พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
มี คำแปลกใหม่สำหรับหูคนไทยมาคำหนึ่งในการเฉลิมฉลองครั้งนี้คือคำว่า “พุทธชยันตี” แน่นอนว่าคำนี้เป็นภาษาฮินดี (หรือภาษาอินเดีย) เมื่อจะมีคำถามว่าแล้วทำไมต้องไปเอาภาษาฮินดีมาใช้ในการเฉลิมฉลองครั้งนี้ กับชาวพุทธที่เป็นคนไทย คงตอบได้ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า เพราะที่ประเทศอินเดียเขาจัดงานฉลองโอกาสนี้ก่อนเราและเขาใช้คำนี้กันก่อน แล้ว ไทยเราจึงรับมาใช้ให้ตรงกันเพื่อแสดงออกให้โลกรู้ว่าชาวพุทธมีความเป็น เอกภาพ หากเราใช้เฉพาะภาษาไทยเราว่า “ฉลอง ๒๖ พุทธศตวรรษแห่งการตรัสรู้” ก็คงจะได้ แต่เราจะรู้และเข้าใจง่ายเฉพาะคนไทยเรา ไม่ทั่วไปแก่ชาวโลก แต่เมื่อพูดให้เป็นภาษาเดียวกัน ปัญหาเรื่องการทำความเข้าใจแก่ชาวโลกก็คงจะง่ายขึ้นไม่น้อย แต่ก็มาเป็นปัญหาสำหรับชาวพุทธไทยอยู่เหมือนกันเพราะคนไทยออกจะงงว่า “พุทธชยันตี คืออะไรกันแน่”
ผู้เขียนเริ่มคิดถึงงานฉลอง “๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้” เมื่อปลาย ๆ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ คิดเพิ่มหนักแน่นขึ้นพร้อมกับวางแผนจะจะต้องจัดงานฉลองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ แล้วก็มาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ และก็ได้มาทำจริงจังในขั้นเตรียมการตั้งแต่เริ่มต้นปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ สำหรับคำว่าพุทธชยันตี ซึ่งได้มีการนำมาใช้เป็นทางการในครั้งนี้ ได้มาทราบในที่ประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อสมัยประชุมคณะกรรมการมหาเถรสมาคม แต่ครั้งนั้นมี “สัม” นำหน้าออกมาด้วยเป็น “สัมพุทธชยันตี” โดยมีคำอธิบายว่าที่ต้องใช้ “สัม” เข้ามาเพราะเป็นการฉลอง ”การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” แต่พอเข้าประชุมอีกครั้งหนึ่งก็กลับมาเป็น “พุทธชยันตี” เช่นที่เป็นอยู่บัดนี้
เห็นจะต้องตอบคำถามเสียทีละว่า “พุทธชยันตี” คือคำศัพท์คำหนึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาฮินดีหรือภาษาอินเดียปัจจุบัน แต่หากจะถามว่าแล้วคำนี้แปลว่าอะไร ก็ตอบได้ว่า ศัพท์ว่า “พุทธชยันตี” นี้เป็นศัพท์ใหม่ที่ชาวพุทธคิดสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นชื่องานฉลองโอกาสพิเศษ ครบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในมหามงคลสมัยที่พระพุทธศาสนายืนยาวมาครบ ๒๕๐๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ก็มีการฉลองอันยิ่งใหญ่ไปบรรดาชาวพุทธทั่วโลก แต่ใช้คำศัพท์เป็นชื่อเฉพาะงานว่า “พุทธชยันตี” เนื่องจากว่านั่นเป็นการนับพุทธศักราช ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี ส่วนการฉลองพุทธชยันตีครั้งนี้ มีความหมายพิเศษระบุเจาะจงถึงปีแห่งการตรัสรู้ ที่ให้เปลี่ยนจากพระฤๅษีสิทธัตถะเป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เพราะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ หรือทรงค้นคว้าแสวงหาจนพบสัจธรรม ในการจัดงานฉลองครั้งนี้เราจึงเรียกขานให้ตรงว่า “งานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีการตรัสรู้”
คำว่า “ชยันตี” แปลความหมายตรง ๆ ว่า “ชัยชนะ” ก็ได้ และว่า “เกิด” ก็ได้ ซึ่งเมื่อแปลว่าชัยชนะ ก็หมายถึง ๑) ได้ชัยชนะเหนือกิเลสและมารทั้งปวง ๒) ได้ชัยชนะเหนือความไม่รู้คืออวิชชาอย่างเด็ดขาด ๓) ได้ชัยชนะที่ทรงใช้ความเพียรพยายามค้นหาคำตอบเรื่องความทุกข์ได้อย่างครบ สมบูรณ์ เมื่อค้นพบก็ถือว่าได้ชัยชนะ แต่คนไทยเราคงจะคุ้นคำนี้ว่า “ชะยันโต” มากกว่า “ชะยันตี” เพราะเราคุ้นเคยกับภาษาบาลีมากกว่าภาษาฮินดี ส่วน ที่แปลว่า “เกิด” ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่า ชนยนฺตี, ชเนตฺตี, อุปฺปาโท, อุปปชฺชนํ, อุปปตฺติ, ซึ่งทุกคำแปลว่าเกิด หรือพุทธภาษิตที่ว่า ปิยโต ชายเต โสโก ความโศกย่อมเกิดจากสิ่งที่รักเป็นต้น แต่เนื่องจากทางประเทศศรีลังกา และอินเดียเขาเริ่มใช้เป็นชื่องานฉลองโอกาสพิเศษแห่งพระพุทธศาสนามาก่อนและ เขานิยมใช้คำว่า “ชะยันตี” เป็นภาษาฮินดี ไทยเราจึงใช้ตามเขาเพื่อแสดงความเป็นเอกภาพและง่ายในการประชาสัมพันธ์ใน ระดับนานาชาติด้วย ในคราวประชุมหมาเถรสมาคมเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคมศกนี้ จึงมีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่องานฉลองพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกครบ ๒๖๐๐ ปีครั้งนี้ว่า “งานฉลอง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า”
