ตามตําแหน้งของตําบลที่ต้องการหาค่าพิกัดที่กําหนดตําแหน่งต่างๆ จะถูกเรียกอ้างอิงเป็นตัวเลขในแนวตั้งและแนวนอนตามหน่วยวัดระยะใช้วัดสํา หรับระบบพิกัดที่ใช้อ้างอิงกําหนดตําแหน่งบนแผนที่ ที่นิยมใช้กับแผนที่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ คือ
1) ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System)
2) ระบบพิกัดกริดแบบ UTM (Universal Transverse Mercator co-ordinate System)
ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System)
เป็นระบบพิกัดที่กําหนดตําแหน่งต่างๆบนพื้นโลก ด้วยวิธีการอ้างอิงบอกตําแหน่งเป็นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด (Latitude)
และ ลองติจูด (Longtitude) ตามระยะเชิงมุมที่ห่างจากศูนย์กําเนิด (Origin) ของละติจูดและลองติจูด
ที่กําหนดขึ้นสําหรับศูนย์กําเนิดของละติจูด (Origin of Latitude) นั้นกําหนดขึ้นจากแนวระดับ
ที่ ตัดผ่านศูนย์กลางของโลกและตั้งฉากกับแกนหมุน เรียกแนวระนาบศูนย์กําเนิดนั้นว่า เส้นศูนย์สูตร (Equator) ซึ่งแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ฉะนั้นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด
จะเป็นค่าเชิงมุมที่เกิดจากมุมที่ศูนย์กลางของโลก กับแนวระดับฐานกําเนิดมุมที่เส้นศูนย์สูตร
ที่วัดค่าของมุมออกไปทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ค่าของมุมจะสิ้นสุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มีค่าเชิงมุม 90 องศาพอดี ดังนั้นการใช้ค่าระยะเชิงมุมของละติจูดอ้างอิงบอกตําแหน่งต่างๆ นอกจากจะกําหนดเรียกค่าวัดเป็น องศาลิปดา และฟิลิปดา แล้วจะบอกซีกโลกเหนือหรือใต้กํากับด้วยเสมอ
ระบบพิกัดกริดแบบ UTM
(Universal Transverse Mercator co-ordinate System)
พิกัดกริด UTM (Universal Transverse Marcator) เป็นระบบตารางกริดที่ใช้ช่วยในการกําหนดตําแหน่งและใช้อ้างอิงในการบอกตําแห น่ง
ที่นิยมใช้กับแผนที่ในกิจการทหารของประเทศ ต่าง ๆ เกือบทั่วโลกในปัจจุบัน เพราะเป็นระบบตารางกริดที่มีขนาดรูปร่างเท่ากันทุกตารางและมีวิธีการกําหน ดบอกค่าพิกัดที่ง่าย
และถูกต้องเป็นระบบกริดที่นําเอาเส้นโครงแผนที่แบบ Universal Transverse Mercator Projection
ของ Gauss -Krueger มาใช้ดัดแปลงการถ่ายทอดรายละเอียดของพื้นผิวโลกให้รูปทรงกระบอก Mercator Projection
อยู่ในตําแหน่ง Mercator Projection (แกนของรูปทรงกระบอกจะทับกับแนวเส้นอิเควเตอร์ และตั้งฉากกับแนวแกนของขั้วโลก) ประเทศไทยเราได้นําเอาเส้นโครงแผนที่แบบ UTM นี้มาใช้กับการทําแผนที่ เป็นชุด L 7017
ที่ใช้ในปัจจุบันแผนที่ระบบพิกัดกริด ที่ใช้เส้นโครงแผนที่แบบ UTM
เป็นระบบเส้นโครงชนิดหนึ่งที่ใช้ผิวรูปทรงกระบอกเป็นผิวแสดงเส้นเมริเดียน (หรือเส้นลองติจูด)
และเส้นละติจูดของโลก โดยใช้ทรงกระบอกตัดโลกระหว่างละติจูด 84องศาเหนือ และ 80 องศาใต้ในลักษณะแกนรูปทรงกระบอกแล้วทํามุมกับแกนโลก 90 องศารอบโลก แบ่งออกเป็น 60 โซนๆ ละ 6 องศา
โซนที่ 1 อยู่ระหว่าง 180 องศา กับ 174 องศาตะวันตก และมีลองติจูด 177 องศาตะวันตก
เป็นเมริเดียนย่านกลาง (Central Meridian) มีเลขกํากับแต่ละโซนจาก 1 ถึง 60 โดย นับจากซ้าย
ไปทางขวาระหว่างละติจูด 84 องศาเหนือ 80 องศาใต้ แบ่งออกเป็น 2 ช่อง ช่องละ 8 องศา
ยกเว้นช่องสุดท้าย เป็น 12 องศา โดยเริ่มนับตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ ขึ้นไป ทางเหนือ
ให้ช่องแรกเป็นอักษร C และช่องสุดท้ายเป็นอักษร X (ยกเว้น I และ O)
จากการแบ่งตามที่กล่าวแล้วจะเห็นพื้นที่ในเขตลองติจูด 180 องศาตะวันตก ถึง 180 องศาตะวันออก
และละติจูด 80 องศาใต้ ถึง 84 องศาเหนือ จะถูกแบ่งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1,200 รูป
แต่ละรูปมีขนาดกว้างยาว 6 องศา x 8 องศา
จํานวน 1,140 รูป และกว้างยาว 6 องศา x 12 องศา จํานวน 60 รูป
รูปสี่เหลี่ยมนี้เรียกว่า Grid Zone Designation (GZD) การเรียกชื่อ Grid Zone Designation
ประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ ระหว่างละติจูด 5 องศา 30 ลิปดา เหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดา เหนือ
