พอดีไปเจอบทความที่มีประโยชน์ กับ ชาว Societies เลยเอามาให้อ่านครับ.
ที่มา: http://www.dek-d.com/education/29782/
"สวัส ดีค่ะน้องๆ.... หน้าฝนมักจะพ่วงการสอบปลายภาคของเทอมหนึ่งมาด้วยเสมอ นี่ก็ใกล้ได้เวลาแล้ว ใครยังนั่งเล่นอยู่ระวังจะไม่ทันการนะจ๊ะ ส่วนพี่ๆ ที่ต้องเตรียมเรื่องกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆ อย่าลืมแบ่งเวลาให้ดีล่ะ ยังไงการเรียนก็ต้องมาก่อนกิจกรรมเสมอ
วันนี้พี่มิ้นท์จะมาพูดถึงการสอบล้วนๆ เชื่อว่าชาว Dek-D.com หลายคนต้องเคยเจอปัญหาทำข้อสอบไม่ได้ อ่านมาแล้วก็ทำไม่ได้ เพราะอาจารย์ออกข้อสอบไม่ตรงกับที่เราอ่าน(หรือเราอ่านไม่ตรงกับที่อาจารย์ ออก 5555) เรียกว่าเจอคำถามพวกนี้ได้แต่เกาหัวแกร่กๆ กันเลยทีเดียว แต่ในระดับมัธยมก็ยังไม่ยากเท่าไหร่ เพราะเป็นข้อสอบปรนัย ให้เราเลือกตอบได้ แต่ถ้ามัวแต่เดาแบบมั่วๆ ไม่มีหลักการ คะแนนของน้องๆ ก็คงต้องพึ่งดวงอย่างเดียวแล้ว ดังนั้นเพื่ออุดรอยรั่วไม่ให้คะแนนไหลไป พี่มิ้นท์มีเทคนิคการเดาข้อสอบขั้นเทพมาฝาก ถึงทำไม่ได้ก็ยังมีโอกาสตอบถูก ไปลองดูกันเลยจ้า
1) ตัดช้อยส์
เป็นเทคนิคเมื่อโบราณกาลนานมาแล้ว เป็นเทคนิคคลาสสิคที่ใครๆ เค้าทำกัน คือ ตัดตัวเลือกที่ดูไม่น่าเกี่ยวข้อง หรือ ไม่ใช่แน่ๆ ออกไป เพราะข้อสอบแต่ละข้อก็จะมีบ้างที่น้องๆ สามารถรู้ว่าช้อยส์นี้ไม่ใช่ ดังนั้น ตัดออกไป ถ้าตัดไดถึง 2 ข้อจะดีมาก เพิ่มโอกาสถูกให้เรา 50 - 50% เลยทีเดียว กลับกันหากเราเดาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ตัดช้อยส์โอกาสถูกจะมีเพียง 25% หรือ 1 ใน 4 เท่านั้น
2) ข้อที่ทำไม่ได้ ให้ข้ามไปก่อน
บางข้อคิดหัวแทบแตกก็ไม่ได้คำตอบ ตัดช้อยส์ก็ไม่ได้ แนะนำให้ข้ามข้อนี้ไปก่อนเลย แล้วค่อยกลับมาทำทีหลังโดยใช้เทคนิคอื่นเข้าช่วย อย่าดันทุรังฝืนทำต่อไป เพราะจะเสียเวลาโดยใช่เหตุ ลองคิดดูว่าฝืนคิดข้อละ 1 นาที 20 ข้อ เท่ากับเราเสียเวลาแบบไม่ได้คำตอบไป 20 นาทีเชียวนะ
3) "ไม่มีข้อใดถูก" มักเป็นตัวเลือกหลอก
ในคำถามที่เน้นการวิเคราะห์และความจำที่ช้อยส์จะยาวเป็นพิเศษ และมักจะมีช้อยส์ "ไม่มีข้อใดถูก" อยู่ด้วย แนะนำว่าถ้ามีช้อยส์นี้ขึ้นมาให้ตัดออกไปได้เลย เพราะการคิดช้อยส์ให้ผิดยากกว่าคิดช้อยส์ให้ถูกนะคะ ที่สำคัญคือ ถ้าตั้งโจทย์มาแล้วแต่ไม่มีข้อถูกในนั้น นักเรียนก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เรียกว่าเป็นช้อยส์ที่เกิดมาเพื่อหลอกโดยเฉพาะ ยกเว้นแต่ว่าอาจารย์คนนั้นเป็นที่ขนานนามกันว่าเดาแนวข้อสอบยาก อะไรก็เกิดขึ้นได้!!