คำ ว่า “สัมพุทธะ” หรือ “สัมมาสัมพุทธะ” เกิดมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพระฤๅษีโพธิสัตว์สิทธัตถะได้ “ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง” แล้วเท่านั้น นั่นคือหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ทอดพระ เนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บป่วย คนตาย ทรงเห็นว่าเป็นปัญหาและทรงสรุปเบื้องต้นเป็นสมมติฐานทางการวิจัยว่าสภาพเช่น นั้น “เป็นความทุกข์” จะต้องมีสิ่งที่แก้กันคือ “ความสุข” ครั้นทรงพบเห็นสมณะก็มีพระดำริว่าน่าจะเป็นทางค้นหาให้พบความสุขได้ จึงตัดสินพระทัยออกทำงานวิจัยค้นหาความสุขเพื่อแก้ความทุกข์ให้ได้ ทรงใช้เวลาทำการวิจัยลองผิดลองถูกมาถึง ๖ ปี จากพระชนมายุ ๒๙ ถึงพระชนมายุ ๓๕ จึงวิจัยสำเร็จสมบูรณ์คือได้รู้ชัดว่า อะไรคือความทุกข์ อะไรคือสาเหตุแห่งความทุกข์ อะไรคือความดับลงอย่างเด็ดขาดแห่งความทุกข์ และอะไรคืออุบายวิธีให้ถึงความดับทุกข์อย่างเด็ดขาด เมื่อได้พบแล้วพระองค์จึงทรงประกาศว่า “เราได้รู้แล้ว” และได้เสนอผลงานวิจัยของพระองค์สู่สาธารณะชนอันมีผลมาถึงปัจจุบัน แต่การรู้ของพระองค์ไม่ใช่รู้เพียงเท่านั้น หากแต่ได้รู้สิ่งทั้งปวงตามเป็นจริงด้วย รู้ไปถึงเรื่องของจักรวาล พระองค์จึงได้พระนามอีกว่า “พระสัพพัญญู” แปลว่าผู้รู้สิ่งทั้งปวง และว่า “โลกวิทู” ผู้รู้โลกทั้งปวงเป็นต้น เพราะฉะนั้น การฉลองครั้งนี้จึงหมายถึงการฉลอง ๑) ความเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ๒) ฉลองความเกิดขึ้นในโลกของพระพุทธศาสนา ๓) ฉลองความปรากฏขึ้นในโลกของสัจธรรมที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ๔) ฉลองความที่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกมาครบ ๒๖๐๐ ปี
อนึ่ง ศัพท์ว่า “สัมมาสัมพุทธะ” ที่แปลว่า “ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ หรือ ผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง” หมายความว่าทรงค้นพบสัจธรรมเองโดยการค้นคว้าวิจัยของพระองค์เอง โดยไม่มีอาจารย์สอน บาง ครั้งก็มีผู้สงสัยว่า พระพุทธองค์ตรัสรู้เองโดยไม่มีอาจารย์ได้อย่างไร ในเมื่อที่ผ่านมาก็เข้าไปศึกษาจากอาจารย์มากมาย ข้อนี้ก็เหมือนนักศึกษาที่ศึกษาจบหลักสูตรได้รับปริญญาเป็นบัณฑิต ได้ ความรู้จากอาจารย์มา แต่ความรู้นั้นยังไม่อำนวยให้รู้สิ่งที่ต้องการรู้ได้ ต่อเมื่อจบการศึกษารับปริญญาเป็นบัณฑิตแล้วไปทำงานวิจัยต่อ เป็นนักวิจัยอิสระ ลองผิดลองถูกไปอย่างมุ่งมั่น ในที่สุดก็พบสิ่งที่ต้องการรู้เองด้วยความเป็นนักวิจัยอิสระของตนเอง ข้อนี้ฉันใดพระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้เองโดยไม่มีอาจารย์ฉันนั้น
ว่าถึง การวิจัย เราสามารถกล่าวได้ว่าพระพุทธองค์เป็นนักวิจัยคนแรกของโลก ถือว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งการวิจัย ระบบค้นคว้าแสวงหาความรู้ที่ทรงคิดค้นได้มาเป็นระบบที่สมบูรณ์ และสามารถใช้ประโยชน์ในการทำงานวิจัยค้นคว้าแสวงหาความรู้ได้อย่างดีเยี่ยม แม้กระทั่งปัจจุบัน นั่นคือ ๑) มีขั้นตอนฐานความคิด (การสังเกต) ๒) มีสมมติฐาน (มีความทุกข์ต้องมีความสุข) ๓) มีปัญหาทางการวิจัย (แก่ - เจ็บป่วย – ตาย) ๔) มีการประมวลความรู้เบื้องต้น ((การออกบวช-สำนักอาจารย์ต่าง ๆ) ๔) กระบวนการทดลองภาคสนาม (เข้าไปศึกษา-ทดลองด้วยตนเองในสำนักต่าง ๆ) ๕) การวิเคราะห์ข้อมูล (ประมวลจากความรู้ที่ได้จากการทดลองในสำนักต่าง ๆ) ๖) แสวงหาความรู้ใหม่เมื่อยังตอบโจทย์ (อะไรคือความทุกข์) ยังไม่ได้ ด้วยการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง (อดกลั้นลมหายใจ-เอาลิ้นกดเพดาน-อดอาหาร) ๗) เมื่อตอบโจทย์วิจัยได้ว่าอะไรคือความทุกข์เป็นต้น (เกิดสัมโพธิญาณ) จึงมั่นพระทัยประกาศ ยืนยันว่า “เราได้รู้แล้ว” ๘) ทบทวนผลงานตั้งแต่ฐานความคิดถึงบรรลุพระสัมโพธิญาณ (๔๙ วันที่สัตตมหาสถาน) ๙) วางกรอบรูปแบบแนวปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสัจจะที่ทรงค้นพบ (สร้างโมเดลแนว/ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ (ไตรสิกขาหรืออริยมรรคมีองค์แปด) ๑๐) เสนอผลการวิจัยสู่สาธารณชน (ประกาศธรรมโดยพิจารณาผู้รับที่เหมาะสม)
องค์ ความรู้ที่ทรงใช้เพื่อการวิจัย ๗ ประการที่ทรงใช้ เป็นแบบมาตรฐานที่สามารถให้ความเที่ยงตรง ไม่ให้ความรู้หรือสิ่งที่ค้นพบคลาดเคลื่อนจากความจริงคือ
๑. ทบทวนวรรณกรรมทั้งปวงที่สามารถทบทวนได้ (สติ ความระลึกรู้)
๒. คัดเลือก คัดสรรแนวที่มีความถูกต้องหรือใกล้เคียงความถูกต้องที่สุด (ธมฺมวิจโย)
๓. สร้างความกล้าหาญ มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจลงมือทำงานวิจัย (วิริโย)
๔. สร้างความพึงพอใจในการได้ลงมือทำงานวิจัยมีความสุขกับการได้ทำสิ่งนั้น (ปีติ)
๕. เตรียมกายเตรียมใจและเวลาให้พร้อมเพื่อความมุ่งมั่นทำงาน (ปสฺสทฺธิ)
๖. มีความหนักแน่น ไม่โลเล ไม่ท้อแท้ ไม่ให้อุปสรรคต่าง ๆ มาทำลายความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวไม่พบสิ่งต้องการรู้ไม่หยุดค้นคว้า (สมาธิ)
๗. ทบทวน สังเกต ตรวจสอบ ให้ได้ค่าความเชื่อมั่น (อุเปกฺขา = อุป + อิกฺข) อุเบกขาในที่นี้ไม่ได้แปลว่า “วางเฉย” อุปะ แปลว่า “มั่น” อิกขะ แปลว่า ดู, เห็น, ตรวจสอบ เมื่อรวมเข้ากันเป็นคำเดียวจึงต้องแปลว่า “ตรวจสอบให้มั่นใจ)