และลองติจูดประมาณ 97 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก ถึง 105 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก
ดังนั้น ประเทศไทยจึงตกอยู?ในGZD 47N 47P 47Q 48N 48P และ 48 Q
ระบบพิกัดกริด UTM
att: http://www.dgr.go.th/water2006/technique37.html
เป็นระบบที่สร้างขึ้นสําหรับใช้อ้างอิงในการกําหนดตําแหน่ง หรือบอกตําแหน่งพื้นโลกจากแผนที่มีลักษณะเป็น
ตารางโครงข่ายที่เกิดจากตัดกันของเส้น ตรงสองชุดที่ถูกกําหนดให้วางตัวในแนวเหนือ-ใต้
และแนวตะวันออก- ตะวันตก ตามแนวของจุดศูนย์กําเนิด (Origin) ที่กําหนดขึ้น ค่าพิกัดที่ใช้อ้างอิงในการบอกตําแหน่งต่างๆ จะใช้ค่าของหน่วยที่นับออกจากจุดศูนย์กําเนิดเป็นระยะเชิงมุม (Degree) หรือเป็นระยะทาง (Distance) ไปทางเหนือหรือใต้และตะวันออกหรือตะวันตก ตามตําแหน้งของตําบลที่ต้องการหาค่าพิกัดที่กําหนดตําแหน่งต่างๆ จะถูกเรียกอ้างอิงเป็นตัวเลขในแนวตั้งและแนวนอนตามหน่วยวัดระยะใช้วัดสํา หรับระบบพิกัดที่ใช้อ้างอิงกําหนดตําแหน่งบนแผนที่ ที่นิยมใช้กับแผนที่ในปัจจุบัน มีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ คือ
1) ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System)
2) ระบบพิกัดกริดแบบ UTM (Universal Transverse Mercator co-ordinate System)
ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Coordinate System)
เป็นระบบพิกัดที่กําหนดตําแหน่งต่างๆบนพื้นโลก ด้วยวิธีการอ้างอิงบอกตําแหน่งเป็นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด (Latitude)
และ ลองติจูด (Longtitude) ตามระยะเชิงมุมที่ห่างจากศูนย์กําเนิด (Origin) ของละติจูดและลองติจูด
ที่กําหนดขึ้นสําหรับศูนย์กําเนิดของละติจูด (Origin of Latitude) นั้นกําหนดขึ้นจากแนวระดับ
ที่ ตัดผ่านศูนย์กลางของโลกและตั้งฉากกับแกนหมุน เรียกแนวระนาบศูนย์กําเนิดนั้นว่า เส้นศูนย์สูตร (Equator) ซึ่งแบ่งโลกออกเป็นซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ฉะนั้นค่าระยะเชิงมุมของละติจูด
จะเป็นค่าเชิงมุมที่เกิดจากมุมที่ศูนย์กลางของโลก กับแนวระดับฐานกําเนิดมุมที่เส้นศูนย์สูตร
ที่วัดค่าของมุมออกไปทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ค่าของมุมจะสิ้นสุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มีค่าเชิงมุม 90 องศาพอดี ดังนั้นการใช้ค่าระยะเชิงมุมของละติจูดอ้างอิงบอกตําแหน่งต่างๆ นอกจากจะกําหนดเรียกค่าวัดเป็น องศาลิปดา และฟิลิปดา แล้วจะบอกซีกโลกเหนือหรือใต้กํากับด้วยเสมอ
ระบบพิกัดกริดแบบ UTM
(Universal Transverse Mercator co-ordinate System)
พิกัดกริด UTM (Universal Transverse Marcator) เป็นระบบตารางกริดที่ใช้ช่วยในการกําหนดตําแหน่งและใช้อ้างอิงในการบอกตําแห น่ง
ที่นิยมใช้กับแผนที่ในกิจการทหารของประเทศ ต่าง ๆ เกือบทั่วโลกในปัจจุบัน เพราะเป็นระบบตารางกริดที่มีขนาดรูปร่างเท่ากันทุกตารางและมีวิธีการกําหน ดบอกค่าพิกัดที่ง่าย
และถูกต้องเป็นระบบกริดที่นําเอาเส้นโครงแผนที่แบบ Universal Transverse Mercator Projection
ของ Gauss -Krueger มาใช้ดัดแปลงการถ่ายทอดรายละเอียดของพื้นผิวโลกให้รูปทรงกระบอก Mercator Projection
อยู่ในตําแหน่ง Mercator Projection (แกนของรูปทรงกระบอกจะทับกับแนวเส้นอิเควเตอร์ และตั้งฉากกับแนวแกนของขั้วโลก) ประเทศไทยเราได้นําเอาเส้นโครงแผนที่แบบ UTM นี้มาใช้กับการทําแผนที่ เป็นชุด L 7017
ที่ใช้ในปัจจุบันแผนที่ระบบพิกัดกริด ที่ใช้เส้นโครงแผนที่แบบ UTM
เป็นระบบเส้นโครงชนิดหนึ่งที่ใช้ผิวรูปทรงกระบอกเป็นผิวแสดงเส้นเมริเดียน (หรือเส้นลองติจูด)
และเส้นละติจูดของโลก โดยใช้ทรงกระบอกตัดโลกระหว่างละติจูด 84องศาเหนือ และ 80 องศาใต้ในลักษณะแกนรูปทรงกระบอกแล้วทํามุมกับแกนโลก 90 องศารอบโลก แบ่งออกเป็น 60 โซนๆ ละ 6 องศา
โซนที่ 1 อยู่ระหว่าง 180 องศา กับ 174 องศาตะวันตก และมีลองติจูด 177 องศาตะวันตก
เป็นเมริเดียนย่านกลาง (Central Meridian) มีเลขกํากับแต่ละโซนจาก 1 ถึง 60 โดย นับจากซ้าย
ไปทางขวาระหว่างละติจูด 84 องศาเหนือ 80 องศาใต้ แบ่งออกเป็น 2 ช่อง ช่องละ 8 องศา