ส่วนตัวเลือก "ถูกทุกข้อ" อันนี้ค่อยมีโอกาสเป็นไปได้ แต่น้องๆ ควรอ่านโจทย์ให้ครบทุกข้อซะก่อน สิ่งที่ต้องดูคือ เนื้อหาในช้อยส์มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ ขัดแย้งกันเองหรือไม่ เป็นต้น
แต่ถ้าเกิดมีตัวเลือก "ไม่มีข้อใดถูก" กับ "ถูกทุกข้อ" พร้อมกัน ไม่น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ค่ะ สามารถดูช้อยส์ 2 ข้อที่เหลือแล้วเลือกตอบได้เลย
4) คำตอบที่แย้งกันเอง มักจะมีข้อใดข้อหนึ่งถูก
ลองสวมบทบาทคนออกข้อสอบดู เมื่อใส่คำตอบที่ถูกไปแล้ว พอคิดคำตอบที่ผิดขึ้นมาก็มักจะสร้างคำตอบที่ตรงกันเอาไว้ก่อน เรียกว่าเป็นช้อยส์คู่ขนาน เช่น คำตอบที่ลงท้ายว่า "มากขึ้น - ลดลง" เป็นต้น อยู่ที่ว่า 2 ช้อยส์ที่ตรงข้ามกันนั้นเราจะรู้คำตอบมั้ย
5) ช้อยส์ที่มีความหมายเหมือนกัน ตัดทิ้งได้เลย
ตรงกันข้ามกับคำตอบที่แย้งกันอันนั้นให้เก็บไว้และเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ส่วนช้อยส์ที่มีเนื้อหาหรือความหมายเหมือนกันให้ตัดทิ้ง เพราะถ้าข้อนึงถูก อีกข้อนึงก็ต้องถูก ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ เช่น
ข้อใดคือประโยชน์ของวิตามินเอ?
ก.บำรุงสายตา
ข.บำรุงกระดูก
ค.บำรุงฟัน
ง.ป้องกันหวัด
อันนี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ที่อยากให้น้องๆ เห็นภาพ สมมติว่าข้อนี้น้องๆ ไม่รู้คำตอบเลย ก็ลองดูที่ช้อยส์จะเห็นว่า จริงๆ แล้วกระดูกและฟันมันก็คล้ายๆ กัน ถ้าเกิดมันต้องตอบฟัน กระดูกก็จะต้องตอบด้วย เพราะฉะนั้นจะแยกกันไม่ได้ ดังนั้นตัดออกได้เลยทั้งสองช้อยส์ก็จะเหลือข้อ ก) และ ง) ที่เหลือก็ต้องตัดช้อยส์กันต่อไป ถ้าไม่ได้ต้องเดาต่อ
6) ทิ้งดิ่ง
เมื่อลองทุกวิถีทางมาแล้ว เชื่อว่าจะเหลือข้อที่ทำไม่ได้ประมาณ 10% ถ้ามากกว่านี้ต้องสงสัยแล้วล่ะว่าได้อ่านหนังสือมาบ้างมั้ยเนี่ย ฮ่าๆ เอาล่ะ เมื่อข้อที่เหลือไม่สามารถตัดช้อยส์ได้ ก็ให้ทิ้งดิ่ง โดยมีหลักการเลือกข้อที่จะทิ้งดิ่งว่า ต้องเป็นข้อที่มีคำตอบน้อยที่สุด เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ เหลือข้อที่ตอบไม่ได้ 12 ข้อ ข้อ ก) มี 21 ข้อ ข)มี 14 ข้อ ค)มี 27 ข้อ ง) 26 ข้อ จะเห็นได้ว่า ข้อ ข) มีคำตอบน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น 12 ข้อที่เหลือให้ทิ้งดิ่ง เทกระจาด ตลาดแตกที่ข้อ ข) ได้เลย