ทั้ง ๗ ข้อนี้ ทรงชี้ว่าเป็นองค์ความรู้ (โพชฌงค์ องค์แห่งการตรัสรู้ แปลเป็นภาษาวิชาการทั่วไปว่า “องค์แห่งความรู้” อันหมายความว่าเมื่อทำงานวิจัยแสวงหาความรู้ใด ๆ ด้วยการใช้องค์แห่งความรู้ทั้ง ๗ ประการนี้เป็นบรรทัดฐาน ความรู้ที่ได้จากการวิจัยชิ้นนั้น จะเป็นความรู้ที่เที่ยงตรง มีค่าความเชื่อมั่นเต็มร้อย สามารถตอบโจทย์วิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในทุกยุคทุกสมัย เป็นองค์ความรู้ที่ยั่งยืนเป็น “อกาลิโก”
พระพุทธองค์ประสบความ สำเร็จในการวิจัยแล้วได้ทรงอาศัยพระมหากรุณาคุณ มุ่งมั่น ท่องเที่ยวไปเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณชนเป็นเวลา ๔๕ ปีพร้อมกับภาระให้แก่พระสาวกสาวิกาช่วยทำงานเป็นประโยคที่สำคัญว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้ท่านทั้งหลายก็เหมือนกัน ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในชนบท เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก แต่อย่าไปรวมกัน ๒ รูปโดยทางเดียวกัน จงแสดงธรรมมีคุณงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลางและงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสบังปัญญาดุจธุลีในจักษุน้อยเป็นปกติมีอยู่ เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้พึงถึง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีอยู่ แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อจะแสดงธรรม” สรุปสั้น ๆ ว่า “เธอทั้งหลายจงไปแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พหุชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก”
สิ่งสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงย้ำเน้นไว้ในธัม มจักกัปปวัตนสูตร (พระไตรปิฎกเล่ม ๔) คืออุบายวิธีเข้าถึงความรู้หรือความจริง และตรัสไว้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เส้นเดียวที่ให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้แน่ นอนคืออริยมรรคมีองค์แปดนั่นเอง และทางนี้ถือว่าเป็นทางที่สร้างไว้สำเร็จสมบูรณ์แล้ว เป็นเส้นทางที่ประกอบด้วย ๑ ยุทธศาสตร์เพื่อความสุขถาวร เส้นทางนี้มี ๘ มาตรฐานการดำเนินงาน และ ๒๖ ดรรชนีชี้วัด ซึ่งได้แก่
มาตรฐานที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่เรียกว่าถูกต้อง ต้องประกอบด้วย ๔ ดรรชนีชี้วัดได้แก่
๑) ทุกฺเข ญาณํ หยั่งรู้หยั่งเห็นว่าความทุกข์ทั้งปวงที่ทรงแสดงไว้แล้วนั้นมีอยู่จริง
๒) ทุกฺขสมุทเย ญาณํ หยั่งรู้ว่าตัณหาเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งปวงจริง
๓) ทุกฺขนิโรเธ ญาณํ หยั่งรู้หยั่งเห็นว่าเมื่อดับสาเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงได้ก็เป็นการดับความทุกข์ทั้งปวงได้จริง
๔) ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย ญาณํ หยั่งรู้หยั่งเห็นในปฏิปทาอันให้ถึงความดับลงอย่างเด็ดขาดแห่งความทุกข์ สามารถเป็นไปได้จริง
นี้คือดรรชนีชี้วัด “ความเห็นชอบ” เห็นอย่างอื่นไม่ชื่อว่าเห็นชอบตามข้อว่า สัมมาทิฏฐิ นี้ ข้อนี้ทำให้ได้ความชัดว่าเห็นอย่างไรเรียกว่าเห็นชอบ
มาตรฐานที่ ๒ สมฺมาสงฺกปฺโป ความคิดหรือความดำริที่ถูกต้อง มีดรรชนีชี้วัดความถูกต้อง ๓ อย่างคือ
๑) เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป ความคิดออกจากกาม หรือความคิดออกห่างจากความมัวเมาเพลิดเพลินในกาม อันรวมไปถึงเรื่องบริโภคนิยม (บริโภคทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) มีความรู้จักประมาณ รู้จักพอเพียง
๒) อพฺยาปาทสงฺกปฺโป ความคิดความดำริ ลด ละ เลิก ความอาฆาตพยาบาทผู้อื่น (มีแต่เมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นอยู่เย็นเป็นสุขด้วยกัน)
๓) อวิหิงฺสาสงฺกปฺโป ความคิดคามดำริ ลด ละ เลิก ความเบียดเบียนทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของกันและกัน (มีความเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน)
มาตรฐานที่ ๓ สัมมาวาจา การกล่าววาจาที่ถูกต้องชอบธรรม มีตัวดรรชนีชี้วัดคำว่า “สัมมา” ๔ ข้อคือ
๑) มุสาวาทา เวรมณี กล่าววาจามีเจตนาเว้นจากคำพูดเท็จ คำที่ไม่ตรงกับความจริง คลาด เคลื่อนจากความจริง (มี สัจวาจา)
๒) ปิสุณวาจา เวรมณี กล่าววาจามีเจตนาเว้นจากคำยุยงส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้งหรือเกิดแตกแยก หรือทำลายสามัคคี (มี วาจาเสริมสร้างสามัคคี)
๓) ผรุสาวาจา เวรมณี กล่าววาจามีเจตนาเว้นจากคำพูดหยาบคายเช่นคำด่า คำลบหลู่ดูหมิ่น คำพูดแดกดันกดขี่ (มี ปิยวาจา)
๔) สฺมผปฺปลาปา เวรมณี กล่าววาจามีเจตนาเว้นจากคำพูดเพ้อเจ้อไร้สาระไร้ประ -โยชน์ ผิดกาลเทศะ (มี อัตถวาจา)
มาตรฐานที่ ๔ สมฺมากมฺมนฺโต การทำงานที่เป็นไปโดยชอบโดยถูกต้อง มีดรรชนีชี้วัดความถูกต้อง ๓ อย่างคือ
๑) ปาณาติปาตา เวรมณี ทำงานด้วยมีเจตนางดเว้นจากการฆ่า การทำลายล้างกัน มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์โลก เคารพในการมีชีวิตอยู่ของกันและกัน