ยกเว้นช่องสุดท้าย เป็น 12 องศา โดยเริ่มนับตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ ขึ้นไป ทางเหนือ
ให้ช่องแรกเป็นอักษร C และช่องสุดท้ายเป็นอักษร X (ยกเว้น I และ O)
จากการแบ่งตามที่กล่าวแล้วจะเห็นพื้นที่ในเขตลองติจูด 180 องศาตะวันตก ถึง 180 องศาตะวันออก
และละติจูด 80 องศาใต้ ถึง 84 องศาเหนือ จะถูกแบ่งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 1,200 รูป
แต่ละรูปมีขนาดกว้างยาว 6 องศา x 8 องศา
จํานวน 1,140 รูป และกว้างยาว 6 องศา x 12 องศา จํานวน 60 รูป
รูปสี่เหลี่ยมนี้เรียกว่า Grid Zone Designation (GZD) การเรียกชื่อ Grid Zone Designation
ประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ ระหว่างละติจูด 5 องศา 30 ลิปดา เหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดา เหนือ
และลองติจูดประมาณ 97 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก ถึง 105 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก
ดังนั้น ประเทศไทยจึงตกอยู?ในGZD 47N 47P 47Q 48N 48P และ 48 Q
ระบบพิกัดกริด UTM
att: http://www.dgr.go.th/water2006/technique37.html
03 เมษายน 2554
02 เมษายน 2554
01 เมษายน 2554
ความเป็นมาของแผนที่ประเทศไทย
ความเป็นมาของแผนที่ประเทศไทย
ประวัติการ ทำแผนที่ของประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คนไทยนิยมทำแผนที่ที่เรียกว่า ลายแทง หมายถึงแผนที่ที่นำไปสู่แหล่งมหาสมบัติ แต่แผนที่ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของความลับมีเก็บไว้เฉพาะตัว ไม่แพร่หลายเหมือนแผนที่ทั่วไปแผนที่ของไทย มีปรากฏอยู่ในแผนที่โลกของ ปโตเลมี ( ptolamy )เป็นนักปราชญ์ชาวกรีซที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง มีชีวิตอยู่ประมาณ ค.ศ 90 – 168 ได้รวบรวมความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ไว้ 8 เล่ม ชื่อ geographiaแผนที่ประเทศไทยนับว่าเก่าแก่ที่สุด คือ แผนที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 – 1912 เริ่มจริงจังเมื่อรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือใน พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ นายเฮนรี่ อาสาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ และในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลไทยได้จ้างชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ โดยมีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมเพื่อโยงหลักฐานทางราบจากอินเดียผ่านพม่าเข้า สู่ไทยทางจังหวัดกาญจนบุรี ถึงกรุงเทพ ฯ และโยงต่อไปยังลาว เขมรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประสบปัญหาในเรื่องการขาดแคลนแผนที่ภูมิประเทศที่ใช้ในกิจการทหาร และการวางแผนป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือ โดย ส่งหน่วยงานทำแผนที่ มาทำการสำรวจและถ่ายภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ ขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 ทั่วประเทศ ซึ่งต่อมากรมแผนที่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน
ประวัติการ ทำแผนที่ของประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด คนไทยนิยมทำแผนที่ที่เรียกว่า ลายแทง หมายถึงแผนที่ที่นำไปสู่แหล่งมหาสมบัติ แต่แผนที่ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของความลับมีเก็บไว้เฉพาะตัว ไม่แพร่หลายเหมือนแผนที่ทั่วไปแผนที่ของไทย มีปรากฏอยู่ในแผนที่โลกของ ปโตเลมี ( ptolamy )เป็นนักปราชญ์ชาวกรีซที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่ง มีชีวิตอยู่ประมาณ ค.ศ 90 – 168 ได้รวบรวมความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ไว้ 8 เล่ม ชื่อ geographiaแผนที่ประเทศไทยนับว่าเก่าแก่ที่สุด คือ แผนที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ต้นกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 – 1912 เริ่มจริงจังเมื่อรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือใน พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ นายเฮนรี่ อาสาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ และในปี พ.