คำถามที่เกิดขึ้นคือ แล้วจะมั่นใจได้ยังไงว่าอาจารย์จะออกข้อสอบแบบเฉลี่ยคำตอบให้เท่ากันทุกข้อ ในความเป็นจริงอาจารย์คงไม่ได้จัดให้เท่ากันเป๊ะๆ หรอกค่ะ แต่เราได้ทำข้อที่มั่นใจมากและเกือบมั่นใจไปจนเกือบหมดแล้ว แต่คำตอบในบางข้อก็ถูกกาน้อยซะเหลือเกิน จะให้เราไปทิ้งดิ่งในข้อที่คำตอบเยอะแล้วก็คงจะไม่ใช่ ดังนั้นแบบนี้แหละที่เพิ่มโอกาสได้คะแนนมากกว่า.... ถึงอาจารย์บางท่านจะไม่ได้ยึดหลักเฉลี่ย 25 เท่ากัน แต่ก็เชื่อว่ามีหลายท่านนะคะที่ยังใช้หลักนี้อยู่^^
- เข้าถึงห้องแล้ว ก่อนทำข้อสอบให้เช็คข้อสอบให้เรียบร้อยว่าครบมั้ย หน้าไหนขาด หรือตัวอักษรเลือนหรือเปล่า เพราะถ้าทำๆ อยู่แล้วเรียกอาจารย์คุมสอบขอเปลี่ยนข้อสอบ นอกจากจะเด่นกลางห้องแล้ว ยังรบกวนสมาธิเพื่อนด้วย เราเองก็เซ็งเหมือนกันนะ
- ข้อที่ทำไม่ได้ เมื่อข้ามไปแล้วให้ทำสัญลักษณ์ไว้ ไม่อย่างนั้นเวลาเราทำข้อไปอาจลืมตัวไปฝนข้อที่เราข้าม โอ้วพระเจ้าจอร์จสุดท้ายอ่านจบครบ 100 ข้อ แต่คำตอบเราอาจจะได้ 99 โดยที่ไม่รู้ว่าเริ่มผิดตั้งแต่ข้อไหน เจอแบบนี้เข้าไปเสียเวลา เสียใจ เปลืองยางลบด้วย ฮ่าๆ
- ทำเสร็จแล้ว ตรวจทานให้ดีว่าทำครบทุกข้อหรือยัง เพราะบางทีเผลอทำสัญลักษณ์ไว้ว่าจะกลับมาทำใหม่แล้วลืมทำซะงั้น
- ตรวจทานคำตอบของตัวเอง หากเจอข้อที่ มั่นใจว่าผิดให้แก้ แต่ถ้าข้อไหนที่เจอแล้วรู้สึกแปลกๆ ไม่แน่ใจก็ไม่ต้องแก้ ให้เชื่อเซ้นส์แรกของตัวเองไว้ มีหลายคนแล้วที่เปลี่ยนคำตอบจากถูกไปเป็นผิด
- โดยรวมของข้อสอบ น้องๆ ควรจัดการเวลาให้ดี ว่าจะทำกี่นาที ตรวจทานกี่นาที
- อย่าทำผิดกฎการสอบ เช่น ลอกเพื่อน จดโพย เป็นวิธีที่ไม่ดีมากๆ ถ้าโดนจับได้ขึ้นมาต้องถูกทำโทษหรือถูกตัดคะแนนแน่นอน พี่มิ้นท์ว่าแบบนี้ไม่ได้น่าสงสารเลยนะคะ
เรื่องที่เอามาฝากกันวันนี้จะถูกใจน้องๆ รึป่าวเอ่ย ถึงพี่มิ้นท์จะมีเทคนิคการเดามาฝาก แต่ก็อยากให้น้องๆ อ่านหนังสือและเอาความรู้มาใช้ให้ได้มากที่สุดดีกว่านะคะ เพราะตอบได้แบบมั่นใจย่อมตอบถูก 100% ส่วนเดาเนี่ย เอาไว้หมดหนทางจริงๆ แล้วดีกว่าโนะ
ว่าแต่มีน้องๆ คนไหนที่มีเทคนิคการเดาข้อสอบแบบเจ๋งๆ อีกมั้ย ยกเว้นร้องเพลงแล้วเอานิ้วจิ้มตามเพลงนะ 555555"
เห็นไหมครับ.. การทำข้อสอบ ไม่ยากอย่างที่เข้าใจเล้ย......