๒) อทินฺนาทานา เวรมณี ทำงานด้วยมีเจตนางดเว้นจากการลักฉ้อ ทุจริตคอรัปชั่น มีสัมมาอาชีพ เคารพรพในสิทธิแห่งการครอบครองทรัพย์สินของกันและกัน
๓) กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี การทำงานที่มีเจตนางดเว้นจากความประพฤติผิดในกามทุกชนิดเช่น ประกอบการค้ากาม ประกอบการบริการกาม ประกอบการบริโภคกาม อันเป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องยกย่องให้เกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เคารพรักษาประเพณีอันดีงามของมนุษย์ด้วยกัน
มาตรฐานที่ ๕ สมฺมาอาชีโว การประกอบอาชีพถูกต้อง สุจริต ชอบธรรม มีดรรชนีชี้วัดเป็นหลักกว้าง ๆ ๒ อย่างคือ
๑) อกุสลานํ ปหานา เจตนาเว้นงานที่ผิดกฎหมาย ผิดจารีตประเพณี ผิดศีลธรรมจรรยา และ งานที่เป็นบาปอกุศล งานที่มีโทษ งานที่อากูล งานที่เป็นทางแห่วงอบายมุข
๒) กุสลานํ อุปสมฺปทา เจตนาทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย จารีตประเพณี ถูกต้องตามหลักศีลธรรมจรรยา งานที่ก่อให้เกิดบุญกุศล งานที่ส่งเสริมแนวทางสวรรค์และนิพพาน
มาตรฐานที่ ๖ สมฺมาวายาโม ความเพียรพยายามที่หนักแน่นเป็นประธานในการทำงาน มีดรรชนีชี้วัดตัวความเพียรนี้ ๔ อย่างคือ
๑) สงฺวรปธานํ ความเพียรพยายามป้องกันกิเลสหรือภัยพิบัติต่าง ๆ อย่างรอบคอบไม่ปล่อยให้ภัยพิบัติเกิดก่อนแล้วตามแก้
๒) ปหานปธานํ ความเพียรพยายามกำจัดทำลายกิเลสหรือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแล้ว มีขึ้นแล้วให้หมดสิ้นไปเสียแต่โดยเร็ว
๓) ภาวนาปธานํ ความเพียรพยายามสร้างคุณความดี สร้างทางเจริญอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง ไม่เปิดโอกาสให้ภัยพิบัติได้โอกาสเกิดหรือเติบโต
๔) อนุรกฺขนาปธานํ ความเพียรพยายามรักษาคุณความดี รักษามาตรฐานความดีให้มีความมั่นคงยั่งยืนตราบเท่าที่ยังมีชีวิต
ทั้ง ๔ ข้อนี้ ยังถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาได้ทุกอย่างตั้งแต่ปัญหาเล็ก ๆ จนถึงปัญหาระดับชาติและระดับโลก
มาตรฐานที่ ๗ สัมมาสติ ความมีสตีระลึกชอบ มีตัวดรรชนีชี้วัดความ “ชอบ” ของสติ ๔ ประการคือ
๑) กายานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ระลึกรู้ตรวจสอบกาย (ระลึกรู้สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ)
๒) เวทนานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ระลึกรู้ตรวจสอบอารมณ์ความรู้สึก สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข
๓) จิตฺตานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ระลึกรู้ตรวจสอบสภาพจิตของตนให้กระจ่างชัด
๔) ธฺมมานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ระลึกรู้ตรวจสอบธรรมในภายในตนให้มีความรู้แจ้งชัดว่ามีอะไร บ้างในตน
มาตรฐานที่ ๘ สัมมาสมาธิ ความตั้งจิตมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปตามกระโลกกระแสธรรมใด ๆ มีดรรชนีชี้วัดความมั่นคงหลัก ๆ ๒ ระดับคือ
๑) สมถกมฺมฏฺฐานํ ความสงบหนักแน่นมั่นคงแห่งจิต (สมถะหรือสมาธิ)
๒) วิปสฺสนากมฺมฏฺฐานํ ความรู้แจ้งเข้าใจชัดในสังขารธรรม (วิปัสสนา-ปัญญา)
ว่า กันโดยย่นย่อ หนึ่งเส้นทางยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย แปดมาตรฐานและ ยี่สิบหกดรรชนีชี้วัดของแต่ละมาตรฐาน เมื่อดำเนินการตามกระบวนการครบถ้วน ทุกอย่างก็ย่อมถึงความสำเร็จได้ จะเห็นว่าหลักการและวิธีการเพื่อความเข้าถึงสัจจะของพระพุทธเจ้ามีความ สมบูรณ์ ความทันสมัยอย่างน่าประหลาดใจจริง ๆ
จากวันที่ได้ตรัสรู้มา ถึงวันวิสาขบูชา พุทธศักราช ๒๕๕๕ (ตรงกับวันจันทร์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๕) จะครบ ๒๖๐๐ ปี ชาวพุทธทั่วทั้งโลกจึงมีดำริร่วมกันในการมีส่วนร่วมในงานฉลองมหามงคลครั้ง นี้ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้จัดทำเอกสารนี้ขึ้นเพื่อเป็นการชี้แจงทำ ความเข้าใจและศึกษาเป็นพุทธบูชาอีกส่วนหนึ่งด้วย
พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ปี
พุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ นับเป็นปีที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำคัญต่อปวงชนชาวไทย
ในฐานะที่เป็นผู้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาไว้เป็นศาสนาประจำจิตประจำใจ
จนเป็นศาสนาประจำชาติ
เนื่องในโอกาสที่พระพุทธศาสนามีอายุมาครบ ๒๖๐๐
ปีนับแต่การตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้บรมศาสดา
ผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้
พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลองโดยร่วมกันทำสักการบูชาในพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกันทั่วหน้า
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณูปการที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานแสงสว่างให้แก่