ศ. 2525 รัฐบาลไทยได้จ้างชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ โดยมีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมเพื่อโยงหลักฐานทางราบจากอินเดียผ่านพม่าเข้า สู่ไทยทางจังหวัดกาญจนบุรี ถึงกรุงเทพ ฯ และโยงต่อไปยังลาว เขมรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลประสบปัญหาในเรื่องการขาดแคลนแผนที่ภูมิประเทศที่ใช้ในกิจการทหาร และการวางแผนป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือ โดย ส่งหน่วยงานทำแผนที่ มาทำการสำรวจและถ่ายภาพทางอากาศเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ ขนาดมาตราส่วน 1 : 50,000 ทั่วประเทศ ซึ่งต่อมากรมแผนที่ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงใหม่ และใช้ประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของแผนที่
ประวัติความเป็นมาของแผนที่
มนุษย์ รู้จักบันทึกสิ่งต่างๆ ลงบนแผนที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบคือ แผนที่ที่ทำด้วยดินเหนียวแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่งในเมโสเดเมีย เมื่อสมัย 2300 ปีก่อนพุทธศักราช ขุดพบที่เมืองกาเซอรน์ บริเวณลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณลักษณะและรายละเอียดบนแผนที่แสดงบริเวณลุ่มน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างหุบเขา สัญลักษณ์ของภูเขาคล้ายเกล็ดปลาและยังบอกทิศทางไว้ที่ขอบของแผนที่ด้วย
มนุษย์ รู้จักบันทึกสิ่งต่างๆ ลงบนแผนที่มาตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ แผนที่ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบคือ แผนที่ที่ทำด้วยดินเหนียวแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่งในเมโสเดเมีย เมื่อสมัย 2300 ปีก่อนพุทธศักราช ขุดพบที่เมืองกาเซอรน์ บริเวณลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณลักษณะและรายละเอียดบนแผนที่แสดงบริเวณลุ่มน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างหุบเขา สัญลักษณ์ของภูเขาคล้ายเกล็ดปลาและยังบอกทิศทางไว้ที่ขอบของแผนที่ด้วย
การแสดงข้อมูลในแผนที่
ในการทำแผนที่ทุกชนิดนอกจากจะต้องเขียนแผนที่ให้ถูกต้องตามมาตราส่วนและทิศทางแล้วยังต้องมีวิธีการแสดงข้อมูลให้เหมาะสมด้วย เพื่อว่าผู้อ่านแผนที่จะได้สามารถเข้าใจแผนที่นั้นโดยถูกต้อง ลักษณะของข้อมูลที่นำมาแสดงในแผนที่โดยทั่วๆ ไปมีอยู่ 5 ประการด้วยกัน คือ
1. การแสดงข้อมูลเชิงที่ตั้งและอาณาเขต
2. การแสดงข้อมูลเชิงปริมาณ
3. การแสดงข้อมูลเชิงความหนาแน่น
4. การแสดงข้อมูลเชิงค่าเท่า
5. การแสดงข้อมูลเชิงการเคลื่อนที่
1. การแสดงข้อมูลเชิงที่ตั้งและอาณาเขต
2. การแสดงข้อมูลเชิงปริมาณ
3. การแสดงข้อมูลเชิงความหนาแน่น
4. การแสดงข้อมูลเชิงค่าเท่า
5. การแสดงข้อมูลเชิงการเคลื่อนที่
การจำแนกชนิดของแผนที่
การจำแนกชนิดของแผนที่
ปัจจุบันการจำแนกชนิดของแผนที่ อาจจำแนกได้หลายแบบแล้วแต่จะยึดถือสิ่งใดเป็นหลักในการจำแนก เช่น
1. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
1.1 แผนที่ลายเส้น ( Line Map ) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของเส้น ซึ่งอาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใด ๆ ที่ประกอบเป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถนนแสดงด้วยเส้นคู่ขนาน อาคารแสดงด้วยเส้นประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม สัญลักษณ์ที่แสดงรายละเอียดเป็นรูปที่ประกอบด้วยลายเส้น แผนที่ ลายเส้นยังหมายรวมถึงแผนที่แบบแบนราบและแผนที่ทรวดทรง ซึ่งถ้ารายละเอียดที่แสดงประกอบด้วยลายเส้นแล้วถือว่าเป็นแผนที่ลายเส้นทั้งสิ้น
1.2 แผนที่ภาพถ่าย ( Photo Map ) เป็นแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดในแผนที่ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ ซึ่งอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม การผลิตแผนที่ทำด้วยวิธีการนำเอาภาพถ่ายมาทำการดัดแก้ แล้วนำมาต่อเป็นภาพแผ่นเดียวกันในบริเวณที่ต้องการ แล้วนำมาใส่เส้นโครงพิกัด ใส่รายละเอียดประจำขอบระวาง แผนที่ภาพถ่ายสามารถทำได้รวดเร็ว แต่การอ่านค่อนข้างยากเพราะต้องอาศัยเครื่องมือและความชำนาญ