ที่มา: http://www.dek-d.com/education/29782/
"สวัส ดีค่ะน้องๆ.... หน้าฝนมักจะพ่วงการสอบปลายภาคของเทอมหนึ่งมาด้วยเสมอ นี่ก็ใกล้ได้เวลาแล้ว ใครยังนั่งเล่นอยู่ระวังจะไม่ทันการนะจ๊ะ ส่วนพี่ๆ ที่ต้องเตรียมเรื่องกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆ อย่าลืมแบ่งเวลาให้ดีล่ะ ยังไงการเรียนก็ต้องมาก่อนกิจกรรมเสมอ
วันนี้พี่มิ้นท์จะมาพูดถึงการสอบล้วนๆ เชื่อว่าชาว Dek-D.com หลายคนต้องเคยเจอปัญหาทำข้อสอบไม่ได้ อ่านมาแล้วก็ทำไม่ได้ เพราะอาจารย์ออกข้อสอบไม่ตรงกับที่เราอ่าน(หรือเราอ่านไม่ตรงกับที่อาจารย์ ออก 5555) เรียกว่าเจอคำถามพวกนี้ได้แต่เกาหัวแกร่กๆ กันเลยทีเดียว แต่ในระดับมัธยมก็ยังไม่ยากเท่าไหร่ เพราะเป็นข้อสอบปรนัย ให้เราเลือกตอบได้ แต่ถ้ามัวแต่เดาแบบมั่วๆ ไม่มีหลักการ คะแนนของน้องๆ ก็คงต้องพึ่งดวงอย่างเดียวแล้ว ดังนั้นเพื่ออุดรอยรั่วไม่ให้คะแนนไหลไป พี่มิ้นท์มีเทคนิคการเดาข้อสอบขั้นเทพมาฝาก ถึงทำไม่ได้ก็ยังมีโอกาสตอบถูก ไปลองดูกันเลยจ้า
1) ตัดช้อยส์
เป็นเทคนิคเมื่อโบราณกาลนานมาแล้ว เป็นเทคนิคคลาสสิคที่ใครๆ เค้าทำกัน คือ ตัดตัวเลือกที่ดูไม่น่าเกี่ยวข้อง หรือ ไม่ใช่แน่ๆ ออกไป เพราะข้อสอบแต่ละข้อก็จะมีบ้างที่น้องๆ สามารถรู้ว่าช้อยส์นี้ไม่ใช่ ดังนั้น ตัดออกไป ถ้าตัดไดถึง 2 ข้อจะดีมาก เพิ่มโอกาสถูกให้เรา 50 - 50% เลยทีเดียว กลับกันหากเราเดาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ตัดช้อยส์โอกาสถูกจะมีเพียง 25% หรือ 1 ใน 4 เท่านั้น
2) ข้อที่ทำไม่ได้ ให้ข้ามไปก่อน
บางข้อคิดหัวแทบแตกก็ไม่ได้คำตอบ ตัดช้อยส์ก็ไม่ได้ แนะนำให้ข้ามข้อนี้ไปก่อนเลย แล้วค่อยกลับมาทำทีหลังโดยใช้เทคนิคอื่นเข้าช่วย อย่าดันทุรังฝืนทำต่อไป เพราะจะเสียเวลาโดยใช่เหตุ ลองคิดดูว่าฝืนคิดข้อละ 1 นาที 20 ข้อ เท่ากับเราเสียเวลาแบบไม่ได้คำตอบไป 20 นาทีเชียวนะ
3) "ไม่มีข้อใดถูก" มักเป็นตัวเลือกหลอก
ในคำถามที่เน้นการวิเคราะห์และความจำที่ช้อยส์จะยาวเป็นพิเศษ และมักจะมีช้อยส์ "ไม่มีข้อใดถูก" อยู่ด้วย แนะนำว่าถ้ามีช้อยส์นี้ขึ้นมาให้ตัดออกไปได้เลย เพราะการคิดช้อยส์ให้ผิดยากกว่าคิดช้อยส์ให้ถูกนะคะ ที่สำคัญคือ ถ้าตั้งโจทย์มาแล้วแต่ไม่มีข้อถูกในนั้น นักเรียนก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เรียกว่าเป็นช้อยส์ที่เกิดมาเพื่อหลอกโดยเฉพาะ ยกเว้นแต่ว่าอาจารย์คนนั้นเป็นที่ขนานนามกันว่าเดาแนวข้อสอบยาก อะไรก็เกิดขึ้นได้!!