ชีวิตและโลกด้วยพระมหากรุณาอันหาประมาณมิได้
ปวงชนชาวไทยพุทธเราก็พร้อมจิตพร้อมใจกันทำการฉลองโดยทั่วหน้า เมื่อพุทธ
ศักราช ๒๕๐๐
เราชาวพุทธทั้งโลกได้เคยร่วมกันเฉลิมฉลองกันในทำนองนี้ครั้งหนึ่งแล้ว
ในครั้งนั้นพุทธศาสนิกชนต่างถือเอาคติว่าพระพุทธศาสนามั่นคงอยู่ในโลกนี้ได้
ครบ ๒๕ พุทธศตวรรษ คือครั้งนั้นถือเอาคติว่าพระพุทธศาสนาครบ ๒๕๐๐ ปี
นับแต่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ แต่ครั้งนี้ฉลอง
๒๖๐๐ ปี ในพุทธศักราช ๒๕๕๕
โดยการนับจากวันที่พระพุทธองค์ได้ค้นพบอริยสัจธรรมเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
เมื่อตรัสรู้แล้วพระพุทธองค์แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์อยู่อีก ๔๕ ปี เอา ๔๕
บวกกับ ๒๕๕๕ จึงเป็น ๒๖๐๐ ปี เรียกว่า “๒๖ พุทธศตวรรษนับแต่ตรัสรู้”มี คำแปลกใหม่สำหรับหูคนไทยมาคำหนึ่งในการเฉลิมฉลองครั้งนี้คือคำว่า “พุทธชยันตี” แน่นอนว่าคำนี้เป็นภาษาฮินดี (หรือภาษาอินเดีย) เมื่อจะมีคำถามว่าแล้วทำไมต้องไปเอาภาษาฮินดีมาใช้ในการเฉลิมฉลองครั้งนี้ กับชาวพุทธที่เป็นคนไทย คงตอบได้ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า เพราะที่ประเทศอินเดียเขาจัดงานฉลองโอกาสนี้ก่อนเราและเขาใช้คำนี้กันก่อน แล้ว ไทยเราจึงรับมาใช้ให้ตรงกันเพื่อแสดงออกให้โลกรู้ว่าชาวพุทธมีความเป็น เอกภาพ หากเราใช้เฉพาะภาษาไทยเราว่า “ฉลอง ๒๖ พุทธศตวรรษแห่งการตรัสรู้” ก็คงจะได้ แต่เราจะรู้และเข้าใจง่ายเฉพาะคนไทยเรา ไม่ทั่วไปแก่ชาวโลก แต่เมื่อพูดให้เป็นภาษาเดียวกัน ปัญหาเรื่องการทำความเข้าใจแก่ชาวโลกก็คงจะง่ายขึ้นไม่น้อย แต่ก็มาเป็นปัญหาสำหรับชาวพุทธไทยอยู่เหมือนกันเพราะคนไทยออกจะงงว่า “พุทธชยันตี คืออะไรกันแน่”
ผู้เขียนเริ่มคิดถึงงานฉลอง “๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้” เมื่อปลาย ๆ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ คิดเพิ่มหนักแน่นขึ้นพร้อมกับวางแผนจะจะต้องจัดงานฉลองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ แล้วก็มาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ และก็ได้มาทำจริงจังในขั้นเตรียมการตั้งแต่เริ่มต้นปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ นี้ สำหรับคำว่าพุทธชยันตี ซึ่งได้มีการนำมาใช้เป็นทางการในครั้งนี้ ได้มาทราบในที่ประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อสมัยประชุมคณะกรรมการมหาเถรสมาคม แต่ครั้งนั้นมี “สัม” นำหน้าออกมาด้วยเป็น “สัมพุทธชยันตี” โดยมีคำอธิบายว่าที่ต้องใช้ “สัม” เข้ามาเพราะเป็นการฉลอง ”การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” แต่พอเข้าประชุมอีกครั้งหนึ่งก็กลับมาเป็น “พุทธชยันตี” เช่นที่เป็นอยู่บัดนี้
เห็นจะต้องตอบคำถามเสียทีละว่า “พุทธชยันตี” คือคำศัพท์คำหนึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาฮินดีหรือภาษาอินเดียปัจจุบัน แต่หากจะถามว่าแล้วคำนี้แปลว่าอะไร ก็ตอบได้ว่า ศัพท์ว่า “พุทธชยันตี” นี้เป็นศัพท์ใหม่ที่ชาวพุทธคิดสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นชื่องานฉลองโอกาสพิเศษ ครบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในมหามงคลสมัยที่พระพุทธศาสนายืนยาวมาครบ ๒๕๐๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ก็มีการฉลองอันยิ่งใหญ่ไปบรรดาชาวพุทธทั่วโลก แต่ใช้คำศัพท์เป็นชื่อเฉพาะงานว่า “พุทธชยันตี” เนื่องจากว่านั่นเป็นการนับพุทธศักราช ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี ส่วนการฉลองพุทธชยันตีครั้งนี้ มีความหมายพิเศษระบุเจาะจงถึงปีแห่งการตรัสรู้ ที่ให้เปลี่ยนจากพระฤๅษีสิทธัตถะเป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เพราะได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ หรือทรงค้นคว้าแสวงหาจนพบสัจธรรม ในการจัดงานฉลองครั้งนี้เราจึงเรียกขานให้ตรงว่า “งานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีการตรัสรู้”
คำว่า “ชยันตี” แปลความหมายตรง ๆ ว่า “ชัยชนะ” ก็ได้ และว่า “เกิด” ก็ได้ ซึ่งเมื่อแปลว่าชัยชนะ ก็หมายถึง ๑) ได้ชัยชนะเหนือกิเลสและมารทั้งปวง ๒) ได้ชัยชนะเหนือความไม่รู้คืออวิชชาอย่างเด็ดขาด ๓) ได้ชัยชนะที่ทรงใช้ความเพียรพยายามค้นหาคำตอบเรื่องความทุกข์ได้อย่างครบ สมบูรณ์ เมื่อค้นพบก็ถือว่าได้ชัยชนะ แต่คนไทยเราคงจะคุ้นคำนี้ว่า “ชะยันโต” มากกว่า “ชะยันตี” เพราะเราคุ้นเคยกับภาษาบาลีมากกว่าภาษาฮินดี ส่วน ที่แปลว่า “เกิด” ซึ่งมีความหมายตรงกับคำว่า ชนยนฺตี, ชเนตฺตี, อุปฺปาโท, อุปปชฺชนํ, อุปปตฺติ, ซึ่งทุกคำแปลว่าเกิด หรือพุทธภาษิตที่ว่า ปิยโต ชายเต โสโก ความโศกย่อมเกิดจากสิ่งที่รักเป็นต้น แต่เนื่องจากทางประเทศศรีลังกา และอินเดียเขาเริ่มใช้เป็นชื่องานฉลองโอกาสพิเศษแห่งพระพุทธศาสนามาก่อนและ เขานิยมใช้คำว่า “ชะยันตี” เป็นภาษาฮินดี ไทยเราจึงใช้ตามเขาเพื่อแสดงความเป็นเอกภาพและง่ายในการประชาสัมพันธ์ใน ระดับนานาชาติด้วย ในคราวประชุมหมาเถรสมาคมเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคมศกนี้ จึงมีมติเห็นชอบให้ใช้ชื่องานฉลองพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกครบ ๒๖๐๐ ปีครั้งนี้ว่า “งานฉลอง พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า”