1.3 แผนที่แบบผสม ( Annotated Map ) เป็นแบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย โดยรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ ส่วนรายละเอียดที่สำคัญ ๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนนหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์แยกสีให้เห็นเด่นชัดปัจจุบันนิยมใช้มาก เพราะสะดวกและง่ายแก่การอ่าน มีทั้งแบบแบนราบ และแบบพิมพ์นูน ส่วนใหญ่มีสีมากกว่าสองสีขึ้นไป
2. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามขนาดของมาตราส่วน
ประเทศต่าง ๆ อาจแบ่งชนิดของแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนไม่เหมือนกัน ที่กล่าวต่อไปนี้เป็นการแบ่งแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนแบบหนึ่งเท่านั้น
2.1 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักภูมิศาสตร์
2.1.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็กว่า 1:1,000,000
2.1.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000
2.1.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
2.2 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักการทหาร
2.2.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วน 1:600,000 และเล็กกว่า
2.2.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:600,000 แต่เล็กกว่า 1:75,000
2.2.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:75,000 และใหญ่กว่า
3. การจำแนกชนิดแผนที่ตามลักษณะการใช้งานและชนิดของรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผนที่
3.1 แผนที่ทั่วไป (General Map) เป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปหรือที่เรียกว่า Base map
3.1.1 แผนที่แสดงทางราบ (Planimetric Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนผิวโลกเฉพาะสัณฐานทางราบเท่านั้น
3.1.2 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดทั้งทางแนวราบและแนวดิ่ง หรืออาจแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ
3.2 แผนที่พิเศษ (Special Map or Thematic Map) สร้างขึ้นบนแผนที่พื้นฐาน เพื่อใช้ในกิจการเฉพาะอย่าง
4. การจำแนกตามมาตรฐานของสมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ(ICA) สมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ ได้จำแนกชนิดแผนที่ออกเป็น 3 ชนิด
4.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) รวมทั้งผังเมืองและแผนที่ภูมิศาสตร์ เป็นแผนที่ที่ให้รายละเอียด โดยทั่วๆ ไป ของภูมิประเทศ โดยสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วนขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ และได้ข้อมูลมาจากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่มาตราส่วนเล็กบางทีเรียกว่าเป็นแผนที่ภูมิศาสตร์ (Geographical map) แผนที่ทั่วไป (General map) และแผนที่มาตราส่วนเล็กมากๆ ก็อาจอยู่ในรูปของแผนที่เล่ม (Atlas map)
4.2 ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบการเดินทาง โดยปกติจะเป็นแผนที่มาตราส่วนกลาง หรือมาตราส่วนเล็ก และแสดงเฉพาะสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้ เช่น ชาร์ตเดินเรือ ชาร์ตด้านอุทกศาสตร์ เป็นต้น
4.3 แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ปัจจุบันมีความสำคัญมากขึ้น เพราะสามารถใช้ประกอบการทำวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ การวางแผนและใช้ในงานด้านวิศวกรรม แผนที่ชนิดนี้จะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องลงไป เช่น แผนที่ดิน แผนที่ประชากร แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น
นอกจากที่กล่าวมานี้ เรายังสามารถจำแนกแผนที่โดยยึดหลักเกณฑ์อื่นๆ ได้แก่ พื้นที่ ครั้งที่พิมพ์ ฯลฯ แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะหลักเกณฑ์ ไม่แน่นอน
