ลูกหม่อนผลไม้สารพัดนึกนักวิจัยได้ศึกษาประโยชน์ของลูกหม่อนไว้มากมายหลายท่าน....
นายประทีป มีศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาผลหม่อนได้รับการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูป แบบ อาทิ น้ำผลไม้ ไวน์ แยม เยลลี่ และลูกอม เนื่องจากเป็นพืชผลที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น โรคไขข้ออักเสบ โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน หลายประเทศทั่วโลกได้นำมาใช้ประโยชน์ในเชิงสุขภาพเป็นเวลานาน ทั้งนี้ จากผลงานวิจัยล่าสุดพบว่า ผลหม่อนอบแห้งมีสารออกฤทธิ์ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทในภาวะต่างๆ เช่น โรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ยังไม่มีหน่วยงานใดๆ ทำได้มาก่อน
ผอ.สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ระบุว่า การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพด้านความจำจากผลหม่อน ได้ลงนามความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเริ่มต้นศึกษาเมื่อปีที่แล้ว จนกระทั่งค้นพบว่าหากนำผลหม่อนสุกไปอบแห้งแล้วบดเป็นผงใส่แคปซูลมารับประทาน จะช่วยป้องกันรักษาโรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมากคือ สมองเสื่อม ความจำบกพร่อง และอาการหลงลืมได้ อีกทั้งผลหม่อนในแต่ละช่วงระยะเวลา ก็มีคุณค่าทางสารอาหารแตกต่างกัน จึงต้องรู้วิธีเก็บเกี่ยวและกระบวนการแปรรูปให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
เขาบอกว่า ขณะนี้ได้ทดสอบในห้องปฏิบัติการกับสัตว์ทดลอง และทราบขนาดยาที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วย ซึ่งต้องทดสอบด้วยการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และ จดจำ โดยคาดว่าขั้นตอนทางคลินิกจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ ก่อนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนสามารถผลิตจำหน่ายได้ปีหน้า นอกจากนี้ ตนได้หารือกับนักวิจัยแล้ว คิดว่าจะต้องนำเทคนิคหรือกระบวนการวิจัยผลหม่อนมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของสมองและป้องกันโรคความจำเสื่อม ไปจดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาในเร็วๆ นี้
"จากตัวเลขของสาธารณสุข ปัจจุบันมีคนไทยป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ที่เข้ารับการรักษาประมาณ 720,000 คน จะต้องรับประทานยาที่นำเข้าจากต่างประเทศวันละ 1 เม็ด ราคา 250 บาท แต่ผลิตภัณฑ์จากผลหม่อนมีต้นทุนอยู่ที่เม็ดละ 2 บาทเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าจะช่วยลดงบประมาณที่ต้องซื้อยาต่างประเทศได้มหาศาล"
นายประทีปกล่าวอีกว่า ปริมาณผลหม่อนที่มีอยู่ในทุกวันนี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ที่ต้องการนำไปบริโภคและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ พื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนมีประมาณ 500 ไร่ เราจึงต้องเร่งขยายพื้นที่ปลูกหม่อนเพิ่มมากขึ้นอีก 500 ไร่ รวมทั้งพยายามศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งการหาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนให้ติดดอกออกผลได้ตลอดปี การหาวิธีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูหม่อน การเก็บรักษาผลหม่อนให้ได้เป็นระยะเวลานาน ราคาถูก สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ท้องตลาด และประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคยอมรับผลิตภัณฑ์จากผลหม่อนให้เป็นที่แพร่หลาย อีกด้วย.
ที่มา : http://women.thaiza.com/
นายประทีป มีศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาผลหม่อนได้รับการวิจัยและพัฒนาการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูป แบบ อาทิ น้ำผลไม้ ไวน์ แยม เยลลี่ และลูกอม เนื่องจากเป็นพืชผลที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น โรคไขข้ออักเสบ โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน หลายประเทศทั่วโลกได้นำมาใช้ประโยชน์ในเชิงสุขภาพเป็นเวลานาน ทั้งนี้ จากผลงานวิจัยล่าสุดพบว่า ผลหม่อนอบแห้งมีสารออกฤทธิ์ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทในภาวะต่างๆ เช่น โรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ยังไม่มีหน่วยงานใดๆ ทำได้มาก่อน
ผอ.สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ระบุว่า การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพด้านความจำจากผลหม่อน ได้ลงนามความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเริ่มต้นศึกษาเมื่อปีที่แล้ว จนกระทั่งค้นพบว่าหากนำผลหม่อนสุกไปอบแห้งแล้วบดเป็นผงใส่แคปซูลมารับประทาน จะช่วยป้องกันรักษาโรคที่ผู้สูงอายุเป็นกันมากคือ สมองเสื่อม ความจำบกพร่อง และอาการหลงลืมได้ อีกทั้งผลหม่อนในแต่ละช่วงระยะเวลา ก็มีคุณค่าทางสารอาหารแตกต่างกัน จึงต้องรู้วิธีเก็บเกี่ยวและกระบวนการแปรรูปให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
เขาบอกว่า ขณะนี้ได้ทดสอบในห้องปฏิบัติการกับสัตว์ทดลอง และทราบขนาดยาที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วย ซึ่งต้องทดสอบด้วยการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และ จดจำ โดยคาดว่าขั้นตอนทางคลินิกจะเสร็จสิ้นภายในปีนี้ ก่อนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ภาคเอกชนสามารถผลิตจำหน่ายได้ปีหน้า นอกจากนี้ ตนได้หารือกับนักวิจัยแล้ว คิดว่าจะต้องนำเทคนิคหรือกระบวนการวิจัยผลหม่อนมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่ม ประสิทธิภาพการทำงานของสมองและป้องกันโรคความจำเสื่อม ไปจดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาในเร็วๆ นี้
"จากตัวเลขของสาธารณสุข ปัจจุบันมีคนไทยป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ที่เข้ารับการรักษาประมาณ 720,000 คน จะต้องรับประทานยาที่นำเข้าจากต่างประเทศวันละ 1 เม็ด ราคา 250 บาท แต่ผลิตภัณฑ์จากผลหม่อนมีต้นทุนอยู่ที่เม็ดละ 2 บาทเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าจะช่วยลดงบประมาณที่ต้องซื้อยาต่างประเทศได้มหาศาล"
นายประทีปกล่าวอีกว่า ปริมาณผลหม่อนที่มีอยู่ในทุกวันนี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ที่ต้องการนำไปบริโภคและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ พื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนมีประมาณ 500 ไร่ เราจึงต้องเร่งขยายพื้นที่ปลูกหม่อนเพิ่มมากขึ้นอีก 500 ไร่ รวมทั้งพยายามศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งการหาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนให้ติดดอกออกผลได้ตลอดปี การหาวิธีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูหม่อน การเก็บรักษาผลหม่อนให้ได้เป็นระยะเวลานาน ราคาถูก สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ท้องตลาด และประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคยอมรับผลิตภัณฑ์จากผลหม่อนให้เป็นที่แพร่หลาย อีกด้วย.
ที่มา : http://women.thaiza.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น