ส่วนตัวเลือก "ถูกทุกข้อ" อันนี้ค่อยมีโอกาสเป็นไปได้ แต่น้องๆ ควรอ่านโจทย์ให้ครบทุกข้อซะก่อน สิ่งที่ต้องดูคือ เนื้อหาในช้อยส์มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ ขัดแย้งกันเองหรือไม่ เป็นต้น
แต่ถ้าเกิดมีตัวเลือก "ไม่มีข้อใดถูก" กับ "ถูกทุกข้อ" พร้อมกัน ไม่น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ค่ะ สามารถดูช้อยส์ 2 ข้อที่เหลือแล้วเลือกตอบได้เลย
4) คำตอบที่แย้งกันเอง มักจะมีข้อใดข้อหนึ่งถูก
ลองสวมบทบาทคนออกข้อสอบดู เมื่อใส่คำตอบที่ถูกไปแล้ว พอคิดคำตอบที่ผิดขึ้นมาก็มักจะสร้างคำตอบที่ตรงกันเอาไว้ก่อน เรียกว่าเป็นช้อยส์คู่ขนาน เช่น คำตอบที่ลงท้ายว่า "มากขึ้น - ลดลง" เป็นต้น อยู่ที่ว่า 2 ช้อยส์ที่ตรงข้ามกันนั้นเราจะรู้คำตอบมั้ย
5) ช้อยส์ที่มีความหมายเหมือนกัน ตัดทิ้งได้เลย
ตรงกันข้ามกับคำตอบที่แย้งกันอันนั้นให้เก็บไว้และเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ส่วนช้อยส์ที่มีเนื้อหาหรือความหมายเหมือนกันให้ตัดทิ้ง เพราะถ้าข้อนึงถูก อีกข้อนึงก็ต้องถูก ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ เช่น
ข้อใดคือประโยชน์ของวิตามินเอ?
ก.บำรุงสายตา
ข.บำรุงกระดูก
ค.บำรุงฟัน
ง.ป้องกันหวัด
อันนี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ที่อยากให้น้องๆ เห็นภาพ สมมติว่าข้อนี้น้องๆ ไม่รู้คำตอบเลย ก็ลองดูที่ช้อยส์จะเห็นว่า จริงๆ แล้วกระดูกและฟันมันก็คล้ายๆ กัน ถ้าเกิดมันต้องตอบฟัน กระดูกก็จะต้องตอบด้วย เพราะฉะนั้นจะแยกกันไม่ได้ ดังนั้นตัดออกได้เลยทั้งสองช้อยส์ก็จะเหลือข้อ ก) และ ง) ที่เหลือก็ต้องตัดช้อยส์กันต่อไป ถ้าไม่ได้ต้องเดาต่อ
6) ทิ้งดิ่ง
เมื่อลองทุกวิถีทางมาแล้ว เชื่อว่าจะเหลือข้อที่ทำไม่ได้ประมาณ 10% ถ้ามากกว่านี้ต้องสงสัยแล้วล่ะว่าได้อ่านหนังสือมาบ้างมั้ยเนี่ย ฮ่าๆ เอาล่ะ เมื่อข้อที่เหลือไม่สามารถตัดช้อยส์ได้ ก็ให้ทิ้งดิ่ง โดยมีหลักการเลือกข้อที่จะทิ้งดิ่งว่า ต้องเป็นข้อที่มีคำตอบน้อยที่สุด เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ เหลือข้อที่ตอบไม่ได้ 12 ข้อ ข้อ ก) มี 21 ข้อ ข)มี 14 ข้อ ค)มี 27 ข้อ ง) 26 ข้อ จะเห็นได้ว่า ข้อ ข) มีคำตอบน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น 12 ข้อที่เหลือให้ทิ้งดิ่ง เทกระจาด ตลาดแตกที่ข้อ ข) ได้เลย