ปัจจุบันการจำแนกชนิดของแผนที่ อาจจำแนกได้หลายแบบแล้วแต่จะยึดถือสิ่งใดเป็นหลักในการจำแนก เช่น
1. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามลักษณะที่ปรากฏบนแผนที่ แบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
1.1 แผนที่ลายเส้น ( Line Map ) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดในพื้นที่ด้วยเส้นและองค์ประกอบของเส้น ซึ่งอาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง ท่อนเส้น หรือเส้นใด ๆ ที่ประกอบเป็นรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถนนแสดงด้วยเส้นคู่ขนาน อาคารแสดงด้วยเส้นประกอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม สัญลักษณ์ที่แสดงรายละเอียดเป็นรูปที่ประกอบด้วยลายเส้น แผนที่ ลายเส้นยังหมายรวมถึงแผนที่แบบแบนราบและแผนที่ทรวดทรง ซึ่งถ้ารายละเอียดที่แสดงประกอบด้วยลายเส้นแล้วถือว่าเป็นแผนที่ลายเส้นทั้งสิ้น
1.2 แผนที่ภาพถ่าย ( Photo Map ) เป็นแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดในแผนที่ที่ได้จากการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ ซึ่งอาจถ่ายภาพจากเครื่องบินหรือดาวเทียม การผลิตแผนที่ทำด้วยวิธีการนำเอาภาพถ่ายมาทำการดัดแก้ แล้วนำมาต่อเป็นภาพแผ่นเดียวกันในบริเวณที่ต้องการ แล้วนำมาใส่เส้นโครงพิกัด ใส่รายละเอียดประจำขอบระวาง แผนที่ภาพถ่ายสามารถทำได้รวดเร็ว แต่การอ่านค่อนข้างยากเพราะต้องอาศัยเครื่องมือและความชำนาญ
1.3 แผนที่แบบผสม ( Annotated Map ) เป็นแบบที่ผสมระหว่างแผนที่ลายเส้นกับแผนที่ภาพถ่าย โดยรายละเอียดที่เป็นพื้นฐานส่วนใหญ่จะเป็นรายละเอียดที่ได้จากการถ่ายภาพ ส่วนรายละเอียดที่สำคัญ ๆ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ถนนหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์แยกสีให้เห็นเด่นชัดปัจจุบันนิยมใช้มาก เพราะสะดวกและง่ายแก่การอ่าน มีทั้งแบบแบนราบ และแบบพิมพ์นูน ส่วนใหญ่มีสีมากกว่าสองสีขึ้นไป
2. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามขนาดของมาตราส่วน
ประเทศต่าง ๆ อาจแบ่งชนิดของแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนไม่เหมือนกัน ที่กล่าวต่อไปนี้เป็นการแบ่งแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนแบบหนึ่งเท่านั้น
2.1 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักภูมิศาสตร์
2.1.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็กว่า 1:1,000,000
2.1.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000
2.1.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
2.2 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักการทหาร
2.2.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วน 1:600,000 และเล็กกว่า
2.2.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:600,000 แต่เล็กกว่า 1:75,000
2.2.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:75,000 และใหญ่กว่า
3. การจำแนกชนิดแผนที่ตามลักษณะการใช้งานและชนิดของรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผนที่
3.1 แผนที่ทั่วไป (General Map) เป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปหรือที่เรียกว่า Base map
3.1.1 แผนที่แสดงทางราบ (Planimetric Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนผิวโลกเฉพาะสัณฐานทางราบเท่านั้น
3.1.2 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดทั้งทางแนวราบและแนวดิ่ง หรืออาจแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ
3.2 แผนที่พิเศษ (Special Map or Thematic Map) สร้างขึ้นบนแผนที่พื้นฐาน เพื่อใช้ในกิจการเฉพาะอย่าง
4. การจำแนกตามมาตรฐานของสมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ(ICA) สมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ ได้จำแนกชนิดแผนที่ออกเป็น 3 ชนิด