คำ ว่า “สัมพุทธะ” หรือ “สัมมาสัมพุทธะ” เกิดมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพระฤๅษีโพธิสัตว์สิทธัตถะได้ “ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง” แล้วเท่านั้น นั่นคือหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ทอดพระ เนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บป่วย คนตาย ทรงเห็นว่าเป็นปัญหาและทรงสรุปเบื้องต้นเป็นสมมติฐานทางการวิจัยว่าสภาพเช่น นั้น “เป็นความทุกข์” จะต้องมีสิ่งที่แก้กันคือ “ความสุข” ครั้นทรงพบเห็นสมณะก็มีพระดำริว่าน่าจะเป็นทางค้นหาให้พบความสุขได้ จึงตัดสินพระทัยออกทำงานวิจัยค้นหาความสุขเพื่อแก้ความทุกข์ให้ได้ ทรงใช้เวลาทำการวิจัยลองผิดลองถูกมาถึง ๖ ปี จากพระชนมายุ ๒๙ ถึงพระชนมายุ ๓๕ จึงวิจัยสำเร็จสมบูรณ์คือได้รู้ชัดว่า อะไรคือความทุกข์ อะไรคือสาเหตุแห่งความทุกข์ อะไรคือความดับลงอย่างเด็ดขาดแห่งความทุกข์ และอะไรคืออุบายวิธีให้ถึงความดับทุกข์อย่างเด็ดขาด เมื่อได้พบแล้วพระองค์จึงทรงประกาศว่า “เราได้รู้แล้ว” และได้เสนอผลงานวิจัยของพระองค์สู่สาธารณะชนอันมีผลมาถึงปัจจุบัน แต่การรู้ของพระองค์ไม่ใช่รู้เพียงเท่านั้น หากแต่ได้รู้สิ่งทั้งปวงตามเป็นจริงด้วย รู้ไปถึงเรื่องของจักรวาล พระองค์จึงได้พระนามอีกว่า “พระสัพพัญญู” แปลว่าผู้รู้สิ่งทั้งปวง และว่า “โลกวิทู” ผู้รู้โลกทั้งปวงเป็นต้น เพราะฉะนั้น การฉลองครั้งนี้จึงหมายถึงการฉลอง ๑) ความเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ๒) ฉลองความเกิดขึ้นในโลกของพระพุทธศาสนา ๓) ฉลองความปรากฏขึ้นในโลกของสัจธรรมที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ๔) ฉลองความที่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นในโลกมาครบ ๒๖๐๐ ปี
อนึ่ง ศัพท์ว่า “สัมมาสัมพุทธะ” ที่แปลว่า “ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ หรือ ผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง” หมายความว่าทรงค้นพบสัจธรรมเองโดยการค้นคว้าวิจัยของพระองค์เอง โดยไม่มีอาจารย์สอน บาง ครั้งก็มีผู้สงสัยว่า พระพุทธองค์ตรัสรู้เองโดยไม่มีอาจารย์ได้อย่างไร ในเมื่อที่ผ่านมาก็เข้าไปศึกษาจากอาจารย์มากมาย ข้อนี้ก็เหมือนนักศึกษาที่ศึกษาจบหลักสูตรได้รับปริญญาเป็นบัณฑิต ได้ ความรู้จากอาจารย์มา แต่ความรู้นั้นยังไม่อำนวยให้รู้สิ่งที่ต้องการรู้ได้ ต่อเมื่อจบการศึกษารับปริญญาเป็นบัณฑิตแล้วไปทำงานวิจัยต่อ เป็นนักวิจัยอิสระ ลองผิดลองถูกไปอย่างมุ่งมั่น ในที่สุดก็พบสิ่งที่ต้องการรู้เองด้วยความเป็นนักวิจัยอิสระของตนเอง ข้อนี้ฉันใดพระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้เองโดยไม่มีอาจารย์ฉันนั้น
ว่าถึง การวิจัย เราสามารถกล่าวได้ว่าพระพุทธองค์เป็นนักวิจัยคนแรกของโลก ถือว่าพระพุทธองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งการวิจัย ระบบค้นคว้าแสวงหาความรู้ที่ทรงคิดค้นได้มาเป็นระบบที่สมบูรณ์ และสามารถใช้ประโยชน์ในการทำงานวิจัยค้นคว้าแสวงหาความรู้ได้อย่างดีเยี่ยม แม้กระทั่งปัจจุบัน นั่นคือ ๑) มีขั้นตอนฐานความคิด (การสังเกต) ๒) มีสมมติฐาน (มีความทุกข์ต้องมีความสุข) ๓) มีปัญหาทางการวิจัย (แก่ - เจ็บป่วย – ตาย) ๔) มีการประมวลความรู้เบื้องต้น ((การออกบวช-สำนักอาจารย์ต่าง ๆ) ๔) กระบวนการทดลองภาคสนาม (เข้าไปศึกษา-ทดลองด้วยตนเองในสำนักต่าง ๆ) ๕) การวิเคราะห์ข้อมูล (ประมวลจากความรู้ที่ได้จากการทดลองในสำนักต่าง ๆ) ๖) แสวงหาความรู้ใหม่เมื่อยังตอบโจทย์ (อะไรคือความทุกข์) ยังไม่ได้ ด้วยการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง (อดกลั้นลมหายใจ-เอาลิ้นกดเพดาน-อดอาหาร) ๗) เมื่อตอบโจทย์วิจัยได้ว่าอะไรคือความทุกข์เป็นต้น (เกิดสัมโพธิญาณ) จึงมั่นพระทัยประกาศ ยืนยันว่า “เราได้รู้แล้ว” ๘) ทบทวนผลงานตั้งแต่ฐานความคิดถึงบรรลุพระสัมโพธิญาณ (๔๙ วันที่สัตตมหาสถาน) ๙) วางกรอบรูปแบบแนวปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสัจจะที่ทรงค้นพบ (สร้างโมเดลแนว/ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ (ไตรสิกขาหรืออริยมรรคมีองค์แปด) ๑๐) เสนอผลการวิจัยสู่สาธารณชน (ประกาศธรรมโดยพิจารณาผู้รับที่เหมาะสม)
องค์ ความรู้ที่ทรงใช้เพื่อการวิจัย ๗ ประการที่ทรงใช้ เป็นแบบมาตรฐานที่สามารถให้ความเที่ยงตรง ไม่ให้ความรู้หรือสิ่งที่ค้นพบคลาดเคลื่อนจากความจริงคือ
๑. ทบทวนวรรณกรรมทั้งปวงที่สามารถทบทวนได้ (สติ ความระลึกรู้)
๒. คัดเลือก คัดสรรแนวที่มีความถูกต้องหรือใกล้เคียงความถูกต้องที่สุด (ธมฺมวิจโย)
