ประเพณีตักรบาตรดอกไม้
การตักบาตรดอกไม้ เดิมทีเดียวได้มีเรื่องราวในสมัยพุทธกาลของนายสุมนมาลาการที่ได้ถวายดอกมะลิ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องราวมีอยู่ว่า
ในกรุงราชคฤห์มีช่างจัดดอกไม้คนหนึ่ง ชื่อ "สุมนะ" ทุกๆ เช้า
เขาจะนำดอกมะลิ 8 ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร
และจะได้ทรัพย์มาเป็นค่าดอกไม้วันละ 8 กหาปณะเป็นประจำ วันหนึ่ง
ขณะที่เขาถือดอกไม้จะนำไปถวายพระราชา พระบรมศาสดาเสด็จมาบิณฑบาต
พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก
พระพุทธองค์ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีออกจากพระวรกาย
นายสุมนะเห็นแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธามาก อยากจะถวายดอกมะลิทั้ง 8 ทะนาน
ที่ถืออยู่ในมือ เพื่อเป็นพุทธบูชา
เขาคิดว่า
"ถ้าหากพระราชาไม่ได้รับดอกไม้เหล่านี้ในวันนี้ เราอาจจะถูกประหาร
หรือถูกเนรเทศออกจากแว่นแคว้นก็ได้ แต่ก็ช่างเถอะ
เพราะถึงพระราชาจะทรงอนุเคราะห์เรา ด้วยการพระราชทานทรัพย์เป็นค่าดอกไม้
ก็คงพอเลี้ยงชีวิตได้แค่ในภพชาตินี้เท่านั้น
แต่การบูชาพระบรมศาสดาด้วยดอกไม้เหล่านี้
จะทำให้เราได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า"
เขาคิดอย่างนี้แล้วก็ตัดสินใจสละชีวิต โปรยดอกไม้ทั้ง 8 ทะนาน
บูชาพระบรมศาสดาทันที ทันใดนั้น สิ่งอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น คือ ดอกมะลิทั้ง
8 ทะนาน ไม่ได้ตกถึงพื้นดินเลย ดอกมะลิ 2 ทะนาน ได้กลายเป็นเพดานดอกไม้
แผ่อยู่เหนือพระเศียรของพระบรมศาสดา อีก 2 ทะนาน
แผ่เป็นกำแพงดอกไม้ลอยอยู่ข้างขวา และ 2 ทะนานอยู่ข้างซ้าย
ส่วน
อีก 2 ทะนาน อยู่ข้างหลัง กำแพงดอกไม้ทั้งหมดนี้ ลอยไปพร้อมกับพระบรมศาสดา
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระดำเนิน กำแพงดอกมะลิทั้งหมดก็ลอยตามไป
เมื่อประทับยืน กำแพงดอกมะลิก็หยุดอยู่กับที่เหมือนกัน
นายสุมนะเห็นดังนั้น เกิดความปีติปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง
แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่อง
แทนที่จะลงโทษกลับชื่นชมและปูนบำเหน็บรางวัลทำให้นายมาลาการมีชีวิตที่สุข
สบายขึ้น เพราะเหตุนี้ ได้มีประเพณีตักบาตรเข้าพรรษาของไทยที่ได้สืบทอดมานาน และเป็นเอกลักษณ์อย่างยิ่งที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยมีการใช้ดอกไม้ชนิดหนึ่งในการใส่บาตรเรียกว่า ”ดอกเข้าพรรษา” ชื่อเรียกเช่นนี้เรียกกันติดปากของคนในแถบ จ.สระบุรี จนบางท่านไม่รู้ว่าดอกไม้นี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่าอะไร
ต้นเข้าพรรษาที่ออกดอกเข้าพรรษา ในท้องถิ่นอื่น ๆ จะนิยมเรียกไม้ชนิดนี้ว่า “หงส์เหิน”
ตามลักษณะของรูปร่างของดอก เพราะดอกและเกสรจะมีลักษณะเหมือนตัวหงส์
กำลังจะบิน มีลีลาสง่างาม มีกลีบประดับเรียงตามช่อดอก
นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น กล้วยจ๊ะก่า (ตาก) กล้วยจ๊ะก่าหลวง (ลำพูน) กล้วยเครือคำ (เชียงใหม่) ก้ามปู (พิษณุโลก) ขมิ้นผี หรือกระทือลิง (ภาคกลาง) ว่านดอกเหลือง (เลย) และดอกเข้าพรรษา (สระบุรี)
ที่มา: http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2/
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น