4.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) รวมทั้งผังเมืองและแผนที่ภูมิศาสตร์ เป็นแผนที่ที่ให้รายละเอียด โดยทั่วๆ ไป ของภูมิประเทศ โดยสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วนขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ และได้ข้อมูลมาจากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่มาตราส่วนเล็กบางทีเรียกว่าเป็นแผนที่ภูมิศาสตร์ (Geographical map) แผนที่ทั่วไป (General map) และแผนที่มาตราส่วนเล็กมากๆ ก็อาจอยู่ในรูปของแผนที่เล่ม (Atlas map)
4.2 ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบการเดินทาง โดยปกติจะเป็นแผนที่มาตราส่วนกลาง หรือมาตราส่วนเล็ก และแสดงเฉพาะสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้ เช่น ชาร์ตเดินเรือ ชาร์ตด้านอุทกศาสตร์ เป็นต้น
4.3 แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ปัจจุบันมีความสำคัญมากขึ้น เพราะสามารถใช้ประกอบการทำวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ การวางแผนและใช้ในงานด้านวิศวกรรม แผนที่ชนิดนี้จะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องลงไป เช่น แผนที่ดิน แผนที่ประชากร แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น
นอกจากที่กล่าวมานี้ เรายังสามารถจำแนกแผนที่โดยยึดหลักเกณฑ์อื่นๆ ได้แก่ พื้นที่ ครั้งที่พิมพ์ ฯลฯ แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะหลักเกณฑ์ ไม่แน่นอน
การศึกษาแผนที่ เบื้องต้น
บทนำเกี่ยวกับแผนที่
แผนที่เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์ใช้ช่วยในการดำเนินกิจการงานต่างๆ ตลอดจน การศึกษาหาความรู้ในด้านวิชาการ และในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปัจจุบัน ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ แผนที่เปรียบเสมือนเป็นชวเลขที่ดี ยิ่งของนักภูมิศาสตร์ อันที่จะเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ให้ละเอียดลึกชึ้ง
ความหมายของแผนที่
พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของแผนที่ไว้ว่า “แผนที่ คือ สิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลกทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่ปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบ ด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น”
แผนที่ หมายถึง การนำเอารูปภาพสิ่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก (Earth’ surface) มาย่อส่วนให้เล็กลง แล้วนำมาเขียนลงกระดาษแผ่นราบ สิ่งต่างๆบนพื้นโลกประกอบ ไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ(nature)และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น (manmade) สิ่งเหล่านี้แสดงบนแผนที่โดยใช้สี เส้นหรือรูปร่างต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แทน
ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่
แผนที่มีความสำคัญ คือเป็นเครื่องช่วยในการดำเนินงาน หรือประกอบกิจการต่างๆมนุษย์รู้จัก ใช้ แผนที่มาตั้งแต่โบราณ ประโยชน์ ของแผนที่ในสมัยนั้น คือใช้เป็นเครื่องแสดงเส้นทางเดิน ถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารในทางภูมิศาสตร์ถือว่าแผนที่เป็นศูนย์รวมข้อมูลทางภูมิศาสตร์ มีความสำคัญต่อการศึกษาข้อมูลเพื่อประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางการเมือง ปัจจุบันแผนที่ถูกนำ
ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างกว้างขวางตามความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีจากการที่จำนวนประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นอย่าง รวดเร็ว ความจำเป็นในการวางผังเมืองให้ เหมาะสม กับการขยายตัวของชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติจึงเพิ่มมากตาม แผนที่จึงมีความสำคัญต่อ การนำข้อมูลไปคิดวิเคราะห์เพื่อหาศักยภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประโยชน์ของแผนที่มีมากมาย แต่ได้จัดไว้ ตามการดำเนินกิจกรรมใหญ่ๆ ดังนี้
ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างกว้างขวางตามความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีจากการที่จำนวนประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นอย่าง รวดเร็ว ความจำเป็นในการวางผังเมืองให้ เหมาะสม กับการขยายตัวของชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติจึงเพิ่มมากตาม แผนที่จึงมีความสำคัญต่อ การนำข้อมูลไปคิดวิเคราะห์เพื่อหาศักยภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประโยชน์ของแผนที่มีมากมาย แต่ได้จัดไว้ ตามการดำเนินกิจกรรมใหญ่ๆ ดังนี้
1. ประโยชน์ทางด้านการเมืองการปกครองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ ให้คงอยู่ จำเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องภูมิศาสตร์การเมือง หรือที่เรียกกันว่า "ภูมิรัฐศาสตร์" และเครื่องมือ ที่สำคัญของนักภูมิรัฐศาสตร์ ก็คือ แผนที่ เพื่อใช้ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และนำมาวางแผนดำเนินการเตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเช่น แนวพรมแดนระหว่างประเทศ จำเป็นต้องอาศัยแผนที่ในการวางแผนดำเนินการ เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง แผนที่ในกิจกรรมทางการเมืองนอกจากแผนที่แนวเขตแดนซึ่งสำคัญแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ต่าง ๆ มากมาย
2. ประโยชน์ทางด้านการทหารในการพิจารณาวางแผนทางยุทธศาสตร์ของทหาร จำเป็นต้อง หาข้อมูลหรือข่าวสารที่เกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ และตำแหน่งทางสิ่งแวดล้อมที่ถูก ต้องแน่นอนเกี่ยวกับระยะทาง ความสูง เส้นทาง ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ
3. ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เศรษฐกิจ เป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นอยู่ ของประชาชนภายในชาติ เพราะฉะนั้นทุกประเทศก็มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนเพื่อความมั่งคั่งและมั่นคงการดำเนินงานเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจของแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา แผนที่ เป็นสิ่งแรกที่ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยแผนที่เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบทำเลที่ตั้ง สภาพทางกายภาพแหล่งทรัพยากรและแผนที่ยังช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มากขึ้น ทำให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัดคือสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแผนที่เป็นสำคัญ และอาจช่วยให้การดำเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
4. ประโยชน์ทางด้านจากการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์ ทำให้สิ่งแวดล้อมทางสังคมเดิมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมต้องอาศัยการอ่านรายละเอียดในแผนที่ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อเปรียบเทียบกัน เพื่อประโยชน์ในการหาข้อมูล หรือสมมุติฐานของ เหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตเพื่อหามาตรการและวางแผนการป้องกันผลกระทบจาก ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่จะเกิดในอนาคตหรือเพื่อวางแผนพัฒนาสังคมไปในแนวทางที่ถูกต้องอีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการวาง ผังเมือง
ให้เหมาะสมกับการขยายตัวของชุมชนนอกจากนี้ในการศึกษาทางด้านโบราณคดีก็ต้องอาศัยแผนที่ เพื่อค้นหาแหล่งชุมชนโบราณอีกด้วย
5. ประโยชน์ด้านการเรียนการสอน แผนที่เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้นใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่าง ๆใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของพื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนำไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่ให้เหมาะสมกับการขยายตัวของชุมชนนอกจากนี้ในการศึกษาทางด้านโบราณคดีก็ต้องอาศัยแผนที่ เพื่อค้นหาแหล่งชุมชนโบราณอีกด้วย
6. ประโยชน์ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว แผนที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม
เห็นไหมว่า แผนที่มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล....
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)