๓. สร้างความกล้าหาญ มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจลงมือทำงานวิจัย (วิริโย)
๔. สร้างความพึงพอใจในการได้ลงมือทำงานวิจัยมีความสุขกับการได้ทำสิ่งนั้น (ปีติ)
๕. เตรียมกายเตรียมใจและเวลาให้พร้อมเพื่อความมุ่งมั่นทำงาน (ปสฺสทฺธิ)
๖. มีความหนักแน่น ไม่โลเล ไม่ท้อแท้ ไม่ให้อุปสรรคต่าง ๆ มาทำลายความตั้งใจ มีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวไม่พบสิ่งต้องการรู้ไม่หยุดค้นคว้า (สมาธิ)
๗. ทบทวน สังเกต ตรวจสอบ ให้ได้ค่าความเชื่อมั่น (อุเปกฺขา = อุป + อิกฺข) อุเบกขาในที่นี้ไม่ได้แปลว่า “วางเฉย” อุปะ แปลว่า “มั่น” อิกขะ แปลว่า ดู, เห็น, ตรวจสอบ เมื่อรวมเข้ากันเป็นคำเดียวจึงต้องแปลว่า “ตรวจสอบให้มั่นใจ)
ทั้ง ๗ ข้อนี้ ทรงชี้ว่าเป็นองค์ความรู้ (โพชฌงค์ องค์แห่งการตรัสรู้ แปลเป็นภาษาวิชาการทั่วไปว่า “องค์แห่งความรู้” อันหมายความว่าเมื่อทำงานวิจัยแสวงหาความรู้ใด ๆ ด้วยการใช้องค์แห่งความรู้ทั้ง ๗ ประการนี้เป็นบรรทัดฐาน ความรู้ที่ได้จากการวิจัยชิ้นนั้น จะเป็นความรู้ที่เที่ยงตรง มีค่าความเชื่อมั่นเต็มร้อย สามารถตอบโจทย์วิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในทุกยุคทุกสมัย เป็นองค์ความรู้ที่ยั่งยืนเป็น “อกาลิโก”
พระพุทธองค์ประสบความ สำเร็จในการวิจัยแล้วได้ทรงอาศัยพระมหากรุณาคุณ มุ่งมั่น ท่องเที่ยวไปเสนอผลงานวิจัยต่อสาธารณชนเป็นเวลา ๔๕ ปีพร้อมกับภาระให้แก่พระสาวกสาวิกาช่วยทำงานเป็นประโยคที่สำคัญว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราได้พ้นแล้วจากบ่วงทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ แม้ท่านทั้งหลายก็เหมือนกัน ท่านทั้งหลายจงเที่ยวไปในชนบท เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก แต่อย่าไปรวมกัน ๒ รูปโดยทางเดียวกัน จงแสดงธรรมมีคุณงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลางและงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสบังปัญญาดุจธุลีในจักษุน้อยเป็นปกติมีอยู่ เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้พึงถึง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมีอยู่ แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อจะแสดงธรรม” สรุปสั้น ๆ ว่า “เธอทั้งหลายจงไปแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พหุชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก”
สิ่งสำคัญที่พระพุทธองค์ทรงย้ำเน้นไว้ในธัม มจักกัปปวัตนสูตร (พระไตรปิฎกเล่ม ๔) คืออุบายวิธีเข้าถึงความรู้หรือความจริง และตรัสไว้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เส้นเดียวที่ให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้แน่ นอนคืออริยมรรคมีองค์แปดนั่นเอง และทางนี้ถือว่าเป็นทางที่สร้างไว้สำเร็จสมบูรณ์แล้ว เป็นเส้นทางที่ประกอบด้วย ๑ ยุทธศาสตร์เพื่อความสุขถาวร เส้นทางนี้มี ๘ มาตรฐานการดำเนินงาน และ ๒๖ ดรรชนีชี้วัด ซึ่งได้แก่
มาตรฐานที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่เรียกว่าถูกต้อง ต้องประกอบด้วย ๔ ดรรชนีชี้วัดได้แก่
๑) ทุกฺเข ญาณํ หยั่งรู้หยั่งเห็นว่าความทุกข์ทั้งปวงที่ทรงแสดงไว้แล้วนั้นมีอยู่จริง
๒) ทุกฺขสมุทเย ญาณํ หยั่งรู้ว่าตัณหาเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งปวงจริง
๓) ทุกฺขนิโรเธ ญาณํ หยั่งรู้หยั่งเห็นว่าเมื่อดับสาเหตุแห่งความทุกข์ทั้งปวงได้ก็เป็นการดับความทุกข์ทั้งปวงได้จริง
๔) ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย ญาณํ หยั่งรู้หยั่งเห็นในปฏิปทาอันให้ถึงความดับลงอย่างเด็ดขาดแห่งความทุกข์ สามารถเป็นไปได้จริง
นี้คือดรรชนีชี้วัด “ความเห็นชอบ” เห็นอย่างอื่นไม่ชื่อว่าเห็นชอบตามข้อว่า สัมมาทิฏฐิ นี้ ข้อนี้ทำให้ได้ความชัดว่าเห็นอย่างไรเรียกว่าเห็นชอบ
มาตรฐานที่ ๒ สมฺมาสงฺกปฺโป ความคิดหรือความดำริที่ถูกต้อง มีดรรชนีชี้วัดความถูกต้อง ๓ อย่างคือ
๑) เนกฺขมฺมสงฺกปฺโป ความคิดออกจากกาม หรือความคิดออกห่างจากความมัวเมาเพลิดเพลินในกาม อันรวมไปถึงเรื่องบริโภคนิยม (บริโภคทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) มีความรู้จักประมาณ รู้จักพอเพียง
๒) อพฺยาปาทสงฺกปฺโป ความคิดความดำริ ลด ละ เลิก ความอาฆาตพยาบาทผู้อื่น (มีแต่เมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นอยู่เย็นเป็นสุขด้วยกัน)
๓) อวิหิงฺสาสงฺกปฺโป ความคิดคามดำริ ลด ละ เลิก ความเบียดเบียนทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของกันและกัน (มีความเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน)
มาตรฐานที่ ๓ สัมมาวาจา การกล่าววาจาที่ถูกต้องชอบธรรม มีตัวดรรชนีชี้วัดคำว่า “สัมมา” ๔ ข้อคือ
๑) มุสาวาทา เวรมณี กล่าววาจามีเจตนาเว้นจากคำพูดเท็จ คำที่ไม่ตรงกับความจริง คลาด เคลื่อนจากความจริง (มี สัจวาจา)