คำถามที่เกิดขึ้นคือ แล้วจะมั่นใจได้ยังไงว่าอาจารย์จะออกข้อสอบแบบเฉลี่ยคำตอบให้เท่ากันทุกข้อ ในความเป็นจริงอาจารย์คงไม่ได้จัดให้เท่ากันเป๊ะๆ หรอกค่ะ แต่เราได้ทำข้อที่มั่นใจมากและเกือบมั่นใจไปจนเกือบหมดแล้ว แต่คำตอบในบางข้อก็ถูกกาน้อยซะเหลือเกิน จะให้เราไปทิ้งดิ่งในข้อที่คำตอบเยอะแล้วก็คงจะไม่ใช่ ดังนั้นแบบนี้แหละที่เพิ่มโอกาสได้คะแนนมากกว่า.... ถึงอาจารย์บางท่านจะไม่ได้ยึดหลักเฉลี่ย 25 เท่ากัน แต่ก็เชื่อว่ามีหลายท่านนะคะที่ยังใช้หลักนี้อยู่^^
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
ได้เทคนิคเดาข้อสอบแบบเทพๆ
ไปแล้ว พี่มิ้นท์จะมาแนะนำถึงข้อควรปฏิบัติเมื่อเข้าห้องสอบกันบ้าง
เพราะสิ่งเหล่านี้ก็ช่วยให้ได้คะแนนเพิ่มได้เหมือนกันนะ- เข้าถึงห้องแล้ว ก่อนทำข้อสอบให้เช็คข้อสอบให้เรียบร้อยว่าครบมั้ย หน้าไหนขาด หรือตัวอักษรเลือนหรือเปล่า เพราะถ้าทำๆ อยู่แล้วเรียกอาจารย์คุมสอบขอเปลี่ยนข้อสอบ นอกจากจะเด่นกลางห้องแล้ว ยังรบกวนสมาธิเพื่อนด้วย เราเองก็เซ็งเหมือนกันนะ
- ข้อที่ทำไม่ได้ เมื่อข้ามไปแล้วให้ทำสัญลักษณ์ไว้ ไม่อย่างนั้นเวลาเราทำข้อไปอาจลืมตัวไปฝนข้อที่เราข้าม โอ้วพระเจ้าจอร์จสุดท้ายอ่านจบครบ 100 ข้อ แต่คำตอบเราอาจจะได้ 99 โดยที่ไม่รู้ว่าเริ่มผิดตั้งแต่ข้อไหน เจอแบบนี้เข้าไปเสียเวลา เสียใจ เปลืองยางลบด้วย ฮ่าๆ
- ทำเสร็จแล้ว ตรวจทานให้ดีว่าทำครบทุกข้อหรือยัง เพราะบางทีเผลอทำสัญลักษณ์ไว้ว่าจะกลับมาทำใหม่แล้วลืมทำซะงั้น
- ตรวจทานคำตอบของตัวเอง หากเจอข้อที่ มั่นใจว่าผิดให้แก้ แต่ถ้าข้อไหนที่เจอแล้วรู้สึกแปลกๆ ไม่แน่ใจก็ไม่ต้องแก้ ให้เชื่อเซ้นส์แรกของตัวเองไว้ มีหลายคนแล้วที่เปลี่ยนคำตอบจากถูกไปเป็นผิด
- โดยรวมของข้อสอบ น้องๆ ควรจัดการเวลาให้ดี ว่าจะทำกี่นาที ตรวจทานกี่นาที
- อย่าทำผิดกฎการสอบ เช่น ลอกเพื่อน จดโพย เป็นวิธีที่ไม่ดีมากๆ ถ้าโดนจับได้ขึ้นมาต้องถูกทำโทษหรือถูกตัดคะแนนแน่นอน พี่มิ้นท์ว่าแบบนี้ไม่ได้น่าสงสารเลยนะคะ
เรื่องที่เอามาฝากกันวันนี้จะถูกใจน้องๆ รึป่าวเอ่ย ถึงพี่มิ้นท์จะมีเทคนิคการเดามาฝาก แต่ก็อยากให้น้องๆ อ่านหนังสือและเอาความรู้มาใช้ให้ได้มากที่สุดดีกว่านะคะ เพราะตอบได้แบบมั่นใจย่อมตอบถูก 100% ส่วนเดาเนี่ย เอาไว้หมดหนทางจริงๆ แล้วดีกว่าโนะ
ว่าแต่มีน้องๆ คนไหนที่มีเทคนิคการเดาข้อสอบแบบเจ๋งๆ อีกมั้ย ยกเว้นร้องเพลงแล้วเอานิ้วจิ้มตามเพลงนะ 555555"
เห็นไหมครับ.. การทำข้อสอบ ไม่ยากอย่างที่เข้าใจเล้ย......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น