๒) ปิสุณวาจา เวรมณี กล่าววาจามีเจตนาเว้นจากคำยุยงส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้งหรือเกิดแตกแยก หรือทำลายสามัคคี (มี วาจาเสริมสร้างสามัคคี)
๓) ผรุสาวาจา เวรมณี กล่าววาจามีเจตนาเว้นจากคำพูดหยาบคายเช่นคำด่า คำลบหลู่ดูหมิ่น คำพูดแดกดันกดขี่ (มี ปิยวาจา)
๔) สฺมผปฺปลาปา เวรมณี กล่าววาจามีเจตนาเว้นจากคำพูดเพ้อเจ้อไร้สาระไร้ประ -โยชน์ ผิดกาลเทศะ (มี อัตถวาจา)
มาตรฐานที่ ๔ สมฺมากมฺมนฺโต การทำงานที่เป็นไปโดยชอบโดยถูกต้อง มีดรรชนีชี้วัดความถูกต้อง ๓ อย่างคือ
๑) ปาณาติปาตา เวรมณี ทำงานด้วยมีเจตนางดเว้นจากการฆ่า การทำลายล้างกัน มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์โลก เคารพในการมีชีวิตอยู่ของกันและกัน
๒) อทินฺนาทานา เวรมณี ทำงานด้วยมีเจตนางดเว้นจากการลักฉ้อ ทุจริตคอรัปชั่น มีสัมมาอาชีพ เคารพรพในสิทธิแห่งการครอบครองทรัพย์สินของกันและกัน
๓) กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี การทำงานที่มีเจตนางดเว้นจากความประพฤติผิดในกามทุกชนิดเช่น ประกอบการค้ากาม ประกอบการบริการกาม ประกอบการบริโภคกาม อันเป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องยกย่องให้เกียรติศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เคารพรักษาประเพณีอันดีงามของมนุษย์ด้วยกัน
มาตรฐานที่ ๕ สมฺมาอาชีโว การประกอบอาชีพถูกต้อง สุจริต ชอบธรรม มีดรรชนีชี้วัดเป็นหลักกว้าง ๆ ๒ อย่างคือ
๑) อกุสลานํ ปหานา เจตนาเว้นงานที่ผิดกฎหมาย ผิดจารีตประเพณี ผิดศีลธรรมจรรยา และ งานที่เป็นบาปอกุศล งานที่มีโทษ งานที่อากูล งานที่เป็นทางแห่วงอบายมุข
๒) กุสลานํ อุปสมฺปทา เจตนาทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย จารีตประเพณี ถูกต้องตามหลักศีลธรรมจรรยา งานที่ก่อให้เกิดบุญกุศล งานที่ส่งเสริมแนวทางสวรรค์และนิพพาน
มาตรฐานที่ ๖ สมฺมาวายาโม ความเพียรพยายามที่หนักแน่นเป็นประธานในการทำงาน มีดรรชนีชี้วัดตัวความเพียรนี้ ๔ อย่างคือ
๑) สงฺวรปธานํ ความเพียรพยายามป้องกันกิเลสหรือภัยพิบัติต่าง ๆ อย่างรอบคอบไม่ปล่อยให้ภัยพิบัติเกิดก่อนแล้วตามแก้
๒) ปหานปธานํ ความเพียรพยายามกำจัดทำลายกิเลสหรือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นแล้ว มีขึ้นแล้วให้หมดสิ้นไปเสียแต่โดยเร็ว
๓) ภาวนาปธานํ ความเพียรพยายามสร้างคุณความดี สร้างทางเจริญอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง ไม่เปิดโอกาสให้ภัยพิบัติได้โอกาสเกิดหรือเติบโต
๔) อนุรกฺขนาปธานํ ความเพียรพยายามรักษาคุณความดี รักษามาตรฐานความดีให้มีความมั่นคงยั่งยืนตราบเท่าที่ยังมีชีวิต
ทั้ง ๔ ข้อนี้ ยังถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาได้ทุกอย่างตั้งแต่ปัญหาเล็ก ๆ จนถึงปัญหาระดับชาติและระดับโลก
มาตรฐานที่ ๗ สัมมาสติ ความมีสตีระลึกชอบ มีตัวดรรชนีชี้วัดความ “ชอบ” ของสติ ๔ ประการคือ
๑) กายานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ระลึกรู้ตรวจสอบกาย (ระลึกรู้สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ)
๒) เวทนานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ระลึกรู้ตรวจสอบอารมณ์ความรู้สึก สุข ทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข
๓) จิตฺตานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ระลึกรู้ตรวจสอบสภาพจิตของตนให้กระจ่างชัด
๔) ธฺมมานุปสฺสนาสติปฏฺฐานํ ระลึกรู้ตรวจสอบธรรมในภายในตนให้มีความรู้แจ้งชัดว่ามีอะไร บ้างในตน
มาตรฐานที่ ๘ สัมมาสมาธิ ความตั้งจิตมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปตามกระโลกกระแสธรรมใด ๆ มีดรรชนีชี้วัดความมั่นคงหลัก ๆ ๒ ระดับคือ
๑) สมถกมฺมฏฺฐานํ ความสงบหนักแน่นมั่นคงแห่งจิต (สมถะหรือสมาธิ)
๒) วิปสฺสนากมฺมฏฺฐานํ ความรู้แจ้งเข้าใจชัดในสังขารธรรม (วิปัสสนา-ปัญญา)
ว่า กันโดยย่นย่อ หนึ่งเส้นทางยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย แปดมาตรฐานและ ยี่สิบหกดรรชนีชี้วัดของแต่ละมาตรฐาน เมื่อดำเนินการตามกระบวนการครบถ้วน ทุกอย่างก็ย่อมถึงความสำเร็จได้ จะเห็นว่าหลักการและวิธีการเพื่อความเข้าถึงสัจจะของพระพุทธเจ้ามีความ สมบูรณ์ ความทันสมัยอย่างน่าประหลาดใจจริง ๆ
จากวันที่ได้ตรัสรู้มา ถึงวันวิสาขบูชา พุทธศักราช ๒๕๕๕ (ตรงกับวันจันทร์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๕) จะครบ ๒๖๐๐ ปี ชาวพุทธทั่วทั้งโลกจึงมีดำริร่วมกันในการมีส่วนร่วมในงานฉลองมหามงคลครั้ง นี้ และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้จัดทำเอกสารนี้ขึ้นเพื่อเป็นการชี้แจงทำ ความเข้าใจและศึกษาเป็นพุทธบูชาอีกส่วนหนึ่งด้วย
พระเทพวิสุทธิกวี (เกษม)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร
รองเจ้าคณะภาค ๑๖-๑๗-๑๘ ธรรมยุต
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร
รองเจ้าคณะภาค ๑๖-๑๗-๑๘ ธรรมยุต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น